เบื้องหลังการมายุ่งของ กสทช. ‘ฮอร์โมน วัยว้าวุ่น’ เพราะดังถึงว้าวุ่น

เบื้องหลังการมายุ่งของ กสทช. ‘ฮอร์โมน วัยว้าวุ่น’ เพราะดังถึงว้าวุ่น

เบื้องหลังการมายุ่งของ กสทช. ‘ฮอร์โมน วัยว้าวุ่น’ เพราะดังถึงว้าวุ่น
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เบื้องหลังการมายุ่งของ กสทช. ‘ฮอร์โมน วัยว้าวุ่น'เพราะดังถึงว้าวุ่น

ถือเป็นปรากฏการณ์ครั้งใหม่ของเมืองไทยอีกครั้ง เรื่องกระแสการแบนซีรีส์ดัง ‘ฮอร์โมน วัยว้าวุ่น' ซีรีส์ดังทางช่อง GMM One ที่ฉายบนช่องทางเคเบิล ที่กำลังโดนตรวจสอบอย่างจริงจัง จาก กสทช. ที่ได้ฉายาหน่วยงานโลกสวย สาเหตุแบนระบุ ขัดต่อมาตรา 37 แห่งพ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 เรื่องความไม่เหมาะสมในด้านคุณธรรมและศีลธรรม แหม่!! ผมละเหนื่อยใจจริงๆ แต่ครั้งนี้ถือเป็นปรากฏการณ์ครั้งแรกที่เนื้อหารายการซีรีส์ในช่องทางเคเบิลกลายเป็นกระแสดังไปทั่วบ้านทั่วเมืองขนาดนี้


ฮอร์โมนถือเป็นสถิติใหม่เรื่องกระแสการตอบรับจากการรับชมผ่านทางเคเบิลดาวเทียม ชนะเนื้อหาแม่เหล็กทางช่อง GMM One อีกเรื่องคือ "เป็นต่อขั้นเทพ" ที่ออกอากาศทางช่อง GMM One เหมือนกันแต่กระแสไม่ดีเท่าเมื่อคราวอยู่ช่อง 3 แต่ ‘ฮอร์โมน วัยว่าวุ่น' ผลงานจากนาดาวบางกอก และ GTH กลับกระตอบรับดีกว่าเสมือนอยู่บนช่องฟรีทีวี เล่นเอาวัยรุ่น รวมทั้งผมเองที่เป็นแฟนซีรีส์เรื่องนี้บ่นอุบว่า นี่มันเรื่องจริงในสังคม นำความจริงมาตีแผ่ แต่กลับไม่ได้รับการเปิดรับจากผู้ใหญ่ในสังคมทั้งที่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงๆ อยู่แล้วในสังคม ซึ่งในเรื่องมีการแฝงการสรุปและผลที่ได้รับจากการกระทำที่ผิดพลาดของวัยรุ่นที่เป็นผลจากการกระทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้องนอกเหนือการดูแลจากสายตาผู้ใหญ่


ทำใมกสทช. ซึ่งไม่มีหน้าที่ในการแบนด์เนื้อหาถึงเข้ามายุ่งทั้งที่จริงแล้วหน้าที่โดยตรงในการแบนด์เนื้อหาที่ไม่เหมาะสมเป็นหน้าที่ของ กบว. ไม่ใช่กสทช. ที่ดูแลเรื่องใบอนุญาตในการกระจายเสียง ดูจะผิดวิสัยไปหน่อยนะครับว่ามั้ย จนทำให้ผมเข้าใจว่าน่าจะออกมาเพื่อเอาหน้ามากกว่า (ความคิดเห็นส่วนตัว) จากการสอบถามกับทางผู้ใหญ่หลังจากการมีการชี้แจงเนื้อหาและพูดคุยกับทาง กสทช. ระบุฉากบางช่วงบางตอนของเรื่องที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสม อาทิเช่นฉาก นักเรียนมีอะไรกันในโรงเรียน ฉากวัยรุ่นที่เข้าไปในคลินิกทำแท้ง ฉากวัยรุ่นไปซื้อที่ตรวจครรภ์และยาคุม ซึ่งฉากเหล่านี้ในเรื่องล้วนมีบทสรุปทิ้งท้ายไว้และตีแผ่ทำให้ผู้ใหญ่ได้เปิดหูเปิดตารับรู้ชีวิตวัยรุ่น ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงที่ผู้ใหญ่ไม่รู้

ฮอร์โมนมีทั้งหมด 13 ตอน สำหรับซีรีส์แรกนี้นะครับ ซึ่งจากเสาร์ที่ผ่านมาก็ผ่าน Episode ที่ 10 ไปแล้ว และการดำเนินการระงับการถ่ายทอดไม่น่าจะมีผลเพราะถ้าโดนแบนด์จริงคำถามสังคมคงจ่อไปทางกสทช. อีกมาก น่าจะกลายเป็นประเด็นระดับประเทศเลยล่ะครับ ตอนนี้ กบว. คณะกรรมการบริหารวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ในอีกนามคือ กกช. ยังไมมีทีท่าอะไร เพราะฉะนั้นจากที่ได้พูดคุยกับผู้ที่เกี่ยวข้องยังไงก็ได้ชมจนจบซีรีส์น่าจะแน่นอนนะครับ แต่ต้องรอดูการเรียกประชุมผู้เกี่ยวข้องเกี่ยวกับเรื่องนี้อีกรอบต้นเดือนสิงหาคม ส่วนกรณีน้องดารานำออกมายอมรับเรื่องภาพที่กระจายไปว่อนโซเชี่ยลเน็ตเวิร์ก กรณีนี้ทางซีรีส์ก็จะยังไม่มีการแบนด์น้องในหนังเช่นกันกรณีได้ฉายครบ 13 ตอนก็ยังมีฉากที่มีน้องอยู่


ความดังของฮอร์โมนทำให้เห็นปรากฏการณ์อย่างหนึ่งครับ ที่เริ่มจะมีในไทยไม่นานมานี้ซึ่งสำหรับคนในวงการโทรทัศน์กังวลในสิ่งที่เกิดขึ้นกันดีก็คือ การเปลี่ยนแปลงช่องทางการรับสื่อของคนสมัยใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไปสิ้นเชิงกรณี "ฮอร์โมน วัยว้าวุ่น" ซึ่งฉายทางช่องเคเบิล GMM One ภายใต้การดุแลของแกรมมี่กลับสามารถเป็นที่นิยมเป็นกระแสได้ไม่แพ้ละครดังทางช่องฟรีทีวี Social Network เป็นสิ่งที่ทำให้การดูทีวีคนสมัยใหม่เปลี่ยนไป ผมเองไม่เคยว่างดูทีวีในเวลาที่ซีรีส์นี้ฉายทางโทรทัศน์เลยซักครั้งเดียวแต่สามารถชมจนจบได้ทาง ช่อง YouTube ซึ่งก็อีกเช่นกันเรื่องนี้เป็นซีรีส์ไทยน่าจะเป็นเรื่องแรกที่มียอดคนดูบน YouTube สูงสุดในประเทศไทย

ยกตัวอย่างตอนแรกของ ฮอร์โมน ตอน เทสโทสเทอโรน (Testosterone) ฮอร์โมนเพศชาย มีผู้ชมสูงถึง 8.5 ล้านครั้งแล้วครับ คาดว่าทะลุ 10 ล้านแน่นอน ข่าวแว่วๆ มีคนติดต่อขอซื้อซีรีส์นี้ไปฉายในต่างประเทศซึ่งเป็นเรื่องน่ายินดีมากกว่า ปรากฏการณ์นี้ทำให้ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ต้องกลับมาคิดให้มากขึ้นแล้วล่ะครับว่า คนสมัยนี้ไม่ได้ว่างดูทีวี แต่ถ้าเนื้อหาดีเขาจะหามาดู

(หมายเหตุ เบื้องหลังการมายุ่งของ กสทช. ‘ฮอร์โมน วัยว้าวุ่น'เพราะดังถึงว้าวุ่น : คอลัมน์ ดิจิตอลเลนส์ โดย... นิวัฒน์ ชาตะวิทยากูล)

สนับสนุนเนื้อหา: blog.butthun.com

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook