Photo Advisor

Photo Advisor

Photo Advisor
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

Photo Advisor แหล่งรวบรวมผู้เชี่ยวชาญที่จะมาไขข้อข้องใจต่างๆ เพื่อภาพถ่ายที่สมบูรณ์แบบของคุณ

เลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้ตัวไหนดี?

Q ในฉบับที่แล้วคุณแนะนำการใช้เลนส์เทเลโฟโต้ไวแสงร่วมกับเทเลคอนเวอร์เตอร์ นี่เป็นออปชั่นที่ดีกว่าการเลือกใช้เลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้อีกเหรอ? George Fisher, via email

Chris ตอบว่า: ช่างภาพส่วนใหญ่ใช้กล้อง SLR ที่มีเซ็นเซอร์ขนาด APS-C ซึ่งทำให้เลนส์ “ไวแสง” อย่างเช่น 70-200 มม. f/2.8 กลายเป็นเลนส์ขนาด 105-300 มม. จุดเด่นของเลนส์เหล่านี้ก็คือความไวและความแม่นยำในการโฟกัสอัตโนมัติ รวมถึงช่องรับแสง f/2.8 ที่มีขนาดใหญ่และคงที่ อย่างไรก็ตาม เวลาที่คุณสวมเทเลคอนเวอร์เตอร์ 1.4x หรือ 2x ช่องรับแสงที่กว้างที่สุดก็จะกลายเป็น f/4 และ f/5.6 ตามลำดับ และความไวในการโฟกัสอัตโนมัติก็จะลดลงประมาณ 50-75%

        อีกปัจจัยที่ต้องพิจารณาก็คือราคาของเทเลคอนเวอร์เตอร์ที่ค่อนข้างสูงรวมกับราคาของเลนส์เทเลโฟโต้ไวแสงซึ่งก็มีราคาสูงเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ดังนั้นหากความสนใจหลักของคุณคือระยะการซูมภาพแบบเทเลโฟโต้เ และคุณไม่ได้ให้ความสนใจกับความไวแสงของเลนส์ที่มีช่องรับแสงกว้างมากนัก คุณก็น่าจะพิจารณาเลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้แทน

        เลนส์สองตัวที่เราชอบมาก ซึ่งมีผลการทำงานที่น่าพึงพอใจด้วยราคาที่สมเหตุสมผล ตัวแรกก็คือเลนส์ Sigma 120-400 มม. f/4.5-6.3 DG OS HSM และตัวที่สองได้แก่เลนส์ Sigma 150-500 มม. f/5-6.3 DG OS HSM ซึ่งเลนส์ทั้งคู่มีคำสั่งลดการสั่นไหวได้ถึงสี่สต็อปและมีระบบโฟกัสอัตโนมัติแบบวงแหวนที่รวดเร็ว

เกิดอะไรขึ้นกับระบบวัดแสงแบบ Matrix?

Q ผมใช้โฟกัสแบบอัตโนมัติจับภาพบริเวณวัตถุฉากหน้าแล้วจึงจัดองค์ประกอบภาพใหม่อีกครั้ง แต่ค่าการเปิดรับแสงด้วยระบบ Matrix นั้นมักจะผลลัพธ์ที่ผิดพลาด ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น? Omar Mohammed, via email

Paul ตอบว่า: เราต่างเคยชินกับการโฟกัสภาพอัตโนมัติด้วยการกดปุ่มลั่นชัตเตอร์เบาๆ ค้างไว้ แต่ในกล้องรุ่นใหม่แทบทุกตัว การทำเช่นนี้จะส่งผลให้ระบบวัดแสงแบบ Matrix ทำงานผิดพลาดได้ อย่างเช่นในกล้อง Nikon ระบบวัดแสงจะอิงอยู่กับจุดโฟกัสที่คุณใช้งาน ดังนั้นหากคุณโฟกัสไปยังวัตถุที่มีโทนเข้มหรือโทนสว่าง ค่าแสงที่ได้ก็จะอิงอยู่กับวัตถุเหล่านั้นเป็นหลัก

        ถ้าคุณเปลี่ยนมุมหลังจากจับโฟกัสเพื่อจัดองค์ประกอบภาพใหม่ ค่าการเปิดรับแสงก็อาจจะเปลี่ยนแปลงได้เล็กน้อย แต่ค่าการเปิดรับแสงก็ยังคงอิงอยู่กับค่าเดิมค่อนข้างมาก ส่วนในกล้อง SLR นั้น ระบบวัดแสงจะถูกล็อกเมื่อคุณจับโฟกัสเสร็จแล้ว ดังนั้นหากคุณโฟกัสบนตัวแบบที่มีโทนเข้มแล้วจัดองค์ประกอบภาพใหม่อีกครั้ง ผลลัพธ์ที่ได้ก็มักจะเป็นค่าการเปิดรับแสงที่โอเวอร์

        วิธีแก้ไขที่ง่ายที่สุดก็คือการเปลี่ยนไปใช้ระบบวัดแสงแบบเฉลี่ยหนักกลาง (Centre-weighted) เพราะระบบนี้จะไม่อิงกับจุดโฟกัสที่คุณใช้งานและค่าการเปิดรับแสงก็จะเปลี่ยนไปตามองค์ประกอบภาพที่คุณเปลี่ยนแปลง หรือไม่เช่นนั้น ให้คุณอ่านค่าแสงเป็นอันดับแรก แล้วล็อกค่าแสงนั้นก่อนที่จะทำการโฟกัสภาพ

แนะนำอุปกรณ์ถ่ายภาพ...หัวขาตั้งกล้อง มีอะไรให้เลือกบ้าง?

ตัวเลือกหลักสามแบบก็คือหัวบอล หัวสองทาง และหัวสามทาง ส่วนหัวขาตั้งแบบกริปมือจับด้ามปืนจะเป็นหัวบอล โดยคุณกดไกเพื่อคลายระบบล็อกหลัก หัวสองทางจะไม่สามารถเปลี่ยนตำแหน่งกล้องให้เป็นแนวตั้ง ซึ่งก็มักจะเหมาะกับการถ่ายภาพด้วยกล้องวิดีโอมากกว่า

  • มันทำงานอย่างไร?

หัวบอล (Ball-and–socket head) จะมีตัวหนีบเดี่ยวที่ล็อกหัวให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมหลังจากที่คุณปรับตำแหน่งเรียบร้อยแล้ว ส่วนการทำงานเสริมอื่นๆ ก็อาจจะมีตัวปรับความหนืดและตัวล็อกสำหรับการแพนโดยเฉพาะ หัวแบบสามทางนั้นจะมีตัวหนีบสามตัวแยกกันสำหรับการแพน การเงย และการเอียง

  • ใครคือผู้ผลิต?

โดยปกติแล้วผู้ผลิตหัวขาตั้งกล้องก็คือผู้ผลิตขาตั้งกล้อง ผู้ผลิตหัวขาตั้งกล้องคุณภาพดีและมีราคาสูงก็ได้แก่ Benro, Giottos, Manfrotto และ Vanguard

  • ควรเลือกใช้แบบไหน?

หัวบอลจะเหมาะในเวลาที่คุณต้องการปรับตำแหน่งอย่างรวดเร็ว หัวสามทางจะเหมาะกับการปรับตำแหน่งอย่างละเอียด อย่างเช่นในการถ่ายภาพมาโคร เป็นต้น

  • ติดตั้งกับขาตั้งกล้องอย่างไร?

ขาตั้งกล้องของคุณจะมีสกรูขนาด 1/4 นิ้วหรือ 3/8 นิ้ว คุณสามารถใช้อะแดปเตอร์ปรับเพิ่มขนาดสกรูตามความเหมาะสมระหว่างหัวและขาตั้งกล้องได้ แต่คุณจะไม่สามารถติดตั้งหัวที่มีสกรูขนาดเล็กบนขาตั้งกล้องที่มีสกรูที่ใหญ่กว่าได้ ขาตั้งกล้องส่วนใหญ่จะมีตัวขั้นสกรูเสริมด้านข้างเพื่อเพิ่มความมั่นคงในการติดตั้ง

ขอบคุณเนื้อหา และภาพประกอบ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook