ล้วงลึก 14 วิธียืดแบตแอนดรอยด์ ง่ายเพียงปลายนิ้ว !!

ล้วงลึก 14 วิธียืดแบตแอนดรอยด์ ง่ายเพียงปลายนิ้ว !!

ล้วงลึก 14 วิธียืดแบตแอนดรอยด์ ง่ายเพียงปลายนิ้ว !!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ล้วงลึก 14 วิธียืดแบตแอนดรอยด์ ง่ายเพียงปลายนิ้ว !!

เชื่อว่ามีผู้ใช้มือถือแอนดรอยด์หลายๆ คน แม้ว่าจะเป็นรุ่นไหนก็ตาม หากชาร์จแบตเต็มแต่เช้าออกจากบ้าน ในระหว่างวันเล่นทวิต เฟชบุค เมาท์กระหน่ำ เล่นเน็ตดูโน่นดูนี่ การันตีได้เลยว่า แบตเตอรี่ของคุณจะลดฮวบ หายไปอย่างรวดเร็ว ชนิดว่าบางรุ่นเช้าชาร์จ เย็นหมด ดังนั้นเราจะมาดูกันครับว่าสาเหตุที่ทำให้เครื่องคุณสูบแบตนั้นมีอะไรบ้าง และวิธีแก้ไขที่ง่ายเหมือนปลอกกล้วย อย่างน้อยน่าจะช่วยยืดอายุแบตของคุณไปได้ไม่มากก็น้อย

สำหรับบทความนี้จะใช้ "Samsung Galaxy S" ในการทดสอบ รับประกันได้เลยว่ามือถือแอนดรอยด์ 2.1 จะใช้วิธีการทั้งหมดนี้ได้แน่นอน อย่างไรก็ดี สมาร์ทโฟนรุ่นอื่นๆ ก็สามารถนำวิธีการไปประยุกต์ใช้ได้เช่นเดียวกันครับ

โทรน้อย-เล่นน้อย

  เรื่องนี้ใครๆ ก็คงทำได้อยู่แล้ว และแน่นอนว่ายังไงๆ ก็ช่วยได้เกิน 100% เพราะในเมื่อเครื่องแทบไม่ได้ถูกใช้งาน การสูญเสียพลังงานก็เป็นไปได้น้อยลงด้วย บางทีการโทรอาจจะใช้เครื่องสำรอง หรือโทรสาธารณะก็ได้ หรือบางคนอาจจะมี Gadget เสริมอื่นๆ เช่น MP3, iPod ฯลฯ ก็อาจจะลดการใช้งานฟังก์ชั่นในโทรศัพท์ได้เช่นกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณว่า ต้องการความสะดวกขนาดไหน เพราะผู้ใช้ส่วนใหญ่ คงไม่อยากบ้าหอบฟางพกอะไรหลายๆ อย่างติดตัวอยู่แล้วล่ะ

อะไรสูบแบตไปบ้าง ?

  คิดว่าจะต้องมีหลายๆ คนอยากรู้ว่ามีซอฟท์แวร์อะไรบ้างที่คอยสูบแบตของคุณอยู่ ในแอนดรอยด์เองมีให้คุณดูครับ โดยการเข้าไปที่ ตั้งค่า (Settings) > About Phone นอกจากในนั้นจะโชว์รายละเอียดเกี่ยวกับซอฟท์แวร์เครื่องแล้ว ให้เข้าไปที่ "Battery Use" ในนั้นจะโชว์ว่าแอพพลิเคชั่นอะไรใช้พลังงานไปเท่าไหร่บ้าง ซึ่งส่วนมากตัวกินแบตมักเป็น การแสดงผลหน้าจอ และการรับสัญญาณเครือข่ายนี่ล่ะครับ

 

ใช้แต่ 2G ก็ได้

  ในหลายๆ ที่น่าจะมีเครือข่าย 3G ให้ใช้งานกันบ้างแล้ว (โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ) แต่คุณทราบมั้ยว่า การใช้งาน 3G เป็นอะไรที่ซดแบตเปลืองมากๆ ในมือถือทุกรุ่นในโลกนี้ ดังนั้นหากไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน 3G หรือเราไม่ได้อยู่ในพื้นที่สัญญาณ สามารถปิดการทำงาน/ค้นหาเครือข่ายได้ โดยการเข้าไปที่ Settings > Wireless and Network > Mobile Networks และติ๊กถูกหน้า Use Only 2G ซะ ส่วนในภาพผมจะเลือกให้เป็น GSM Only ครับ

จะปรับ Auto ก็ได้ หรือปรับต่ำสุดเลยยิ่งดี

สว่างไปนิด ปิดสักหน่อย

  ทริคนี้ก็สามารถใช้ได้กับมือถืออื่นๆ ในโลกนี้ได้เช่นกันครับ การแสดงผลหน้าจอเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้แบตเกลี้ยงเร็วเช่นเดียวกัน หากคุณตั้งค่าให้มันสว่างเกินไป โดยเฉพาะจอแบบ TFT-LCD แบบปกติที่กินไฟค่อนข้างมาก และแบบ Super AMOLED ที่สว่างยิ่งกว่าไฟฉาย ดังนั้นวิธีแก้ง่ายๆ ก็คือ เข้าไปปรับ Brightness หน้าจอ โดยเข้าไปที่ Sound and Display ในโหมดตั้งค่านั่นเอง ส่วนตัวผมปรับต่ำสุดเลยครับ เพราะจอ "Super AMOLED" สว่างมากจริงๆ ขนาดปรับต่ำสุดก็ยังสว่างอยู่ดี

  อ่อ ! อย่างลืมติ๊กถูกหน้าโหมด Power Save และปรับ Screen Timeout ด้วยนะครับ เมนูอยู่ใกล้ๆ กัน 

Live Wallpaper อลังการ แต่สูบแบตมาก

วอลเปเปอร์สีเรียบๆ แบบนี้แหละ กินเครื่องน้อยมากๆ

วอลเปเปอร์

  วอลเปเปอร์เคลื่อนไหวสุดหรูของแอนดรอยด์อย่าง "Live Wallpaper" ลวดลายต่างๆ เป็นอีกหนึ่งฟังก์ชั่นที่กินพลังงานเครื่องคุณไปเยอะ เพราะลูกเล่นนี้ต้องใช้พลังจากซีพียู+ชิปกราฟฟิคไม่ใช่น้อยๆ ดังนั้นหากคุณต้องการประหยัดแบต ปิดการใช้งานมันซะ ส่วนการเลือกใช้วอลเปเปอร์ภาพนิ่ง หากต้องการประหยัดแบต ควรใช้เป็นสีมืดๆ ไม่ควรใช้เป็นสีสว่างจัดๆ ครับ ไม่ลองไม่รู้ อิอิ

โหมดเครื่องบินช่วยคุณได้

  ในเมื่อการใช้งานเครือข่ายเป็นสิ่งที่กินพลังงานมากที่สุด (พอๆ กับการแสดงผลหน้าจอ) ดังนั้นหากคุณไม่ได้ใช้งานเครือข่าย เช่น ดูหนัง, นอนหลับ ฯลฯ กดเข้าโหมด "Airplane" หรือโหมดทำการบินได้เลย เพราะมันจะไม่เปิดใช้งานเครือข่าย ช่วยยืดเวลาแบตได้อีกพอตัวเหมือนกันครับ

พักเครื่องบ้าง

  สำหรับผู้ใช้แบบ "Heavy User" คือใช้งานโทรศัพท์เยี่ยงคนงาน กะให้คุ้มเงินกันสุดๆ บางโปรแกรมอาจต้องประมวลผลหนัก ทำให้เครื่องร้อน/อุ่น ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น โทร หรือเล่นเกมเป็นเวลานานๆ แบตคุณจะหายไปอย่างรวดเร็ว ไม่เฉพาะในแอนดรอยด์เท่านั้นนะครับ แพลตฟอร์มอื่นก็เป็นหมด ดังนั้นหากต้องการยืดเวลาแบตอีกนิด ให้มันพักผ่อนบ้างสัก 5-10 นาทีจะดีกว่า

ปิดอัพเดท - ซิงค์ - แจ้งเตือนทุกประเภท

  นี่ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้แบตหมดไวก่อนเวลาอันควรเช่นเดียวกันครับ หากตั้งอัพเดท Status อัตโนมัติเช่น Seesmic, Touiteur (ทวิตเตอร์) หรือเปิด Auto Sync อีเมล์-ข้อความใดๆ ก็ควรจะปิดไปซะ เพราะบริการทั้งหลายทำงานแบบ Background ถึงคุณวางเครื่องไว้เฉยๆ มันก็รันของมันอัตโนมัติ ดังนั้นถ้าหากไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน ตั้งค่าให้อัพเดทนานๆ ครั้ง ไม่ก็ปิดไปเลยยิ่งดีครับ

Task Killer

  แอนดรอยด์เป็นอีกโอเอสนึงที่รองรับการทำงานแบบ Multitasking คือรันโปรแกรมได้หลายๆ ตัวพร้อมกัน แต่ข้อเสียของมันคือ ระบบยังไม่ปิดโปรแกรมให้ แม้เราจะออกจากโปรแกรมนั้นมาแล้ว (ไม่เหมือนซิมเบี้ยนที่มีเมนู Exit ให้) และแน่นอนว่า หากโปรแกรูกเปิดค้างไว้เยอะๆ เครื่องจะอืด (เพราะแรมเหลือน้อย) และซดแบตเยอะขึ้นด้วย ดังนั้นให้คุณไปหาโปรแกรมประเภท "Task Killer" มาใช้ เช่น Advance Task Killer ใช้งานได้ดีทีเดียวครับ แต่ต้องหมั่นเคลียร์เรื่อยๆ นะครับ เพราะการตั้งค่า Auto มันไม่ได้กวาดทิ้งซะทั้งหมด 

WiFi-GPS-Bluetooth

  มือถือแอนดรอยด์(เกือบ)ทุกรุ่นจะรองรับ WiFi, GPS และบลูทูธ ซึ่งซอฟท์แวร์หลายๆ ตัวมักจะพึ่งการใช้งานเสมอ เช่น Google Maps หรือซอฟท์แวร์อื่นๆ ที่คุณโหลดมา บางครั้งมันอาจจะถูกเปิดการใช้งานโดยที่คุณไม่รู้ตัว ดังนั้นลองหา Widget ประเภท Power Control มาใช้ หรือในบางรุ่นอาจจะมีเมนูเปิดปิดให้มาในตัว อย่างเจ้า Galaxy S มีมาให้เสร็จสรรพเลยครับ 

Mobile Booster

  วิธีการนี้ไม่ใช่วิธีตรงๆ ในการช่วยยืดอายุแบตเตอรี่ แต่เป็นการยิดการใช้งานด้วยการ "ชาร์จแบต" นอกบ้าน ด้วยการใช้ Mobile Booster หรือเครื่องชาร์จแบตเตอรี่แบบพกพาได้ โดยที่นิยมใช้กันก็คือ "Sanyo Eneloop" เพราะมีราคาถูก หาซื้อง่าย แถมยังใช้กับมือถือ-Gadget อื่นๆ ได้อีก หากคุณใช้งานหนักๆ ละก็ ควรซื้อมาใช้งานอย่างด่วน !!

  สำหรับวิธีการขั้นพื้นฐานก็มีเพียงเท่านี้ครับ ผมคิดว่าน่าจะสามารถใช้งานได้กับมือถือแอนดรอยด์แทบทุกรุ่นในท้องตลาดตอนนี้ และยังประยุกต์ใช้กับมือถือแพลตฟอร์มอื่นๆ ได้อีกต่างหาก และอีก 3 วิธีต่อไปนี้ หากคุณเป็นมือใหม่แอนดรอยด์ ไม่ควรไปยุ่งครับ เพราะอาจทำเครื่องคุณพัง และประกันหลุดได้ (ในบางแบรนด์) ดังนั้นควรศึกษาก่อนอัพนะจ๊ะ

ที่วงไว้คือรอมปรับแต่งครับ ซึ่งเรามีหน้าที่อัพอย่างเดียว นอกนั้นเค้าทำมาให้เรียบร้อย

Custom Rom

  ผู้ใช้แอนดรอยด์-วินโดว์โมบาย-ซิมเบี้ยน ที่คร่ำหวอดมาสักระยะ อาจจะทราบความหมายของคำว่า "อัพรอม" เป็นอย่างดี ซึ่งความหมายแบบบ้านๆ คือ ล้างสมอง นั่นเอง สำหรับวิธีการผมขอไม่กล่าวถึงนะครับ เพราะแต่ละแบรนด์จะมีวิธีที่ไม่เหมือนกัน แต่ข้อดีของ "Custom ROM" หรือซอฟท์แวร์ระบบที่ถูกปรับแต่งโดยผู้ใช้ที่มีความรู้ด้าน OS นั้นๆ เป็นพิเศษ คือ ส่วนมากจะปรับแต่งเครื่องให้ลื่นขึ้น เสถียรขึ้น และรอมบางตัวอัพแล้วประหยัดพลังงานขึ้นอีกต่างหาก

  สำหรับรายละเอียดรอมปรับแต่งนั้น แนะนำให้ไปค้นหาข้อมูลได้ที่เว็บ PDAMobiz, Droidsan, XDA-Developer และ Samdroid ครับ

อัพเฟิร์มแวร์ใหม่

  เป็นอีกหนึ่งวิธีที่เซฟตัวเองมากๆ เพราะเฟิร์มแวร์ (หรือซอฟท์แวร์อัพเกรดระบบ) คุณสามารถนำไปให้ศูนย์บริการอัพเกรดได้ฟรีๆ หากมีประกันอยู่ หรือบางทีคุณอาจจะทำเองที่บ้านก็ได้ แต่ก็ต้องรับความเสี่ยงเล็กๆ หากอัพเกรดแล้วเครื่องค้าง ดับ เน็ตหลุด คอมแฮงค์ จะพบกับความเร้าใจไม่น้อยเลยล่ะครับ 

Downclock CPU

  ส่วนใหญ่ผู้ใช้จะสนใจเกี่ยวกับการ "Overclock" ซีพียูในมือถือสักมากกว่า เพราะทำให้การทำงานเครื่องไวขึ้นไปอีก อย่างเช่นข่าวล่าสุด ที่มีผู้โอเวอร์คล๊อกซีพียู "Galaxy S" ขึ้นเป็น 1.2 GHz แต่วันนี้เราจะมา "Downclock" ซีพียูกันครับ จะได้ผลดีมากในรุ่นที่ซีพียูแรงๆ สามารถทำได้โดยการโหลดโปรแกรม SetCPU หรือ Overclock Widget มาใช้ซะ แล้วเซ็ทความเร็วให้เหมาะสมกับการใช้งาน อย่าง Galaxy S ผมเซ็ทไว้ราวๆ 600-800 MHz เพียงพอกับการใช้งานทั่วๆ ไป ทั้งนี้จะช่วยประหยัดแบตได้นิดๆ หน่อยๆ ครับ

ปล. ต้องรูท (Root) ก่อนใช้งานโปรแกรมนะครับ

  สำหรับการแนะนำวิธีการประหยัดแบตแอนดรอยด์ในวันนี้ก็ต้องขอลากันไปก่อน ลองดูนะครับ รับรองว่าจะช่วยยืดอายุแบตได้ไม่มากก็น้อยเลยล่

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook