คนไทยใจป้ำมือถือใหม่ต้องแบรนด์ดังเสพติดโซเชียลเน็ตเวิร์ก

คนไทยใจป้ำมือถือใหม่ต้องแบรนด์ดังเสพติดโซเชียลเน็ตเวิร์ก

คนไทยใจป้ำมือถือใหม่ต้องแบรนด์ดังเสพติดโซเชียลเน็ตเวิร์ก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

คนไทยใจป้ำมือถือใหม่ต้องแบรนด์ดังเสพติดโซเชียลเน็ตเวิร์ก

TNS ชี้คนไทยติดแบรนด์มือถือ สวนกระแสโลกที่ตัดสินใจเลือกจากราคามากกว่า แถมยังติดโซเชียลเน็ตเวิร์ก 49% เข้าผ่านสมาร์ทโฟนทุกวัน แต่มีแค่ 4% ที่เคยใช้บริการโมบายวอลเลต เหตุยังลังเลด้านความปลอดภัย

นายโจ เวบบ์ หัวหน้าฝ่ายดิจิทัล บริษัทวิจัย TNS ประเทศจีน กล่าวว่า บริษัทได้สำรวจข้อมูลจากผู้ตอบแบบสอบถาม 38,000 คน จาก 43 ประเทศ ในกลุ่มผู้บริโภคที่มีอายุระหว่าง 16-60 ปี ทั้งที่มีและไม่มีโทรศัพท์มือถือ ในประเด็นเกี่ยวกับบทบาทของเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือที่มีผลต่อชีวิต ซึ่งในประเทศไทยมีผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 1,000 คน เพื่อให้เข้าใจถึงการใช้งานโทรศัพท์มือถือ โอกาสและเทรนด์ใหม่ ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต

รายงาน Mobile Life 2013 พบว่าผู้บริโภคชาวไทยตัดสินใจซื้อโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยให้ความสำคัญกับยี่ห้อมากที่สุดถึง 91% รองลงมาคือปัจจัยด้านราคา ต่างกับผลสำรวจทั่วโลกที่ตัดสินใจจากราคาเป็นอันดับ 1 อยู่ที่ 67% อันดับ 2 คืออายุการใช้งานของแบตเตอรี่ 63%


ขณะที่แบรนด์ของมือถือเป็นอันดับ 3 แค่ 61% เท่านั้น แต่ว่าตลาดไทยมีความต้องการแบรนด์พรีเมี่ยมขณะที่ผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือในไทยมีเพียง 4% เท่านั้นที่เคยใช้บริการธุรกรรมทางการเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ โดยมีกลุ่มอายุระหว่าง 16-30 ปี กว่า 20-23% สนใจที่จะใช้งานบริการดังกล่าวมากที่สุด แต่ส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยมั่นใจในความปลอดภัย และชอบที่จะทำรายการกับพนักงานโดยตรงมากกว่าที่จะทำผ่านโทรศัพท์มือถือ จึงจำเป็นต้องมีความมั่นใจและความคุ้นเคยของบริการมากขึ้นก่อนที่จะหันมาเลือกใช้งานผ่านโทรศัพท์มือถือเป็นช่องทางหลัก

นอกจากนี้ ผู้บริโภคชาวไทยยังลังเลกับแนวคิดโมบายวอลเลต หรือการใช้โทรศัพท์มือถือแทนกระเป๋าสตางค์ โดย 49% ไม่รู้สึกว่าเป็นบริการที่จำเป็น แต่เมื่อกลุ่มผู้บริโภครุ่นใหม่หันมาให้ความสนใจ ก็แสดงให้เห็นว่าเป็นบริการที่มีโอกาสเติบโตในอนาคต เนื่องจากโมบายวอลเลตนั้นเป็นบริการที่สามารถทำกำไรให้กับร้านค้าและผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือได้ โดยทาง TNS มองว่า ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า การจ่ายเงินชำระค่าสินค้าและบริการผ่าน SMS ผ่านการใช้แอปพลิเคชั่น หรือการใช้เทคโนโลยี NFS บนโทรศัพท์เพื่อชำระเงินผ่านกับระบบเซ็นเซอร์ในร้านค้าต่าง ๆ จะเป็นเรื่องปกติในประเทศที่กำลังมีการเติบโตในทวีปเอเชีย โดยประเภทของสินค้าและบริการที่มีศักยภาพในการเติบโตสูงสุด ได้แก่ การชำระค่าโทรศัพท์มือถือรายเดือน การชำระบิลต่าง ๆ ปั๊มน้ำมัน และร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด

รายงานจาก TNS ยังระบุอีกว่า ตลาดไทยมีอัตราการเป็นเจ้าของสมาร์ทโฟนเพียง 36% แต่เป็นกลุ่มที่มีการใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์กสูง โดยมีผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือ 19% เข้าสู่โซเชียลเน็ตเวิร์ก บนโทรศัพท์มือถือทุกวัน และจะเพิ่มขึ้นเป็น 49% ถ้าใช้สมาร์ทโฟน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook