กสทช.โกย 5 หมื่นล้าน "ทีวีดิจิทัล" ยักษ์บันเทิง-สื่อใหญ่ถล่มราคาดันต้นทุนกระฉูด

กสทช.โกย 5 หมื่นล้าน "ทีวีดิจิทัล" ยักษ์บันเทิง-สื่อใหญ่ถล่มราคาดันต้นทุนกระฉูด

กสทช.โกย 5 หมื่นล้าน "ทีวีดิจิทัล" ยักษ์บันเทิง-สื่อใหญ่ถล่มราคาดันต้นทุนกระฉูด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กสทช.โกย 5 หมื่นล้าน "ทีวีดิจิทัล" ยักษ์บันเทิง-สื่อใหญ่ถล่มราคาดันต้นทุนกระฉูด

"กสทช." โกยอื้อซ่า เปิดประมูล "ทีวีดิจิทัล" 24 ช่องธุรกิจ "ยักษ์บันเทิง-สื่อใหญ่" ถล่มราคาสู้กันอุตลุด ดันต้นทุนพุ่งกระฉุดสูงกว่าราคาตั้งต้นหลายเท่าตัว คาดได้เงินเข้ากระเป๋ารัฐทะลุ 5 หมื่นล้านบาท แซงหน้ารายได้ใบอนุญาต 3G ฟาก "ฟรีทีวีเดิม-สื่อบันเทิง-ทุนสิ่งพิมพ์" กวาดเรียบ สุดเซอร์ไพรส์ "อินทัช-มหากิจศิริ-กลุ่มสามารถ" วืด

พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เปิดเผยว่า ภายในวันที่ 16 ม.ค. 2557 นี้ จะเสนอชื่อผู้ชนะการประมูลทีวีดิจิทัลช่องธุรกิจทั้ง 24 ช่อง ให้ที่ประชุม กสทช.พิจารณาออกใบอนุญาต 15 ปี และจะเริ่มออกอากาศได้เดือน ก.พ. 2557

โดยรายได้จากการประมูล ตาม พ.ร.บ.กสทช. กำหนดให้นำสมทบเข้ากองทุนวิจัย และพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (USO) และเฉพาะค่าประมูลช่อง HD 7 ช่องช่องวาไรตี้ความละเอียดปกติ (SD) 7 ช่อง และช่องข่าว 7 ช่อง มีมูลค่ารวมกัน 48,888 ล้านบาท สูงกว่าราคาตั้งต้นที่ 15,190 ล้านบาท มากแต่จะไม่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจของแต่ละรายเพราะเชื่อว่าวางแผนคำนวณต้นทุนที่ต้องรับภาระไว้แล้วก่อนเสนอราคาทั้งแบ่งเวลาให้ผู้อื่นเช่าได้ไม่เกิน40%ถือเป็นการหารายได้อีกทาง

ด้านนายทรงศักดิ์เปรมสุข กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท วอยซ์ ทีวี จำกัด ผู้ชนะประมูลช่องข่าว กล่าวว่า แม้ราคาของช่องข่าวจะสูง บริษัทเสนอไปที่ 1,330 ล้านบาท แต่เชื่อว่าด้วยฐานผู้ชม และเนื้อหาข่าวที่ทำอยู่ ตอบโจทย์ความต้องการผู้บริโภคได้ และมีเป้าหมายเป็นช่องข่าวอันดับ 1 จากเดิมเผยแพร่เฉพาะในทีวีดาวเทียม และเคเบิลทีวีเท่านั้น

นางพรรทิภา สกุลชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยทีวี จำกัด (ทีวีพูล) กล่าวว่า แม้ประมูลได้ในราคา 1,328 ล้านบาท แต่จะคืนทุนใน 1 ปี เพราะฐานลูกค้าทั้งผู้อ่าน และผู้ชมรายการทีวีมีมาก ทำให้มีรายได้จากค่าโฆษณาและอื่น ๆ เข้ามา และมีคอนเทนต์พร้อมออกอากาศได้ทันที

ด้านนายอดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ ผู้บริหารเครือเนชั่น กล่าวว่า ไม่กังวลว่าราคาจะกระทบต้นทุน แม้ได้ทั้งช่อง SD และช่องข่าว รวมกว่า 3,538 ล้านบาท

นายศุภสิทธิ์ รักกสิกร ผู้บริหารกลุ่มสามารถ เข้าประมูลช่องข่าวร่วมกับสยามกีฬาแต่ไม่ได้ กล่าวว่า การเคาะราคาช่องข่าวสูงเกินคาด มองว่ามีโอกาสไม่คุ้มทุนเพราะธุรกิจช่วงแรกจะค่อนข้างลำบาก จึงตัดสินใจไม่เสนอราคาสู้

"แค่ 30 นาทีก็ไปพันล้านแล้ว จากที่คำนวณไว้ไม่น่าถึงขนาดนี้ ยิ่งต้นทุนสูง โอกาสกลับมากำไรยิ่งช้า แม้เราจะเตรียมทุนมาพร้อมให้ราคาสูงกว่านี้ได้"

สำหรับการประมูลทีวีดิจิทัลของ กสทช.ในครั้งนี้ หากมองในแง่การแข่งขันถือว่าประสบความสำเร็จ เพราะแข่งขันเสนอราคาอย่างหนักในทุกประเภทรายการ และได้ผู้ชนะที่เสนอราคาสูงสุดสูงกว่าราคาตั้งต้นหลายเท่า เช่น ช่อง HD ตั้งต้น 1,510 ล้านบาท แต่สูงสุดเสนอที่ 3,530 ล้านบาท ได้แก่ บริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด (ช่อง 3) และต่ำสุดยังสูงสุด 3,320 ล้านบาท ได้แก่ บมจ.จีเอ็มเอ็ม เอชดี ดิจิทัล ทีวี จำกัด เป็นต้น

เช่นกันกับช่องรายการทั่วไปแบบมาตรฐาน หรือ SD ผู้ชนะประมูลที่เสนอราคาสูงสุด คือ บริษัท ไทย บรอดคาสติ้ง จำกัด (เวิร์คพอยท์) ที่ 2,355 ล้านบาท ราคาตั้งต้น 380 ล้านบาท ขณะที่ช่องข่าว ผู้ชนะอันดับ 1 คือ บริษัท เอ็นบีซี เน็กซ์ วิชั่น จำกัด (เนชั่น) เสนอที่ 1,338 ล้านบาท จากราคาเริ่มต้น 220 ล้านบาท

ก่อนหน้านี้ กสทช.ได้จัดประมูลคลื่นถี่ 2.1 GHz เพื่อให้บริการระบบโทรศัพท์ 3G (วันที่ 16 ต.ค. 2555) ได้เงินจากการประมูลทั้งหมด 41,625 ล้านบาท จากใบอนุญาต 3 ใบ และโดนวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่มีการแข่งขันเท่าที่ควร เพราะเสนอราคาสูงกว่าราคาตั้งต้นเพียง 2.7% เท่านั้น ต่างจากการประมูลช่องทีวีดิจิทัลที่คาดว่าจะได้เงินมากกว่า 50,000 ล้านบาท

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook