แค่ถ่ายภาพ ก็อาจถูกสะกดรอยตาม หรือจับผิดได้

แค่ถ่ายภาพ ก็อาจถูกสะกดรอยตาม หรือจับผิดได้

แค่ถ่ายภาพ ก็อาจถูกสะกดรอยตาม หรือจับผิดได้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

แค่ถ่ายภาพ ก็อาจถูกสะกดรอยตาม หรือจับผิดได้ ด้วยเทคโนโลยี Geotagging

ปัจจุบันโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน หรือแม้กระทั่งแท็ปเล็ต มีความสามารถในการถ่ายภาพที่คมชัดมากขึ้น สะดวกในการถ่ายภาพแล้วแชร์บน Social Network ซึ่งสามารถระบุตำแหน่งพิกัดที่อยู่ของเราได้ อย่างเวลาเราไปเที่ยวในสถานที่ต่างๆ หรือแม้แต่แชร์ภาพบน Instagram ก็ยังมีคุณสมบัติ Photo Map  โดย เชื่อมโยงคุณสมบัติของสมาร์ทโฟน แท็ปเล็ต ในการระบุตำแหน่งพิกัดที่เราอยู่ ซึ่งใช้การอ้างอิงละติจูด ลองติจูดจาก GPS (Global Positioning System) ซึ่งเชื่อมโยงกับดาวเทียมเพื่อระบุตำแหน่งพิกัด

โดยใช้สัญญาณการรับส่งข้อมูลจากมือถือที่รองรับ GPS และ AGPS เพื่อระบุตำแหน่งและมีการฝังแท็กของตำแหน่งพิกัดลงไปบนภาพถ่าย แต่รู้หรือไม่ว่า เพียงแค่คุณถ่ายภาพ ก็อาจถูกสะกดรอยตาม หรือจับผิด จากภาพถ่าย  ด้วยเทคโนโลยี Geotagging

ข้อดีของการระบุตำแหน่งบนภาพถ่ายคือ เพื่อให้เรารู้ว่าไปเที่ยวที่ไหน ไปทานข้าวที่ไหน (เหมือนกับการสร้างรอยเท้าเราเอาไว้) แต่ถ้าใครมีอะไรที่ต้องปิดบัง ถึงคราวซวยแน่ๆ อย่างเช่นการแอบหนีแฟนไปเที่ยว การโกหกแฟนว่าไปประชุมต่างจังหวัด ระวังเทคโนโลยี Geotagging จะจับโกหกติดตามเพื่อสะกดรอยเราผ่านภาพถ่ายที่ติด Geotagging แบบนี้งานงอกแน่ๆ โดนจับโกหกได้ ก็เพราะภาพถ่ายมันฟ้องพร้อมระบุสถานที่อัตโนมัติโดยที่เราอาจไม่รู้ตัว

แต่ไม่ต้องเป็นกังวล หากเรามีใจบริสุทธิ์ ไม่ได้โกหก ไม่ได้ปิดบังอะไร Geotagging ก็ไม่ทำร้ายเราแน่นอน เพราะปกติแล้ว คุณสมบัตินี้ จะถูกปิดไว้ จะใช้งานก็ต่อเมื่อ เราเปิดคุณสมบัตินี้เท่านั้น จริงๆแล้วเทคโนโลยีนี้ไม่ได้มีไว้จับกิ๊กหรือดักชู้อะไรหรอก แต่จริงๆแล้ว Geotagging เอาไว้ใช้ในการระบุตำแหน่ง เวลาเราไปท่องเที่ยว และหากเราถ่ายรูปมาเยอะๆ เราก็จะค้นหาภาพได้ง่ายขึ้น โดยค้นหาจากตำแหน่งพิกัดที่เราไปเที่ยว เพราะเวลาไปเราไปต่างประเทศ บางครั้งเราก็ไม่รู้หรอกว่า บริเวณนั้นมันคือส่วนไหนของเมือง แถมภาพถ่ายเป็นร้อยเป็นพันรูป แยกด้วย Geotagging ก็จะค้นหาง่ายขึ้น โดยสามารถค้นจาก Location เพราะ Geotagging จะฝังไปกับภาพบนแท็ก (เรามองไม่เห็นด้วยตาเปล่า แต่จะใช้โปรแกรมตรวจสอบพิกัดได้ คล้ายๆกับการฝังแท็กในเพลง MP3)

ส่วนแอพที่น่าสนใจ จะเป็นแอพของ iPhone, Android ชื่อ Geotag Photos ถ่ายภาพจากกล้องดิจิตอล หรือมือถือก็ได้ โดยกำหนดค่าไว้ แล้วตั้งให้บันทึกติดตามการท่องเที่ยวในทริปของเรา ข้อดีคือ เราจะทราบได้ว่า เราไปท่องเที่ยวที่ไหนมาบ้าง ทริปเราเดินทางอย่างไร โดยอาศัย Geotag เป็นตัวจับตำแหน่ง (ถ้าใครคุ้นเคยกับแอพวิ่ง ก็จะเห็นเส้นทางการเดินทางของเรา) แต่อย่าลืม หากไม่ได้ใช้งาน ให้ปิด Geotag ด้วย เพราะหากคุณเผลอไปใช้ Geotag ในโรงแรมหรือที่พัก ก็อาจจะมีผู้ไม่หวังดีแอบสะกดรอยตามเราก็เป็นได้

ปิด Geotagging ไว้ ปลอดภัยกว่า

วิธีการปิด Geotagging บนมือถือสมาร์ทโฟน (Android, iOS, BlackBerry) ง่ายๆเพียงเข้าไปเมนูที่เกี่ยวกับ Location Services กำหนดให้เป็น Off ในส่วนของ iOS เข้าไปใน Location ไม่ต้องปิดทั้งหมดก็ได้ ปิดในส่วนของ Camera ก็พอ และเข้าไปดูในแอพต่างๆด้วย พยายามปิดแอพต่างๆ ไม่ให้แสดงตำแหน่งผ่าน Geotagging ด้วย เพื่อความปลอดภัยของเรา และพยายามอย่าแสดงตัวตนว่าเราอยู่ในพิกัดใด เพราะไม่รู้ว่าใครหวังดีหรือหวังร้ายกับเราบ้าง

และล่าสุดสำหรับผู้ที่ใช้ Instagram แนะนำให้ปิดการทำงานของคุณสมบัติ Photo Map เนื่องจากอาจะมีผู้ไม่หวังดี สะกดรอยตามจากภาพถ่ายของเราก็เป็นได้

หากใครมีความรู้เบื้องต้นในการอ่านรายละเอียดของภาพถ่าย (EXIF) ก็จะพอดูออกว่า ใช้กล้องอะไรถ่าย หรือบางครั้งก็มีข้อมูล GPS ติดมาให้ดูได้เลย แบบนี้ก็พอจะติดตามได้เหมือนกัน เหตุเพราะเราไม่ได้ปิด Location บนแอพ Camera นั่นเอง (ภาพนี้ดูได้ง่ายๆจากการคลิกขวาบน Windows นี่แหล่ะ)

ถึงแม้เทคโนโลยีจะล้ำสักแค่ไหน กล้องจะคมชัดสุดๆ แต่สิ่งหนึ่งที่เราต้องระวังคือ ความรอบคอบในการใช้งานเทคโนโลยี ทุกความทันสมัย แม้ว่าจะมีประโยชน์หากเรานำไปใช้ในทางที่ถูก แต่กับบางคนอาจจะนำไปใช้ในทางที่ไม่เหมาะสมก็เป็นได้ ใครจะคิดว่า แค่การถ่ายภาพ ก็อาจจะนำภัยมาสู่ตัวเราโดยที่เราเองไม่ทันได้ระวังตัว เน้นย้ำไว้ว่า อย่าระบุตำแหน่งพิกัดแบบสาธารณะ และอย่าแชร์ตำแหน่งพิกัดของเราให้ผู้อื่นทราบ หากไม่ใช่คนที่ไว้ใจได้จริงๆหรือเพื่อนสนิท หรือคนในครอบครัว

ข้อมูล Geotagging

สนับสนุนเนื้อหา: www.it24hrs.com

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook