เซเลบ-ดารากรี๊ดสลบ เว็บเพจปลอมระบาด งัด "กม.คอมพ์" กำราบ

เซเลบ-ดารากรี๊ดสลบ เว็บเพจปลอมระบาด งัด "กม.คอมพ์" กำราบ

เซเลบ-ดารากรี๊ดสลบ เว็บเพจปลอมระบาด งัด "กม.คอมพ์" กำราบ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

     โซเชียลเน็ตเวิร์กจุดพลุภัยไซเบอร์ "ปลอมเว็บไซต์-สวมรอยแฟนเพจ-ไอดี" ระบาดหนัก "คนดัง-ธุรกิจ-เว็บข่าว" โดนถ้วนหน้า ตั้งแต่แค่ดิสเครดิตยันหลอกขายของ ด้าน "ปอท." งัด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์กำราบ ระบุโทษทั้งจำคุกทั้งปรับ "ส.ผู้ผลิตข่าวออนไลน์" แนะสมาชิกแจ้งเตือนผู้ให้บริการ-ผู้อ่านกรณีโดนแก้ไขพาดหัวข่าว

     ระบาดหนักขึ้นทุกทีกับการปลอมแปลง และสวมรอยไอดีแฟนเพจ สำนักข่าวใหญ่หลายแห่ง บริษัทห้างร้านต่าง ๆ รวมถึงบุคคลที่มีชื่อเสียงทั้งหลาย ไม่เว้นแม้แต่นายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาก็ยังโดนกับเขา ด้วย ส่วนใหญ่มีเป้าหมายเพื่อสวมรอยเผยแพร่ข้อมูลที่ก่อให้เกิดความเสียหายกับ เว็บหรือบุคคลนั้น ๆ บ้างก็เพื่อหาประโยชน์จากชื่อเสียงเจ้าของชื่อที่โดนสวมรอย

     พ.ต.ท. สันติพัฒน์ พรหมมะจุล รองผู้กำกับการกลุ่มงานสนับสนุนคดีเทคโนโลยี กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า การหลอกลวงบนโซเชียลเน็ตเวิร์กโดยเฉพาะเฟซบุ๊กแพร่หลายมาตั้งแต่ช่วงที่การ ใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กเป็นที่นิยมจนปัจจุบัน ในรูปแบบการปลอมแปลงไอดีเฟซบุ๊กส่วนตัวของบุคคลต่าง ๆ เพื่อหลอกขายสินค้า หลอกเป็นคนรู้จักให้โอนเงินให้ ก่อกวนความวุ่นวาย รวมถึงสืบข้อมูลส่วนบุคคล เช่นปลอมไอดีเฟซบุ๊กของพิธีกรรายการข่าวชื่อดังให้คนหลงเชื่อก่อนโพสต์รูป หมิ่นสถาบัน เป็นต้น

     "กรณีปลอมไอดีเฟซบุ๊กเยอะมากเป็นพัน ๆ ราย แต่แจ้งความน้อยมาก ราว 5% เพราะรู้สึกว่าแค่เป็นการก่อกวนจะมาแจ้งต่อเมื่อสร้างความเสียหายร้ายแรง เช่นทำให้อับอายหรือนำไปใช้หลอกลวงเรียกทรัพย์สินจากผู้อื่น"

     อย่างไรก็ตาม การปลอมแปลงไอดีเฟซบุ๊กมีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 เรื่องการนำข้อความอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และหากตัดต่อภาพจะมีความผิดตามมาตรา 16 จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับแต่ต้องยอมรับว่านำคดีไปสู่ชั้นศาลยาก เพราะไม่ได้รับความร่วมมือจากผู้ให้บริการโซเชียลเน็ตเวิร์กที่อยู่ต่าง ประเทศในการรวบรวมพยานหลักฐาน

     เมื่อพบว่าโดนสวมรอยขั้นแรกให้ติดต่อ ไปทางผู้ให้บริการ เช่น หน้าเว็บของเฟซบุ๊กมีฟังก์ชั่นให้แจ้ง "Report" กลับไปให้ยับยั้งการเผยแพร่ก่อนรวบรวมหลักฐาน อาทิ ภาพไอดีหรือเพจปลอม มาแจ้งความกับตำรวจได้ทุก สน. หรือแจ้งตรงกับ ปอท.

     "ปัญหานี้มีแนว โน้มสูงขึ้นเพราะคนไม่ค่อยระวังตัว เปิดเผยข้อมูลตนเองบนโซเชียลเน็ตเวิร์กเยอะมาก วิธีป้องกันคือระมัดระวังการเปิดเผยข้อมูล อย่าเลือกเปิดแบบสาธารณะ และให้เช็กเสิร์ชเอ็นจิ้นว่ามีการนำชื่อหรือไอดีเฟซบุ๊กของเราไปสร้างอะไร แปลกปลอมหรือไม่"

     ด้านนายอภิศิลป์ ตรุงกานนท์ นายกสมาคมผู้ดูแลเว็บไทย กล่าวว่า ในส่วนของเว็บไซต์ต่าง ๆ ยังไม่พบพฤติกรรมที่มีการปลอมแปลง ทำชื่อเว็บไซต์คล้ายกันเพื่อนำไปกลั่นแกล้งหรือหาผลประโยชน์ต่อ แต่เว็บไซต์ที่มีข้อมูลสำคัญทางการเงิน เช่น เว็บไซต์ธนาคารที่มีลักษณะของการ "ฟิชชิ่ง" หรือใช้ลิงก์ปลอมเพื่อดักข้อมูลเข้าถึงบัญชีทางการเงิน

     "การดูแลป้องกันเพื่อปกป้องข้อมูลหรือป้องกันการหลอก การดักเอาข้อมูลต่าง ๆ จากเว็บไซต์ ผู้ดูแลเว็บมีการรักษาความปลอดภัยในเชิงระบบอยู่แล้ว เพื่อไม่ให้มีการมานำข้อมูลของสมาชิกรั่วไหลออกไปโดยมิจฉาชีพ สำหรับผู้ใช้งานทั่วไปควรตรวจสอบการเข้าถึงข้อมูลทุกครั้ง

     เวลาเข้าเว็บไซต์ หรือเพจต้องอ่านชื่อเว็บไซต์ ชื่อเพจอย่างถี่ถ้วนก่อนเข้า ยิ่งถ้าเป็นเว็บไซต์ที่มีข้อมูลสำคัญอย่างเว็บไซต์ธนาคาร อยากให้ตรวจสอบเว็บไซต์ที่ถูกต้องไว้ อย่างน้อยหนึ่งครั้งแล้วบุ๊กมาร์กไว้ เพื่อช่วยให้การเข้าถึงครั้งต่อไปทำได้ง่ายขึ้น และถูกต้อง รวมทั้งเวลามีอีเมล์ส่งลิงก์มาให้อ่าน ต้องเช็กลิงก์ทุกครั้งเพื่อป้องกันไม่ให้ตกไปเป็นเครื่องมือของมิจฉาชีพใน การหาผลประโยชน์ต่อไป"

     นายไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายคอมพิวเตอร์ เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ปัญหามิจฉาชีพจะหลอกขายของหรือหลอกให้โอนเงินทำให้ความเสียหายจากปัญหานี้มี มูลค่าสูง วางแผนหลอกลวงมาอย่างรัดกุม ทำให้สืบหาตัวการยาก

     ผู้บริโภคควรป้องกันตนเองด้วยการตรวจสอบบุคคลที่ติดต่อด้วย ให้แน่ใจทุกครั้งหากมีการชำระค่าสินค้าให้หลีกเลี่ยงการจ่ายเงินสด หรือโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารโดยตรง เพราะหากโดนหลอกโอกาสได้คืนมีน้อย เพราะไม่สามารถระบุตัวตนคนรับเงินได้ ควรใช้บัตรเครดิตในการจ่ายเงิน เพราะมีกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคดูแลอยู่

     หากมีปัญหาเคลมเงินคืนได้ง่ายกว่า หรือใช้การชำระเงินที่มีมาตรฐานการป้องกันการหลอกลวง อาทิ เพย์พาล และอยากให้ภาครัฐเข้ามาดูแลปัญหาการซื้อขายออนไลน์ อาทิ มีระบบตรวจสอบและยืนยันตัวตนของผู้ค้าขายออนไลน์, มีหน่วยงานรับแจ้งและแก้ปัญหาจากการซื้อขายออนไลน์เหมือนในต่างประเทศ ไม่รวมไว้ที่ตำรวจอย่างเดียว

     ด้านนายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี ที่ปรึกษาสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ กล่าวว่า สมาคมมีการหารือเกี่ยวกับปัญหาการปลอมเว็บไซต์ และหน้าเพจบนโซเชียลเน็ตเวิร์ก โดยเฉพาะการแก้ไขพาดหัวข่าวให้ผิดไปจากเดิม หลังกดปุ่มแชร์หรือรีทวีตทำให้เกิดความสับสนในเนื้อหา

     และสร้างความไม่น่าเชื่อถือแก่สำนักข่าวต่าง ๆ ซึ่งคงต้องใช้ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทําผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ม.14 เกี่ยวกับการนำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จเข้าระบบคอมพิวเตอร์มาบังคับใช้เพื่อ ป้องปราม

     ในเบื้องต้นสมาคมได้แจ้งให้สมาชิกกดแจ้งเตือน (Report) หากมีการกระทำในลักษณะดังกล่าว และแจ้งให้ผู้ติดตามทั้งบนเว็บไซต์และโซเชียลเน็ตเวิร์กรับรู้ว่าเพจจริงมี รูปแบบอย่างไร รวมถึงให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงพาดหัวข่าวที่อาจทำให้ข่าวคลาด เคลื่อนจากความเป็นจริงได้ เพื่อให้ผู้อ่านมีวิจารณญาณในการเสพข้อมูลมากขึ้น

     ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" ได้สอบถามไปยังเฟซบุ๊กถึงมาตรการแก้ไข และการป้องกันกรณีการปลอมแปลงบัญชีจนสร้างความเสียหายให้ผู้อื่นในหลายกรณี และได้รับการแจ้งจากทีมประชาสัมพันธ์ของเฟซบุ๊กว่าอยู่ระหว่าง ประสานงานกับเฟซบุ๊กที่สิงคโปร์ ซึ่งมีกระบวนการส่งต่อเรื่องภายในองค์กร หากมีความคืบหน้าใด ๆ จะรีบแจ้งให้ทราบ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook