Apple iOS 8 vs Android 5.1 ระบบปฎิบัติการไหนดีกว่ากัน?

Apple iOS 8 vs Android 5.1 ระบบปฎิบัติการไหนดีกว่ากัน?

Apple iOS 8 vs Android 5.1 ระบบปฎิบัติการไหนดีกว่ากัน?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ผมเชื่อด้วยอย่างบริสุทธิ์ใจเลยครับว่าการขึ้นหัวข้อบทความว่า Apple iOS 8 vs Android 5.1 ระบบปฎิบัติการไหนดีกว่ากัน? รับรองได้ว่าจะเกิดการโต้เถียงกันอย่างไม่จบสิ้นระหว่างแฟนๆ ของระบบปฎิบัติการ Android และระบบปฎิบัติการ iOS อย่างแน่นอน แต่ก่อนที่จะเกิดการเถียงกันลุกลามใหญ่โตนั้นผมขอบอกตั้งแต่ต้นบทความเลยนะ ครับว่าแต่ละระบบปฎิบัติการนั้นก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไปครับ

iOS 8 vs Android 5.1 600

สิ่งหนึ่งที่เป็นเช่นนั้นก็เนื่องมาจากว่าแต่ละระบบปฎิบัติการนั้นต่างก็ต้อง ผ่านการพัฒนามาอย่างมากมาย ฟีเจอร์ต่างๆ ที่ถูกเพิ่มเข้ามาในแต่ละเวอร์ชันนั้นทำให้ตัวระบบปฎิบัติการมีการเจริญเติบ โต หลายคนอาจจะชอบหลายคนอาจจะไม่ชอบ ซึ่งตรงนี้ก็ขึ้นอยู่กับความชอบส่วนบุคคลครับ

อย่างไรก็ตามแต่ในบทความนี้จะนำเสนอให้คุณได้เห็นส่วนดีส่วนเสียของแต่ละระบบปฎิ บัติการครับ ก่อนอื่นต้องยอมรับครับว่าด้วยระยะเวลาการพัฒนาที่ผ่านมาอย่างเนิ่นนานนั้น ระบบปฎิบัติการ Android 5.1 และ iOS 8 นั้นต่างก็ถูกพัฒนาให้เป็นระบบปฎิบัติการที่แข็งแกร่งครับ ความสามารถในการใช้งานของทั้งสองระบบปฎิบัติการนั้นจะเรียกได้ว่าแถบจะไม่ ค่อยเห็นความแตกต่างกันอย่างชัดเจนนักเท่าไรแล้วครับ

ถึงความสามารถในการใช้งานจะไม่ต่างกันเท่าไรนัก แต่รูปแบบหลายๆ อย่างเช่น ดีไซน์, ประโยชน์การใช้งาน และฟังก์ชันบางฟังก์ชันนั้นก็แตกต่างกันอย่างชัดเจนครับ ลองไปดูกันดีกว่าครับว่าเมื่อเจาะลึกเข้าไปแล้วระบบปฎิบัติการทั้งสองนั้นจะ มีข้อดีข้อเสียอะไรบ้างครับ

ดีไซน์ของตัวระบบปฎิบัติการ

ต้องยอมรับกันจริงๆ ครับว่าหลังจากที่ได้ผ่านการปรับแต่งมาเป็นระยะเวลาหลายปี ทั้งระบบปฎิบัติการ Android 5.1 และ iOS 8 นั้นก็มีพัฒนาการไปในทางที่ดีเพิ่มจากเวอร์ชันเก่ามาก แถมดีไซน์ของทั้ง 2 ระบบปฎิบัติการนั้นก็แตกต่างกันอย่างชัดเจนเห็นได้ชัดเลยทีเดียวครับ

ย้อนกลับไปในปี 2013 ที่ Apple ทำการเปิดตัวระบบปฎิบัติการ iOS 7 ออกมานั้น ทาง Apple ได้นำเสนอดีไซน์ใหม่ที่มีชื่อว่า Flat design ครับ แถมเจ้า Flat design นี้ก็แตกต่างจากดีไซน์ตามแนวทาง Skeuomorphism ของ iOS เวอร์ชันเก่าค่อนข้างจะมากเลยทีเดียวครับ ที่เห็นได้ชัดเจนสุดๆ ก็คงจะเป็นไอคอนแอปพลิเคชัน Notes ที่เปลี่ยนไปค่อนข้างมากครับ

หมายเหตุ - Skeuomorphism เป็นแนวทางการออกแบบที่ฮิตในการออกแบบเว็บไซต์ในช่วงก่อนหน้านี้ โดยจะออกแบบยึดตามหลักว่าหากสิ่งนั้นมีลักษณะเหมือนกับของสมัยเก่าอยู่ก็จะ ยังคงลักษณะนั้นไว้ในการออกแบบ ตัวอย่างเช่นการออกแบบไอคอนนาฬิกาที่เป็นรูปหน้าปัดวงกลมเป็นต้นครับ

iOS-home-screen-520x693

การดีไซน์แบบ Flat design นั้นจะลดเอาความหวือหวาไปทั้งหมดครับ โดยจะเน้นไปที่ความเรียบง่ายในการออกแบบมากกว่า ซึ่งตรงนี้ก็เป็นผลทำให้การทำงานต่างๆ ของตัวระบบปฎิบัติการ iOS ตั้งแต่เวอร์ชัน 7 มาจะรู้สึกได้ถึงความรวดเร็วมากกว่าเดิมเมื่อเทียบกับเวอร์ชันเก่าครับ

แน่นอนว่าการออกแบบ Flat design นั้นก็ยังมีข้อถกเถียงกันในหมู่ผู้ออกแบบว่ามันดีจริงตามที่ Apple กล่าวอ้างหรือไม่ เพราะหากจะว่าไปแล้วความสวยงามต่างๆ นั้นก็หายไปหมด แต่เมื่อเดินทางมาถึง iOS 8 นั้นการถกเถียงนี้ก็ได้ลดหายลงไปพอสมควรซึ่งส่วนหนึ่งน่าจะมาจากการที่นัก พัฒนานั้นเริ่มคุ้นเคย รวมไปถึงผู้ใช้งานเริ่มชินกับ Flat design นั่นเองครับ

นอกเหนือไปจากดีไซน์ Flat design ใหม่ที่เหมือนกับสูงสุดคืนสู่สามัญแล้ว ใน iOS 8 ยังแฝงมาด้วยฟีเจอร์ที่ผู้ใช้บางคนอาจจะไม่เคยรู้ตัวอย่างเช่นเพียงคุณสไลด์ นิ้วมือจากมุมซ้ายไปยังมุมขวาของหน้าจอคุณก็จะกลับไปยังหน้าก่อนหน้าได้ เสมือนกับเป็นปุ่ม Back ที่ซ่อนมาให้ผู้ใช้ได้ใช้งานแบบไม่เห็นตัวปุ่มครับ

Google กับ Material Design ที่สร้างความแตกต่างไปจากเดิม

มาดูกันที่ดีไซน์ของทางฝั่ง Android 5.1 กันบ้างครับ โดยตั้งแต่การพัฒนา Android 5.0 นั้นทาง Google ได้นำเสนอแนวทางการดีไซน์ใหม่ที่มีชื่อว่า Material Design ที่เรียกได้ว่า Google นั้นจริงจังกับดีไซน์นี้มากจนทำให้ Android 5.0 เป็นต้นมามีความแตกต่างอย่างชัดเจน(ในทางที่ดีขึ้น) กว่าดีไซน์ที่พบบน Android 4.4.x ลงไปครับ

คำว่า "material" ของทาง Google นั้นหมายถึงวิธีการที่วัตถุและการเคลื่อนที่ถูกสะท้อนอย่างไรในวัตถุที่อยู่ ในชีวิตจริงครับ หรือง่ายๆ ก็คือการออกแบบ Material Design จะเน้นไปทางด้านความเสมือนจริงเมื่อเทียบกับสิ่งที่เราต้องเจอในชีวติจริง ครับ ไม่ว่าจะเป็นการจัดวางปุ่มต่างๆ อนิเมชันในการสัมผัส รวมไปถึงการใช้งานที่เป็นมิตรมากขึ้นกับการใช้นิ้วมือสัมผัสและสีสันตระการ ตาครับ

Android-home-screen-520x924

อย่างไรก็ตามถึงแม้รูปแบบของ Material Design จะฟังดูดีมากจนน่าจะทำให้ผู้พัฒนาเปลี่ยนมาใช้ดีไซน์แบบนี้กันเร็วๆ แต่ในความเป็นจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ครับ ส่วนหนึ่งเลยก็มาจากปัญหาเรื่องที่ Google ไม่สามารถจะทำให้การอัพเดท Android 5.x สามารถกระจายไปถึงผู้ใช้ได้เร็วมากพอ ทำให้นักพัฒนาหลายๆ คนคิดว่ายังไม่ถึงเวลาที่จะทำการอัพเดท ซึ่งในเรื่องนี้คงต้องใช้เวลากันสักพักใหญ่ๆ เลยครับ

ระบบการทำงานหลายชนิดในเวลาเดียวกัน(Multitasking)

ระบบปฎิบัติการ Android และ iOS นั้นมีกรรมวิธีในการจัดการกับการทำงานหลายๆ งานพร้อมกันที่แตกต่างกันมาแต่ไหนแต่ไรแล้วครับ โดยทั้ง 2 ระบบปฎิบัติการนั้นก็มีดีและเสียกันไปคนละแบบ ถ้าเทียบไปแล้วระบบปฎิบัติการ Android นั้นจะมีระบบการจัดการการทำงานหลายงานที่คล้ายกับระบบปฎิบัติการ PC Desktop มากกว่าครับ(เนื่องจากมีพื้นฐานมาจาก Linux)

ในระบบปฎิบัติการ Android 5.x นั้น ด้วยความที่แนวคิด Material Design จะนำเสนอรูปแบบของข้อมูลในลักษณะที่เป็นการ์ด โดยในหน้าที่จะทำการสลับแอปพลิเคชันนั้นจะมีการแสดงแอปพลิเคชันที่เคยใช้งาน ในรูปแบบการ์ดเรียงกันไปตั้งแต่แอปพลิเคชันล่าสุดไปจนถึงแอปพลิเคชันเก่าสุด ที่เคยใช้งานครับ วิธีการสลับแอปผลิเคชันนั้นก็เหมือนกับการสลับการ์ดไผ่ครับ เรียกได้ว่าง่ายทีเดียว

android-multitasking-520x924

การมองแอปพลิเคชันที่เคยใช้งานนั้นก็ง่ายครับ เพียงแค่คุณมองส่วนหัวข้องตัวการ์ดซึ่งจะแสดงชื่อของแอปพลิเคชันไว้ แล้วทำการเลื่อนตัวการ์ดไปให้ถึงแอปพลิเคชันนั้น พร้อมกับใช้นิ้วจิ้มลงไปที่ตัวการ์ดของแอปพลิเคชันก็จะสามารถทำการสลับแอ ปพลิเคชันได้ครับ ในกรณีที่คุณมีการเปิดแอปพลิเคชันไว้หลายแอปพลิเคชันนั้นก็ไม่ต้องกลัวที่จะ แยกไม่ออกนะครับ เนื่องจากว่าที่หัวของตัวการ์ดของแต่ละแอปนั้นจะมีสีแยกอยู่ทำให้การมองง่าย ขึ้นครับ

อย่างไรก็ตามรูปแบบของการจัดเรียงการ์ดแอปพลิเคชันที่เคยใช้งานซ้อนๆ กันอยู่นั้นจะทำให้คุณไม่สามารถมองเห็นหน้าจอของแอปพลิเคชันเก่าๆ ได้ชัดเจนครับว่าคุณได้เปิดหน้าจอหรือทำงานอะไรไว้ โดยเฉพาะหากยิ่งเป็นแอปพลิเคชันที่ใช้งานมานานมากๆ คุณจะเห็นเพียงครึ่งหน้าจอเท่านั้นครับ

อย่างไรก็ตามแต่รูปแบบระบบการจัดการการทำงานหลายงานของ Android นั้นจะเป็นการเปิดแอปพลิเคชันนั้นๆ ค้างไว้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งนั่นเลยทำให้กลายเป็นข้อเสียด้วยส่วนหนึ่งก็คือถ้าคุณเปิดแอปพลิเคชัน มากจนเกิดไปหน่วยความจำ(Ram) ก็จะเต็มและเครื่องจะช้าลงอย่างเห็นได้ชัดถึงแม้ว่าคุณจะใช้เครื่องแรงๆ แต่ใน Android 5.x นั้นก็มีการจัดการหน่วยความจำที่ดีขึ้นกว่าเดิมมากเลยครับ

หมายเหตุ - ทาง Google บอกว่า Android 5.1 Lollipop ได้ถูกออกแบบในเรื่องการจัดการหน่วยความจำให้เหมาะสมกับเครื่องที่มีหน่วย ความจำน้อยๆ เช่น 512 MB แต่ด้วยความที่ตัวผมเองนั้นยังไม่ได้จับเครื่องที่มีหน่วยความจำขนาดนี้บน Android 5.1 จึงทำให้ยังไม่สามารถสรุปได้ครับว่า Android 5.1 นั้นดีจริงอย่างที่ Google ว่าไว้หรือไม่

การสลับแอปพลิเคชันในมุมมองที่ชัดเจนกว่าของ iOS

ในขณะที่ระบบปฎิบัติการ Android 5.x นั้นถือเอาความหวือหวาให้เป็นประสบการณ์ในการใช้งานแก่ผู้ใช้ ทว่าในส่วนของ iOS นั้นกลับใช้แนวคิดที่เรียบง่ายกว่าในการแสดงข้อมูลแอปพลิเคชันสำหรับหน้าจอ การสลับการใช้แอปพลิเคชันครับ ถึงแม้ว่าการเข้าถึงหน้าจอการสลับแอปพลิเคชันนั้นจะต้องกดลงไปที่ปุ่ม Home ถึง 2 ครั้งซึ่งอาจจะทำให้ปุ่ม Home ของใครหลายๆ คนพังก่อนระยะเวลา 1 ปี ไปแล้วก็ตามแต่ว่าด้วยหน้าจอสลับการใช้งานแอปพลิเคชันที่นำเสนอด้วยความ เรียบง่ายนั้นก็ใช้งานง่ายกว่าระบบปฎิบัติการ Android มากครับ

screenshot-2014-08-27-18-02-58

ในหน้าจอสำหรับการสลับหน้าจอแอปพลิเคชันของระบบปฎิบัติการ iOS นั้น คุณจะมองเห็นภาพหน้าจอของแอปพลิเคชันนั้นๆ ที่ใช้ครั้งล่าสุดแบบเต็มหน้าจอครับ(ดังรูป) แถมบนหน้าจอสลับแอปพลิเคชันของระบบปฎิบัติการ iOS นั้นจะแสดงรายชื่อผู้ติดต่อที่คุณติดต่อบ่อยไว้ให้สามารถทำการเข้าถึงได้ ง่ายเช่นเดียวกันครับ(ซึ่งคุณสามารถที่จะตั้งค่าการเข้าถึงตรงนั้นได้ตาม ต้องการว่าจะเป็นการกดเลือกแล้วโทรออกหรือส่งข้อความก็ได้ครับ)

วิธีการเลื่อนเพื่อดูแอปพลิเคชันที่เคยใช้งานเพื่อสลับการใช้งานก็คือเลื่อไปทาง ด้านข้างครับ แต่ทว่าด้วยความที่ระบบการจัดการการใช้งานหลายแอปพลิเคชันของระบบปฎิบัติการ iOS นั้นจะอยู่ในรูปแบบของกึ่งเปิดปิดแอปพลิเคชันนั้นๆ เมื่อคุณสลับใช้งานแอปพลิเคชันอื่นๆ ซึ่งนั่นจะทำให้ทุกครั้งที่คุณสลับใช้งานแอปพลิเคชันนั้นจะสังเกตได้ว่าตัว แอปพลิเคชันนั้นจะมีการโหลดใหม่ทุกครั้งครับ(สังเกตง่ายสุดคงเป็น Safari ครับ)

ถึงแม้จะดูเป็นข้อเสียที่ต้องโหลดแอปพลิเคชันใหม่ทุกครั้งที่มีการสลับการใช้ งานแต่ว่านั่นก็ทำให้อุปกรณ์ระบบปฎิบัติการ iOS นั้นไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมาพร้อมกับหน่วยความจำ(Ram) ในปริมาณมากๆ ครับ ดังจะเห็นได้จาก iPhone 6 นั้นยังมีหน่วยความจำอยู่ที่ 1 GB ในขณะที่อุปกรณ์ระบบปฎิบัติการ Android นั้นมีหน่วยความจำไปไกล 3 - 4 GB แล้วครับ(เท่ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดย่อมเลยก็ว่าได้ครับ)

Widgets และ Notifications

เรื่องของ Widgets และ Notifications หรือการแจ้งเตือนนั้นหากยอมรับกันตรงๆ แล้วระบบปฎิบัติการ Android นั้นทำได้ดีมาแต่ไหนแต่ไรแล้วครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ Widgets ที่มีให้เลือกให้ใช้งานได้เต็มไปหมด แถมระบบการแจ้งเตือนนั้นระบบปฎิบัติการ Android ก็เป็นระบบปฎิบัติการแรกที่ใช้วิธีการเข้าถึงการแจ้งเตือนทั้งหมดได้ด้วยการ ลากนิ้วจากบนลงล่างครับ

android-notification-520x924

ถึงแม้ว่าในปัจจุบันนั้นการเพิ่ม Widgets เข้าไปที่หน้าจออาจจะดูยาก(โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ที่ใช้งานระบบปฎิบัติการ Android ใหม่ๆ) เพราะต้องผ่านการลากหลายขั้นตอนแถมบางแอปพลิเคชันก็มี Widgets มากกว่าหนึ่ง Widgets แต่ทว่า Widgets ที่มีนั้นต่างก็สามารถทำงานของมันได้เป็นอย่างดีครับ(บางที Widgets ก็ทำให้การเข้าถึงแอปพลิเคชันต่างๆ นั้นง่ายขึ้น และการใช้งานฟังก์ชันต่างๆ ของแอปพลิเคชันก็สามารถเข้าถึงง่ายกว่าเดิมครับ)

หมายเหตุ - ตามความเห็นของผมการมี Widgets บนหน้าจอมากๆ นั้นบางทีก็ดีและไม่ดีครับ เพราะบางครั้ง Widgets ก็ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาในการไปค้นหาแอปพลิเคชัน ในขณะที่บางครั้งเมื่อวาง Widgets บนหน้าจอมากจนเกินไป หน่วยความจำ(Ram) ก็ลดน้อยลงดื้อๆ ซะงั้น

สำหรับระบบ Notifications หรือการแจ้งเตือนบนระบบปฎิบัติการ Android นั้นต้องถือให้เขาเหนือกว่าเจ้าอื่นหล่ะครับ เหตุผลที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะนักพัฒนาสามารถที่จะทำการปรับแต่งการแจ้งเตือน ได้หลากหลาย เช่นแอปพลิเคชัน March Madness สามารถที่จะทำการแจ้งเตือนคุณด้วยโลโก้ของทีมที่เฉพาะเจาะจงขึ้นอยู่กับว่า ใครเป็นผู้เล่นเป็นต้นครับ

สำหรับในระบบปฎิบัติการ iOS 8 นั้น หลายๆ ท่านอาจจะดีใจที่ในท้ายที่สุดก็มี Widgets มาให้ได้ใช้งานกันสักทีและ Widgets บางอันจากผู้ผลิตรายใหญ่ๆ เช่น Evernote และ Dropbox ก็สามารถที่จะทำออกมาได้ดีมากไม่ว่าจะเป็นฟังก์ชันการใช้งานหรือการเข้าถึง ไฟล์ได้อย่างรวดเร็วเพียงแค่คลิ๊กครั้งเดียว

อย่างไรก็ตามการจะเข้าถึง Widgets ได้นั้นต้องทำผ่านการลากนิ้วมือจากบนลงเพื่อที่จะเข้าถึงหน้าจอ Today Screen ครับ ซึ่งนั่นอาจจะไม่ได้สะดวกสบายเหมือนกับการเข้าผ่านทางหน้าจอโดยตรงของระบบ ปฎิบัติการ Android มากนัก

iOS-widgets-520x693

ในส่วนของระบบ Notifications หรือการแจ้งเตือนบนระบบปฎิบัติการ iOS นั้นยังถือว่าตามหลังระบบปฎิบัติการ Android อยู่พอสมควรครับ บนระบบปฎิบัติการ Android นั้นคุณสามารถที่จะจัดการกับการแจ้งเตือนต่างๆ ให้หายไปได้ด้วยการสไลด์มือเพียงแค่ครั้งเดียวเท่านั้น ในขณะที่การแจ้งเตือนบนระบบปฎิบัติการ iOS นั้นคุณจะสามารถทำการจัดการต่างๆ ได้ยากกว่าครับ

หมายเหตุ - ส่วนตัวแล้วผมคิดว่าขึ้นอยู่กับความถนัดของผู้ใช้งานด้วยครับ

สิ่งที่ระบบ Notifications ของระบบปฎิบัติการ iOS นั้นดูจะเหนือกว่าระบบปฎิบัติการ Android ก็คือความสามารถที่จะตอบกลับข้อความอย่าง iMessage หรือแอปพลิเคชันอื่นๆ ที่รองรับได้ทันทีที่คุณกดลงไปบนการแจ้งเตือนครับ อย่างไรก็ตามแต่ระบบ Notifications ของระบบปฎิบัติการ iOS นั้นยังมีอะไรที่ต้องพัฒนาอีกมากครับ แต่เชื่อว่าไม่นานมากนัก Apple น่าจะสามารถที่จะทำให้ระบบ Notifications ของตัวเองแข็งแกร่งและสามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้ครับ

ระบบการแชร์ข้อมูล : Android ยังคงนำหน้าในขณะที่ iOS ตามมาติดๆ อย่างไม่ลดละ

ถ้าพูดถึงระบบการแชร์ข้อมูลต่างๆ นั้นคงเป็นอีกระบบหนึ่งที่ Android นั้นได้เปรียบกว่าทาง iOS มาช้านานแล้วครับ แต่ทว่าการมาถึงของ iOS 8 นั้นก็ทำให้ทุกๆ อย่างเปลี่ยนไปเนื่องจากว่า iOS 8 นั้นสามารถที่จะแชร์ข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้นกว่าเดิมมากครับ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดก็คือคุณสามารถที่จะทำการแชร์ลิงค์เว็บไซ ต์จาก Safari ไปเก็บไว้ที่แอปพลิเคชัน Evernote หรือ Pocket ได้ด้วยเพียงการกดปุ่มเพียงปุ่มเดียวแล้วครับ(ก่อนหน้า iOS 8 คุณจะต้องทำการ copy ลิงค์แล้วเอาไปวางไว้เอง)

iOS-sharing-520x693

ในขณะที่ระบบปฎิบัติการ iOS 8 นั้นมีการปรับปรุงขึ้นไปอย่างเห็นได้ชัด แต่ทว่าระบบปฎิบัติการ Android 5.x นั้นกลับยังคงรูปแบบเดิมไว้โดยที่ทำเพียงแค่เปลี่ยนแปลงดีไซน์ให้เข้ากับ Material Design เท่านั้นครับ อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าจะมีลักษณธการใช้งานที่คงเดิมแต่ต้องยอมรับกันครับว่า ระบบการแชร์ข้อมูลของระบบปฎิบัติการ Android นั้นดีมาแต่ไหนแต่ไรอยู่แล้ว

android-sharing-520x924

ในความเป็นจริงแล้ว ระบบปฎิบัติการ Android นั้นอาจจะทำการยืมอะไรบางอย่างมาจากระบบปฎิบัติการ iOS 8 อย่างเช่นความสามารถในการแชร์ได้ด้วยการกดปุ่มแค่เพียงปุ่มเดียวก็สามารถ เข้าถึงแอปพลิเคชันที่ต้องการแชร์ได้ครับ เพราะจะว่าไปตอนนี้หากในระบบปฎิบัติการ Android ของคุณลงแอปพลิเคชันไว้มากๆ บางทีคุณต้องเลื่อนจนนิ้วมือชากว่าที่จะหาแอปพลิเคชันที่ต้องการแชร์ข้อมูล ไปให้ได้ครับ

ความสามารถของกล้องและซอฟต์แวร์ทางด้านกล้องที่แตกต่าง

มาถึงหัวข้อนี้ก่อนอื่นผมขอบอกไว้ในเบื้องต้นเลยครับว่าเรื่องของกล้องและภาพ ถ่ายที่จะได้รับในแต่ละระบบปฎิบัติการนั้น แต่ละคนก็มีความชอบแตกต่างกันไป บางคนอาจจะชอบภาพที่ได้จากอุปกรณ์ระบบปฎิบัติการ iOS บางคนอาจจะชอบภาพที่ได้จากระบบปฎิบัติการ Android แต่ถ้าให้อิงจากข้อมูลตามเว็บไซต์หลายๆ เว็บไซต์แล้วหล่ะก็ โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ใช้จะเทคะแนนไปให้ภาพที่ได้จากกล้องของระบบปฎิบัติการ iOS มากกว่าครับ

อย่างไรก็ตามแต่จากข้อมูลนั้นคงต้องยอมรับกันครับว่ากล้องของระบบปฎิบัติการ iOS นั้นสามารถทำได้ดีกว่าทั้งในเรื่องของทางด้านฮาร์ดแวร์ที่ถึงแม้ว่าความ ละเอียดของกล้องจะน้อยกว่า แต่เมื่อรวมกับซอฟต์แวร์ที่ปรับแต่งมาอย่างดีและใช้งานง่ายแล้วกลับให้ภาพ ที่สวยกว่ากล้องของระบบปฎิบัติการ Android ครับ

หมายเหตุ - เข้าใจว่าต้นฉบับน่าจะเทียบกับแอปพลิเคชันกล้องที่มาจากทาง Google โดยตรงครับ ซึ่งเป็นที่ทราบกันว่าทาง Google เหมือนจะไม่ค่อยเน้นทางด้านกล้องเท่าไร และซอฟต์แวร์ก็ปรับแต่งอะไรไม่ได้มาก ในขณะที่ผู้ผลิตที่นำเอาระบบปฎิบัติการ Android มาใช้งานนั้นมักจะมีการใส่สเปคกล้องที่สูงและทำซอฟต์แวร์ใหม่ครอบมาครับ

iOS-camera-520x693

แต่เมื่อกลับมาพูดถึงฟีเจอร์ทางด้านซอฟต์แวร์ของกล้องเช่นการถ่ายภาพในรูป แบบ panoramic และ slow-motion video นั้นทางฝั่งระบบปฎิบัติการ Android กลับนำเสนอได้เร็วกว่าครับ ระบบปฎิบัติการ iOS นั้นมักจะทำตามออกมาภายหลังในชื่ออื่นซึ่งก็กินเวลาแบบปีต่อปีครับ ที่สำคัญถ้าคุณเจอแอปพลิเคชันกล้องดีๆ บน App Store แล้วหล่ะก็คุณไม่สามารถจะตั้งแอปพลิเคชันกล้องนั้นแทนแอปพลิเคชันกล้องหลัก ได้เหมือนกับทางระบบปฎิบัติการ Android ครับ

Android-camera-520x293

ที่สำคัญถึงแม้ว่าในอดีตระบบปฎิบัติการ Android จะไม่ได้เน้นทางด้านกล้องอะไรมากนัก แต่ 2 - 3 ปีที่ผ่านมานี้ทุกอย่างเริ่มเปลี่ยนไปแล้วครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับในปีนี้อย่างเช่น HTC One M9, Nexus 6 หรือแม้แต่ Samsung Galaxy S6 ที่ต่างก็เน้นคุณภาพทางด้านกล้องมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ Galaxy S6 ที่มีความละเอียดของกล้องไปไกลที่ 20 MP แล้วครับ

การอัพเดทซอฟต์แวร์

เมื่อมาถึงหัวข้อนี้เชื่อว่าแฟนๆ ระบบปฎิบัติการ Android ต่างก็คงก้มหน้าก้มตายอมรับกันอย่างไม่มีข้อโต้แย้งครับว่าทาง Apple นั้นสามารถจัดการกับการอัพเดทซอฟต์แวร์ระบบปฎิบัติการ iOS ได้ดีกว่า Google มาก โดยจะเห็นได้ว่าเพียงเวลาไม่กี่วันหลังจากที่ทาง Apple ปล่อยอัพเดทระบบปฎิบัติการ iOS 8 ออกมา ก็มีผู้ใช้จำนวนมากต่างพากันอัพเดทระบบปฎิบัติการของตัวเองไปเป็นเวอร์ชัน ล่าสุดกันแล้วครับ

ในขณะที่ทางฝั่งของระบบปฎิบัติการ Android นั้นด้วยความที่มีผู้ผลิตมากมาย และแต่ละอุปกรณ์ก็มีความแตกต่างทางด้านสเปคเรียกได้ว่ามากมายเต็มไปหมด ทำให้การอัพเดทซอฟต์แวร์ระบบปฎิบัติการ Android นั้นเป็นไปด้วยความล่าช้า โดยจะกินเวลา 3 - 9 เดือนหลังจากที่ Google เปิดตัวอัพเดทซอฟต์แวร์ระบบปฎิบัติการเวอร์ชันใหม่ออกมาครับ(หรือบางทีก็ลอย แพกันไปเลย) ผู้ใช้ถึงจะได้รับอัพเดท

หมายเหตุ - จะเว้นก็แต่ผลิตภัณฑ์ในซีรีส์ Nexus ครับที่เพียงแค่ไม่กี่วันหลังจากที่ทาง Google ประกาศอัพเดทออกมาอย่างเป็นทางการก็จะได้รับการอัพเดทตัวระบบปฎิบัติการกัน แล้วครับ

ความปลอดภัย

เรื่องสุดท้ายแต่ยังไม่ท้ายสุดกับเรื่องของความปลอดภัยที่คงไม่มีใครเถียงครับว่า ระบบปฎิบัติการ iOS นั้นทำได้ดีกว่าระบบปฎิบัติการ Android มาแต่ไหนแต่ไรแล้ว แต่ทว่าอย่างไรก็ตามแต่ทั้ง 2 ระบบปฎิบัติต่างนั้นต่างก็ยังคงสามารถที่จะถูกเจาะข้อมูลและเข้าไปทำการปรับ แต่งระบบได้อยู่เหมือนกันครับ(โดยทาง Android นั้นจะโดนเจาะง่ายกว่ากันมาก)

iOS-security-520x693

ถึงกระนั้นทั้งทาง Apple และ Google ต่างก็ไม่หยุดความพยายามในการเพิ่มความปลอดภัยให้กับระบบปฎิบัติการของตัว เองครับ โดยในส่วนของระบบปฎิบัติการ iOS นั้นมีความปลอดภัยดีมากจนกระทั่งรัฐบาลของสหรัฐอเมริกาเลือกใช้อุปกรณ์ของ ระบบปฎิบัติการ iOS ในการใช้งาน(ซึ่งประเทศไทยเองนั้นบางหน่วยงานก็ใช้อุปกรณ์ของระบบปฎิบัติการ iOS เช่นเดียวกันครับ)

หมายเหตุ - นอกจากนั้นระบบสแกนลายนิ้วมือ Touch ID ของทาง Apple ก็ถือได้ว่าเป็นระบบป้องกันความปลอดภัยทางชีวภาพที่ดีที่สุดสำหรับอุปกรณ์ เคลื่อนที่ในปัจจุบันก็ว่าได้ครับ

Google เริ่มตามมาเรื่อยๆ

ถึงแม้ว่าจะยังคงเป็นผู้ตามในเรื่องของความปลอดภัยทว่าระบบปฎิบัติการ Android นั้นก็ตีตื้นเข้ามาเรื่อยๆ ครับ จากเมื่อก่อนที่เคยมีปัญหามัลแวร์ถูกปล่อยแม้กระทั่งโหลดแอปพลิเคชันผ่าน Google Play Store แต่ในปัจจุบันนั้นได้มีการป้องกันในส่วนนี้แล้วด้วยการสแกนตัวแอปพลิเคชัน ก่อนที่จะมีการปล่อยออกมาให้ผู้ใช้ได้ดาวน์โหลดครับ(Apple ทำมาก่อนนานแล้วในเรื่องนี้ครับ)

หมายเหตุ - แต่ถ้าคุณเป็นคนที่เปลี่ยน ROM บ่อยๆ แล้วลงแอปพลิเคชันด้วยวิธีลงผ่านไฟล์ APK ที่มีที่มาผิดกฎหมายนั้นเรื่องนี้ทาง Google ก็ไม่สามารถที่ป้องกันให้คุณได้นะครับ

android-on-body-security-520x924

แต่เมื่อกลับมาถึงกับการป้องกันความปลอดภัยส่วนตัวของผู้ใช้แล้วพบว่าทางฝั่ง ระบบปฎิบัติการ Android จะทำได้ดีกว่าระบบปฎิบัติการ iOS ครับ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของการล๊อคที่มีหลากหลายให้เลือกใช้(จน Apple ต้องเอาไปใช้บ้างบน iOS) และความสะดวกสบายของการใช้งานที่มีมากกว่าเช่นสามารถที่จะปรับได้ว่าเมื่อ อยู่ในท่านอยู่ในท่านั่งให้ปลดล๊อคให้ทันที แต่ถ้าดูโดยรวมแล้วทางฝั่งระบบปฎิบัติการ iOS นั้นก็นำอยู่พอสมควรครับ

โลกของการกระจายระบบปฎิบัติการไปใช้งานในหลายๆ จอ

ท้ายที่สุดก็คือเรื่องของการขยายโลกของระบบปฎิบัติการทั้งสองครับ โดยในเรื่องนี้นั้นเราต้องยอมรับครับว่าทาง Google สามารถกระจายระบบปฎิบัติการ Android ไปสู่อุปกรณ์ได้หลากหลายมากกว่าไม่ว่าสมาร์ทโฟน, แท็บเล็ต รวมไปถึงสมาร์ทวอทช์ที่ใช้ Android Wear หรือ Android TV ยันรถยนต์อย่าง Android Auto ครับ

ส่วนทางด้าน Apple นั้นก็ตามมาแบบไม่แพ้กันครับ โดยนอกจากจะมีระบบปฎิบัติการ iOS ของสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตแล้ว ตอนนี้ก็มี Apple Watch ออกมาให้ได้สัมผัสและ CarPlay ที่จะตามออกมาในอีกไม่ช้านี้ เรียกได้ว่าทั้ง 2 บริษัทนี้ต่างก็ผลัดกันรุก รับไม่ให้ฝ่ายใดเผลอได้เลยครับ

สรุป

ทั้งนี้ทั้งนั้นทั้ง 2 ระบบปฎิบัติการไม่ว่าจะเป็น Android หรือ iOS นั้นต่างก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไปครับ แน่นอนว่าทั้ง 2 บริษัทคงไม่หยุดที่จะทำการพัฒนาตัวระบบปฎิบัติการให้มีความก้าวหน้ามากขึ้น เพื่อมมาแข่งขันกัน และท้ายที่สุดแล้วผู้ที่จะได้ก็เป็นผู้ใช้งานอย่างเราๆ ท่านๆ นี่แหละครับที่จะได้ใช้งานสิ่งที่ดีขึ้นๆ ในทุกๆ ปีนั่นเองครับ

ที่มา : thenextweb

ขอบคุณเนื้อหา และภาพประกอบ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook