Computex 2015 : 9 นวัตกรรมฉลาดๆ จาก Intel

Computex 2015 : 9 นวัตกรรมฉลาดๆ จาก Intel

Computex 2015 : 9 นวัตกรรมฉลาดๆ จาก Intel
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

      ในงาน Computex 2015 กรุงไทเป ไต้หวัน Intel เผยโฉมผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นล่าสุดที่จะมอบประสบการณ์ใหม่ให้กับผู้ใช้งาน พร้อมจะช่วยสนับสนุนให้ผู้ประกอบการในวงการการประมวลผลสามารถต่อยอดสู่ธุรกิจโฉมใหม่ โดยนายเคิร์ก สกาวเก้น รองประธานอาวุโสและผู้จัดการทั่วไป กลุ่มธุรกิจพีซีของอินเทลกล่าวเปิดงานคอมพิวเท็กซ์ 2015 โดยได้เชิญชวนให้ผู้ประกอบการในไต้หวันเข้ามาทำงานร่วมกัน เพื่อคว้าโอกาสในการกำหนดทิศทางแห่งอนาคตของวงการคอมพิวเตอร์

นายเคิร์ก สกาวเก้น รองประธานอาวุโสและผู้จัดการทั่วไป กลุ่มธุรกิจพีซีของอินเทล

      นายสกาวเก้นกล่าวว่า "กฎของมัวร์เป็นพลังสำคัญที่ขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมคอมพิวเตอร์อันน่าอัศจรรย์มาแล้วกว่า 50 ปี และกฎนี้จะทำให้อุปกรณ์แทบทุกชนิดในอนาคตมีศักยภาพในการประมวลผลและเชื่อมต่อกับโลกออนไลน์ได้ ความร่วมมือระหว่างอินเทลและพันธมิตรในไต้หวันตลอดช่วง 30 ปีที่ผ่านมา เป็นที่มาของนวัตกรรมที่เปลี่ยนแปลงโลกมากมาย นับตั้งแต่คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลไปจนถึงคลาวด์และดาต้า เซ็นเตอร์ และสำหรับอีก 30 ปีข้างหน้านั้น เราพร้อมสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ล้ำสมัยยิ่งกว่าเดิม เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานคอมพิวเตอร์ในรูปแบบใหม่ ทั้งยังนำเสนอเทคโนโลยี Internet of Things ที่ทั้งชาญฉลาดและสอดประสานกับชีวิตได้เป็นอย่างดี"

      ในโอกาสนี้ นายสกาวเก้นได้เผยถึงวิสัยทัศน์แห่งอนาคตของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ พร้อมด้วยผลิตภัณฑ์และแพลตฟอร์มที่จะเปลี่ยนวิสัยทัศน์นี้ให้กลายเป็นความจริง และผนึกนวัตกรรมอัจฉริยะต่างๆ เข้ากับทุกด้านของชีวิต

      1. อินเทลได้ประกาศขยายกลุ่มผลิตภัณฑ์ตระกูล Intel IoT (Internet of things) Gateway ซึ่งการออกแบบล่าสุดที่เพิ่มขึ้นนี้ จะรองรับชิปประมวลผลและซอฟต์แวร์ที่กว้างขวางขึ้น รวมถึงเกตเวย์ที่ใช้โปรเซสเซอร์ในตระกูลอินเทล คอร์TM และแพลตฟอร์มอุปกรณ์อัจฉริยะ Wind River Intelligent Device Platform XT 3 ทั้งยังมีรูปแบบแพ็คเกจที่เป็นทางเลือกที่หลากหลายมากขึ้นเพื่อรองรับการใช้งานโดยที่ไม่ต้องลงทุนสูง

      2. นอกจากนี้ ฮาร์ดแวร์ที่พัฒนาขึ้นภายใต้มาตรฐาน Intel IoT Gateway นี้ ยังรองรับระบบปฏิบัติการ Ubuntu Snappy Core จาก Canonical เพิ่มเติมเป็นอีกหนึ่งทางเลือก นอกเหนือจากระบบปฏิบัติการของ Microsoft และ Wind River ที่เดิมรองรับอยู่แล้ว

      3. สำหรับโซลูชั่น IoT ที่พร้อมใช้งานทันที โดยเฉพาะในธุรกิจค้าปลีกและบริการทางการแพทย์ อินเทลก็ได้เปิดตัวโปรเซสเซอร์ในตระกูล Intel Pentium, Intel Celeron and Intel Atom (อินเทล เพนเทียม , อินเทล เซเลรอน และอินเทล อะตอม ) รุ่นใหม่ ที่มีสมรรถนะด้านกราฟฟิกสูงแต่ใช้พลังงานต่ำ ทั้งยังปรับแต่งมาเป็นพิเศษเพื่อการใช้งานในรูปแบบ IoT โดยจะมีการผลิตเพื่อรองรับการใช้งานตลอดระยะเวลา 7 ปีข้างหน้านี้

      4. อินเทลได้เปิดตัวโซลูชั่น อินเทล ยูไนต์TM (Intel Unite)

      เพื่อตอบสนองความต้องการของภาคธุรกิจในด้านการติดต่อสื่อสาร ประสานงาน และการประชุม ให้ทั้งสะดวกสบาย มีประสิทธิภาพ และคุ้มค่ายิ่งขึ้น ด้วยโซลูชั่นนี้ ห้องประชุมแบบเดิมๆ จะสามารถยกระดับขึ้นเป็นห้องประชุมออนไลน์อัจฉริยะที่มีระบบรักษาความปลอดภัยอย่างแข็งแกร่ง เพียงติดตั้งคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่ใช้ชิปประมวลผล อินเทล คอร์TM วีโปรTM (Intel Core vPro ) พร้อมด้วยแอพพลิเคชั่น Intel Unite บนอุปกรณ์ต่างๆ เท่านั้น

      5. เทคโนโลยี ธันเดอร์โบลท์TM (Thunderbolt)

      ก้าวล้ำไปอีกขั้นด้วยมาตรฐานธันเดอร์โบลท์ 3 ที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถใช้พอร์ทเพียงช่องเดียวในการเชื่อมต่อกับทั้งอุปกรณ์ธันเดอร์โบลท์ จอแสดงผลทุกรูปแบบ และอุปกรณ์ USB นับล้านชิ้น ด้วยสายเคเบิลเพียงเส้นเดียวที่ถ่ายโอนข้อมูลได้เร็วกว่าสายเคเบิลมาตรฐานอื่นถึง 4 เท่าตัว รองรับแบนด์วิธวิดีโอสูงกว่าถึง 2 เท่า และยังทำหน้าที่จ่ายพลังงานได้อีกด้วย ทั้งหมดนี้ทำให้ Thunderbolt 3 รองรับการใช้งานได้หลายรูปแบบ ทั้งวิดีโอความละเอียดระดับ 4K ฐานเชื่อมต่ออุปกรณ์ที่ชาร์จไฟได้ กราฟฟิกการ์ดแบบติดตั้งภายนอกเครื่อง และการเชื่อมต่อเครือข่ายระดับ 10GbE ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยี Thunderbolt 3 จะเริ่มวางจำหน่ายในช่วงสิ้นปี 2558 นี้เป็นต้นไป

      6. โปรเซสเซอร์ในตระกูลอินเทล คอร์ เจนเนอเรชั่น 5 รุ่นล่าสุดในวันนี้จะมีชิปประมวลผลซ็อกเก็ต LGA สำหรับเครื่องเดสก์ท็อปรุ่นแรกที่มาพร้อมกับหน่วยประมวลผลกราฟฟิกและมัลติมีเดียที่ทรงพลังที่สุดของอินเทลอย่าง ไอริสTM โปร (Irs Pro) โดยค่า TDP ที่ลดระดับลงมาอยู่ที่ 65 วัตต์ จะช่วยให้คอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กและบางเบา เช่นเครื่องมินิพีซีหรือออลอินวัน มีสมรรถนะที่สูงเทียบเท่าพีซีขนาดใหญ่ ประมวลผลภาพกราฟฟิกสามมิติได้เร็วขึ้นสูงสุด 2 เท่าตัว แปลงไฟล์วิดีโอได้เร็วขึ้นร้อยละ 35 และจัดการกับงานคิดคำนวณต่างๆ ได้เร็วขึ้นร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับชิปประมวลผลในรุ่นก่อน หน้า1

      7. นอกจากนี้อินเทลยังได้เปิดตัว โปรเซสเซอร์ในตระกูล Intel Core Generation 5 สำหรับอุปกรณ์พกพาและ IoT ที่มีหน่วยประมวลผลกราฟฟิก Intel Iris Pro เช่นกัน เพื่อให้คอเกมและนักสร้างสรรค์คอนเทนท์มืออาชีพสามารถทำงานและเล่นสนุกได้ทุกที่ ด้วยโปรเซสเซอร์ที่ทรงพลังด้วยหน่วยประมวลผลกราฟฟิก Iris Pro 6200 ซึ่งมีสมรรถนะการทำงานคิดคำนวณและงานกราฟฟิกสามมิติสูงกว่ารุ่นก่อนหน้าถึง 2 เท่าตัว2 นอกจากนี้ ชิปรุ่นล่าสุดนี้ยังเหมาะกับอุปกรณ์ IoT ที่ใช้งานในเชิงการแพทย์ งานโยธาธิการ และภาคอุตสาหกรรม ด้วยคุณสมบัติเด่นมากมายสำหรับแพลตฟอร์ม IoT ทั้งการรองรับหน่วยความจำแบบ ECC และเทคโนโลยี อินเทล วีโปรTM (Intel vPro) โดยจะมีการผลิตเพื่อรองรับการใช้งานตลอดระยะเวลา 7 ปีข้างหน้า

      8.อินเทลและทาร์กัส ประกาศความร่วมมือเพื่อยกระดับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์แบบไร้สายด้วยการร่วมพัฒนาอุปกรณ์ชาร์จแบตเตอรี่แบบไร้สายภายใต้มาตรฐาน Rezence นอกจากนี้ อินเทลยังมีข้อตกลงกับบริษัท ไฮเออร์ จากประเทศจีน เพื่อติดตั้งระบบชาร์จไร้สายในร้านอาหาร โรงแรม ร้านกาแฟ และสนามบินทั่วประเทศจีนในปีนี้ ส่วนองค์กรที่เป็นสมาชิกกลุ่ม A4WP (Alliance for Wireless Power) อย่าง Foxconn Interconnect Basecom BYD และ Primax ก็ตกลงร่วมมือกับ อินเทลเพื่อเปิดตัวระบบชาร์จไร้สายออกสู่ตลาดภายในปีนี้เช่นกัน

      9. อินเทลได้เปิดตัวโปรเซสเซอร์รุ่นใหม่ในตระกูล Intel Xeon processor E3-1200 v4 (อินเทล ซีออน E3-1200 v4) ซึ่งเป็นโปรเซสเซอร์ในตระกูลซีออนรุ่นแรกๆ ที่มาพร้อมกับหน่วยประมวลผลกราฟฟิก Intel Iris Pro P6300 ชิปในซีรีส์นี้ใช้สถาปัตยกรรมแบบ 14 นาโนเมตร และออกแบบมาเพื่อรองรับการทำงานประเภทกราฟฟิกและคลาวด์อย่างเต็มรูปแบบ เช่นการแปลงสัญญาณวิดีโอความละเอียดสูง หรือการเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับทำงานในการทำงานแบบทางไกล โดยมีสมรรถนะในการแปลงสัญญาณวิดีโอและการทำงานกราฟฟิก 3-D สูงกว่าชิปรุ่นก่อนหน้าสูงสุดราว 1.43 และ 1.84 เท่าตัวตามลำดับ

สนับสนุนเนื้อหา: aripfan.com

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook