หุ่นยนต์สำรวจ”ฟุคุชิมา” “ตาย”เพราะกัมมันตภาพรังสี

หุ่นยนต์สำรวจ”ฟุคุชิมา” “ตาย”เพราะกัมมันตภาพรังสี

หุ่นยนต์สำรวจ”ฟุคุชิมา” “ตาย”เพราะกัมมันตภาพรังสี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

   ความพยายามเพื่อการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ในโรง ไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ฟุคุชิมา ไดอิจิ ของบริษัทการไฟฟ้าโตเกียวหรือเทปโก ในจังหวัดฟุคุชิมา ประเทศญี่ปุ่น ยังไม่คืบหน้าไปกี่มากน้อยในช่วง 5 ปี หลังจากเกิดเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิที่เกิดจากแผ่นดินไหวรุนแรงขนาด 9.0 ตามมาตราริกเตอร์ ถล่มแนวชายฝั่งด้านตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศและทำให้เตาปฏิกรณ์ 4 เตาของโรงไฟฟ้าแห่งนี้เกิดเสียหาย กัมมันตภาพรังสีรั่วไหลออกมา

   ความพยายามในการจัดการกับแหล่งที่มาของกัมมันตภาพรังสี ซึ่งโดยหลักคือแท่งเชื้อเพลิงที่เก็บไว้และใช้งานอยู่ในแต่ละเตา สามารถดำเนินการไปได้เพียงแค่ 10 เปอร์เซ็นต์ของความเสียหายต่างๆ ที่จำเป็นต้องจัดการให้เรียบร้อยก่อนที่จะปิดผนึกพื้นที่เหล่านี้เป็นการ ถาวรต่อไป

   รายงานล่าสุดจากสถาบันวิจัยนานาชาติเพื่อการยุติการดำเนิน การโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ระบุว่า ความพยายามในการทำความสะอาดภายในเตาปฏิกรณ์ต้องชะลอช้าลง เพราะปริมาณกัมมันตภาพรังสีภายในสูงมาก ขนาดที่ทำให้หุ่นยนต์ที่จัดสร้างเป็นพิเศษ สำหรับเข้าไปปฏิบัติการนำแท่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ออกมาจัดเก็บอย่างปลอดภัย ถึงกับ “ตาย” เพราะการแผ่รังสีสูงเสียจนแผงวงจรต่างๆ ของหุ่นยนต์ไหม้จนหมด และส่งผลให้ทางเทปโกเกิดลังเลไม่แน่ใจว่าวิธีการที่ใช้อยู่ในเวลานี้เหมาะสม หรือไม่

   ตามรายงานของสถาบันหุ่นยนต์ซึ่งทางเทปโกว่าจ้างให้บริษัทโตชิ บา จัดสร้างเป็นพิเศษเพื่อปฏิบัติการครั้งนี้ ประสบความสำเร็จในการเคลื่อนย้ายแท่งเชื้อเพลิงใช้แล้ว 1,535 แท่งออกจากเตาปฏิกรณ์หมายเลข 4 ได้ก่อนที่จะตายไปเพราะกัมมันตภาพรังสี อย่างไรก็ตาม เตาปฏิกรณ์หมายเลข 4 เป็นจุดที่มีระดับกัมมันตภาพรังสีอยู่ในระดับต่ำที่สุดในบรรดาเตาปฏิกรณ์ที่ เกิดปัญหาทั้งหมด ทำให้ปฏิบัติงานได้ง่ายกว่า ในขณะที่ความพยายามทำนองเดียวกันกับเตาปฏิกรณ์หมายเลข 3 กลับไม่เป็นผลเพราะระดับกัมมันตภาพรังสีสูงเกินกว่าที่หุ่นยนต์จะทนทานได้

   ผู้เชี่ยวชาญคาดว่าเตาปฏิกรณ์หมายเลข 2 กับหมายเลข 3 นั้นเกิดหลอมละลายภายในเพียงบางส่วน ปัญหาหนักที่สุดในเวลานี้คือที่เตาปฏิกรณ์หมายเลข 1 ซึ่งเชื่อกันว่าเชื้อเพลิงในเตาเกิดปฏิกิริยาขึ้นอย่างรุนแรงเมื่อระบบระบาย ความร้อนของเตามีปัญหา ความร้อนสูงที่เกิดขึ้นหลอมส่วนที่เป็นห้องความดันจนละลาย แท่งเชื้อเพลิงตกไปยังส่วนพื้นของห้องควบคุม ทำให้พื้นดังกล่าวละลายต่ออีกชั้น และแท่งเชื้อเพลิงหลุดลงไปอยู่กับพื้นคอนกรีต หรือไม่ก็อาจจะอยู่ภายนอกของพื้นคอนกรีตที่อาจได้รับความเสียหายจากแผ่นดิน ไหวด้วยซ้ำไป

   เทปโกยังไม่สามารถส่งหุ่นยนต์ตัวใหม่เข้าไปทำงานต่อ เพิ่มเติม เนื่องจากหุ่นยนต์แต่ละตัวเป็นหุ่นยนต์ที่สร้างขึ้นเพื่อให้เหมาะสมกับการทำ งานในแต่ละจุด และแต่ละตัวต้องใช้เวลานานถึง 2 ปี จึงสามารถสร้างแล้วเสร็จ และไม่มีหุ่นยนต์สำรองหลงเหลืออยู่ในเวลานี้ นอกเหนือจากนั้น ยังมีข้อเท็จจริงที่ว่าเทคโนโลยีในปัจจุบันยังไม่สามารถสร้างหุ่นยนต์ที่ สามารถทนทานต่อสภาพกัมมันตภาพรังสีสูงๆ ได้อีกด้วย

   เทปโกยอมรับว่า อย่างเร็วที่สุดสำหรับปฏิบัติการทำความสะอาดพื้นที่เกิดเหตุอย่างจริงจัง กว่าจะเริ่มได้ก็น่าจะเป็นในปี 2021 หรืออีก 5 ปีข้างหน้าและน่าจะใช้เวลาระหว่าง 30-40 ปี จึงแล้วเสร็จสมบูรณ์

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook