แนะเกร็ดดูแลเหล่าเทรนเนอร์ Pokemon ตัวน้อย เล่นอย่างไรให้ปลอดภัย

แนะเกร็ดดูแลเหล่าเทรนเนอร์ Pokemon ตัวน้อย เล่นอย่างไรให้ปลอดภัย

แนะเกร็ดดูแลเหล่าเทรนเนอร์ Pokemon ตัวน้อย เล่นอย่างไรให้ปลอดภัย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

   ถึงตอนนี้ทุกคนคงรู้จักและเริ่มคุ้นเคยกับกระแสเกมโมบายที่เป็นประเด็นร้อนอย่าง Pokémon Go กันแล้ว ไม่นานหลังการเปิดตัวในหลายๆ ประเทศ ยูสเซอร์หรือที่เรียกตัวเองว่า “เทรนเนอร์” ก็ออกเดินทั่วถนนหนทาง ไปตามสถานที่ต่างๆ เพื่อไลล่าโปเกม่อน

ภาพหน้าจอเกม Pokémon Go ถ่ายที่บริษัท แคสเปอร์สกี้ แลป สำนักงานใหญ่ ประเทศรัสเซีย

   กระแสข่าวเกี่ยวกับเกมนี้ก็มีเยอะมาก อินเทอร์เน็ตเต็มไปด้วยเนื้อหาตามเว็บไซต์บันเทิง ข่าว โซเชียลมีเดีย ต่างพากันลงข้อมูลเกี่ยวกับเกม วิธีการเล่น เคล็ดลับ เรื่องราวเหตุการณ์ต่างๆ ที่ยูสเซอร์เจอ รวมถึงภัยคุกคามอันตรายขณะเล่นเกม ผู้เชี่ยวชาญของแคสเปอร์สกี้ แลป เองก็ได้นำเสนอบทความแนะนำการเล่นเกมนี้อย่างปลอดภัยไปแล้วเช่นกัน

   แต่บทความนี้ แคสเปอร์สกี้ แลป จะขอนำเสนอเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับลูกหลานและเด็กๆ ใกล้ตัวที่เล่นเกมนี้

ภัยอันตรายที่แท้จริงสำหรับเหล่าเทรนเนอร์ตัวน้อย

   ผู้ปกครองต่างกังวลใจมากขึ้นเมื่อเกม Pokémon Go เปิดตัว นอกเหนือไปจากความกังวลเรื่องเด็กๆ จะติดเกมมากเกินไปแล้ว เรื่องสำคัญที่สุดคือ สิ่งที่เด็กๆ อาจจะพบเจอขณะที่ออกตามหาโปเกม่อนนอกบ้าน

#1 ภัยอันตรายที่ 1 การป้องกันตัวเองในชีวิตจริงลดลง

   เมื่อเปิดเกม จะมีข้อความแจ้งเตือนให้ยูสเซอร์ระแวดระวังรอบตัวขณะเล่นเกม



 ทำไมผู้พัฒนาเกมต้องแจ้งเตือนยูสเซอร์เรื่องนี้

   ลองจินตนาการว่าคุณต้องเดินรอบหมู่บ้านและใช้แอพพลิเคชั่นระบบนำทางด้วยดาวเทียม เพื่อดูว่าคุณกำลังจะเดินไปที่ไหน การเดินพร้อมๆ กับการก้มดูแอพตลอดเวลาเพื่อให้แน่ใจว่ากำลังเดินถูกทาง เป็นการลดทอนความสนใจต่อสิ่งรอบตัว ลองตอบตัวเองสิว่า คุณเดินสะดุดทางเท้าหรือลืมมองทางเมื่อจะข้ามถนนบ่อยแค่ไหน

   ทีนี้ลองจินตนาการเพิ่มว่า เจ้าโปเกมอนที่แสนจะดึงดูดกำลังโผล่มาทางนู้นทีทางนี้ที และภารกิจของเกมก็คือ “คุณต้องจับโปเกม่อนทั้งหมดนั่นให้ได้” ถึงแม้ว่าแอพนำทางจะทำให้ไขว้เขวและละความสนใจต่อสิ่งรอบตัวแล้ว ก็ไม่ได้หมายความให้ยูสเซอร์หมกมุ่นเต็มร้อยกับเกมในโลกเวอร์ช่วล

   ยกตัวอย่างชัดๆ ก็คือ ในการจับโปเกม่อน ยูสเซอร์ต้องแกะรอยมัน การแกะรอยจะต้องมองที่เรดาร์บนหน้าจอที่จะแสดงระยะห่างของยูสเซอร์กับโปเกม่อน การจดจ่ออยู่ที่หน้าจอพร้อมใจระทึกขณะจับโปเกม่อน ทำให้ยูสเซอร์เสียการควบคุมตัวเองสู่โลกเกม แต่สิ่งแวดล้อมรอบตัวคุณคือเรื่องจริง ภัยอันตรายรอบตัวคุณคือของจริง ซึ่งมีกรณีที่ยูสเซอร์ถูกรถชนขณะเล่นเกมนี้เกิดขึ้นแล้ว

   ทั้งนี้ผู้พัฒนาเกมเองก็ได้คิดวิธีการแก้ปัญหานี้ จึงได้วางแผนเปิดตัวดีไวซ์พิเศษ เป็นสายรัดข้อมือบลูทูธที่จะสั่นแจ้งเตือนความเคลื่อนไหวในเกม เมื่อเข้าใกล้โปเกมอน จุด PokéStop หรือ Gym สายรัดข้อมือนี้จะช่วยให้จับโปเกม่อนได้ง่ายขึ้นเพียงแค่กดปุ่มเดียว วิธีการนี้จะช่วยให้ไม่ต้องมองหน้าจอตลอดเวลา เป็นการลดความหมกมุ่นของเหล่าเทรนเนอร์ได้ระดับหนึ่ง

#2 ภัยอันตรายที่ 2 สถานที่อันตราย

   แม้แต่ในตัวเอมืองเองก็ยังมาถนที่อันตรายอยู่มากมาย ทั้งบ้านร้าง ถนนมืดไร้ไฟทาง หรือย่านมิจฉาชีพชุกชุม เด็กๆ ที่หมกมุ่นอยู่หน้าเกมเต็มที่อาจเดินหลงเข้าไปในสถานที่เหล่านั้นได้ โชคร้ายที่อาจไม่ได้เจอโปเกมอนหายาก แต่จะเจอคนร้ายแทน

   นอกจากนี้ เด็กๆ อาจจะเป็นอันตรายแม้ไม่ได้เข้าไปในสถานที่อันตราย ในสหรัฐอเมริกา มีเหตุการณ์ผู้ชายยิงปืนใส่วัยรุ่นที่แอบมาจอดรถใกล้บ้านเขาตอนกลางคืนเพื่อล่าโปเกมอน

   สถานที่บางแห่งมีมาตรการป้องกันเข้มงวดเพื่อป้องกันไม่ให้ยูสเซอร์ผ่านเข้าไปได้ แต่ในท้ายที่สุดแล้ว ยูสเซอร์ต่างหากที่ควรเข้าใจว่าสถานที่บางแห่งก็ไม่เหมาะกับการเข้าไปจับโปเกม่อน

#3 ภัยอันตรายที่ 3 หลงทางในโลกแห่งความจริง

   ประเด็นข้อนี้คือ แผนที่เกม Pokémon Go ก็คือแผนที่ Google ฉบับย่อนั่นเอง ดังนั้นถนนและอาคารต่างๆ ก็จะไม่มีชื่อกำกับบอกไว้ เด็กๆ ที่หมกหมุ่นกับเกมมากๆ อาจะเดินหลงไปถนนที่ไม่คุ้นเคยและหลงทางได้ในท้ายที่สุด
 
หนทางแก้ปัญหา

   พ่อแม่ผู้ปกครองทุกคนต้องไม่อยากให้ลูกหลานเอาชีวิตจริงไปแลกกับชีวิตออนไลน์ที่หมกมุ่นแต่กับการเล่นเกมหน้าคอมพิวเตอร์แบบไม่หยุดพัก หากมองจากประเด็นนี้ เกม Pokémon Go ก็คือเกมที่พ่อแม่น่าจะเฝ้ารอ เพราะเด็กๆ ได้ออกไปนอกบ้านเพื่อล่าโปเกม่อน ได้เดินไปตามจุด PokéStop เพื่อเก็บไอเท็ม และร่วมทีมกับยูสเซอร์อื่นเพื่อต่อสู้แย่ง Gym แต่ทั้งนี้ เด็กๆ ก็จะถูกดึงดูดเข้าไปในเกมเหมือนกันเพียงแต่คราวนี้ เด็กๆ ออกมาเล่นนอกบ้านแทน

   ดังนั้นพ่อแม่ผู้ปกครองจะต้องดูแลลูกหลานของตนเองทั้งในโลกจริงและโลกออนไลน์ ปัจจุบัน มีโปรแกรมที่ออกแบบมาเพื่อช่วยเหลือผู้ปกครองในการดูแลความปลอดภัยไซเบอร์ของเด็กๆ ตัวอย่างเช่น “Safe Kids” ของแคสเปอร์สกี้ แลป ที่จะช่วยบอกตำแหน่งที่อยู่ของเด็กๆ ขณะที่เล่น Pokémon Go ได้

   การหาตำแหน่งง่ายๆ เพียงแค่เปิดฟีเจอร์ ‘Where is my kid?’ จากแอ็คเคาท์ my.kaspersky.com หรือจากแอพ Safe Kids ในโมบายดีไวซ์


   จากนั้นตั้งค่าการค้นหาตำแหน่งที่ตัวเลือก “Where is my kid?” จากนั้นตั้งค่าอาณาเขตสำหรับให้เด็กเดินไปเดินมา เช่น สวนสาธารณะแถวบ้าน (ในสวนมีโปเกม่อนจำนวนมากเลยล่ะ) และตั้งเวลาค้นหาได้ด้วย ดังนั้น หากเด็กๆ ออกนอกอาณาเขตที่กำหนด ผู้ปกครองก็จะได้รับการแจ้งเตือนพร้อมแจ้งตำแหน่งที่อยู่ปัจจุบันด้วย

   ในแง่มุมของการเล่นเกม Pokémon Go นั้น เกมนี้ปลอดภัยสำหรับเด็ก เพราะไม่มีเนื้อหาความโหดร้ายรุนแรง แต่ด้วยความล้ำหน้าของเกมที่กำหนดให้ยูสเซอร์ต้องออกไปเล่นนอกบ้าน จึงอาจกลายเป็นข้อเสียได้ แต่ในอีกมุมหนึ่ง ผู้ปกครองก็สามารถทำให้เกมนี้ปลอดภัยสำหรับเด็กๆ ได้เช่นกัน

   ดังนั้นจึงขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้ปกครอง แคสเปอร์สกี้ แลป เพียงมุ่งหวังให้ผู้ปกครองตระหนักและระมัดระวังถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นและเตรียมวิธีการป้องกันที่จำเป็น

ขอบคุณที่มา: แคสเปอร์สกี้ แลป



แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook