ผลสำรวจเผยนักช้อปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใช้ Android มากกว่า iOS 3 เท่าตัว

ผลสำรวจเผยนักช้อปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใช้ Android มากกว่า iOS 3 เท่าตัว

ผลสำรวจเผยนักช้อปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใช้ Android มากกว่า iOS 3 เท่าตัว
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ผลสำรวจจากบริษัทวิจัย Criteo ระบุว่านี่คือครั้งแรกที่พบว่า 25% ของผู้ค้าปลีกออนไลน์ชั้นนำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยอมรับว่ายอดขายเกินครึ่งมาจากอุปกรณ์พกพา ประวัติการณ์นี้สะท้อนว่าเหล่าแบรนด์ไม่สามารถมองข้ามแพลตฟอร์มโมบายล์ไปได้ เพราะวันนี้อุปกรณ์โมบายคือเส้นทางหลักที่ผลักดันยอดขายของอีคอมเมิร์ซเรียบร้อยแล้ว

หากพิจารณาเป็นรายพื้นที่ Criteo ให้รายละเอียดไว้ในรายงานเรื่อง 1H 2016 State of Mobile Commerce Report ว่าโมบายล์เป็นช่องทางของการทำธุรกรรมซื้อขายหรือทรานแซกชัน (transaction) กว่า 60% ของทรานแซกชันรวมอีคอมเมิร์ซในไต้หวัน ถือว่าสูงกว่า 54% ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

0_0_750_0_70_campaign-asia_content_Screen Shot 2016-10-20 at 2.14.52 pm

เมื่อเทียบข้อมูลจากผู้ค้าปลีกออนไลน์ในภาพรวม สัดส่วนของทรานแซกชันอีคอมเมิร์ซจากอุปกรณ์โมบายล์นั้นเพิ่มขึ้นราว 19% (year-on-year) จุดนี้ในรายงานระบุว่าผู้ค้าปลีกที่สามารถพัฒนาให้นักช้อปสามารถใช้บริการได้ง่ายบนสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต ย่อมจะสามารถเพิ่มทรานแซกชันยิ่งขึ้นอีกในช่วงเทศกาลจับจ่ายปลายปีนี้

Yvonne Chang กรรมการผู้จัดการ Criteo ภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก อธิบายว่าความแพร่หลายและอิทธิพลของโมบายล์คอมเมิร์ซในเอเชียนั้นมีการพัฒนาขยายผลชัดเจนในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ปัจจัยสำคัญคือประชาชนในตลาดที่ได้ชื่อว่า “developed markets” นั้นมีอัตราการใช้งานอุปกรณ์โมบายล์สูง ทั้งฮ่องกง ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และไต้หวัน จนเทรนด์เริ่มขยายตัวครอบคลุมพื้นที่ประเทศอย่างอินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และเวียดนามซึ่งได้ชื่อว่าเป็นตลาด “mobile-first” หรือ “mobile-only” ในขณะนี้

ผลการสำรวจล่าสุดในเอเชียแปซิฟิกนี้ทำให้ประวัติศาสตร์ต้องบันทึกว่า นี่คือครั้งแรกที่สมาร์ทโฟนคือเส้นทางนำทรานแซกชันอีคอมเมิร์ซส่วนใหญ่ของทุกตลาดหลักทั่วโลก โดยในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก ผู้นำในตารางคือญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และไต้หวัน ซึ่งหากมองเฉพาะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินโดนีเซียคือผู้นำเพราะเป็นพื้นที่ที่มีโมบายล์ทรานแซกชันมากที่สุดกว่า 83%

ความน่าสนใจอีกจุดของรายงานนี้คือข้อสังเกตว่าผู้ค้าปลีกในอาเซียนควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาแอพพลิเคชันของตัวเองให้รองรับ Google Play มากกว่า Apple App Store เพราะในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อุปกรณ์ที่นักช้อปนิยมใช้มากที่สุดคืออุปกรณ์แอนดรอยด์ (Android) คิดเป็นสัดส่วนมากกว่าอุปกรณ์ของ Apple มากกว่า 3 เท่าตัว

0_0_750_0_70_campaign-asia_content_Screen Shot 2016-10-20 at 2.15.15 pm

ความนิยมในแอนดรอยด์นี้ถือว่าสวนทางกับกระแสโลก ซึ่งการสำรวจส่วนใหญ่พบว่าการช้อปปิ้งมักเกิดบนอุปกรณ์ของ Apple

จากผลสำรวจนี้ทำให้เราคิดได้เลยว่า จากสมัยก่อนเวลาจะ launch app อะไรก็ต้อง iOS ก่อนนั้น สงสัยต้องกลับมาคิดใหม่กันเสียแล้วล่ะ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook