เผยแนวคิด Facebook สร้าง “ความสุข” ให้พนักงานอย่าง “ยั่งยืน”

เผยแนวคิด Facebook สร้าง “ความสุข” ให้พนักงานอย่าง “ยั่งยืน”

เผยแนวคิด Facebook  สร้าง “ความสุข” ให้พนักงานอย่าง “ยั่งยืน”
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

 

Mike Hoefflinger อดีตหัวหน้าฝ่าย Global Business Marketing ของ Facebook ได้เคยกล่าวในหนังสือของตนที่มีชื่อว่า Becoming Facebook เกี่ยวกับการที่ Facebook สามารถรอดพ้นจากเหตุวิกฤติเมื่อปี 2012 จนกลายเป็นหนึ่งในบริษัทที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกได้อย่างน่าสนใจ

Mike Hoefflinger อดีตหัวหน้าฝ่าย Global Business Marketing ของ Facebook ปี 2009 – 2015

เมื่อปี 1999 หัวหน้าฝ่ายบุคลากรของ Facebook ชื่อว่า Lori Goler ได้ใช้หลักการบริหารทรัพยากรบุคลลจากหนังสือ First, Break All the Rules ที่สำรวจและศึกษาผู้จัดการ 80,000 คน จาก 400 บริษัท จนสรุปได้  4 ข้อสำคัญ ดังนี้

เลือกบุคคลากรที่มีความสามารถพิเศษ ไม่ใช่มีแค่ประสบการณ์หรือความมุ่งมั่นเท่านั้น กำหนดความสำคัญที่ผลลัพธ์ ไม่ใช่วิธีการ กระตุ้นพนักงาน โดยเน้นไปที่จุดแข็ง ไม่ใช่พยายามแก้ไขจุดอ่อน จัดหาตำแหน่งที่เหมาะสม ไม่ใช่เปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อย

Goler ได้มองว่า ข้อที่ 3 และ 4 นั้นสำคัญมาก เพราะบริษัทที่มีแนวคิดในการโฟกัสที่จุดแข็งของพนักงาน และมองข้ามจุดอ่อนไปได้นั้น จะเป็นแรงผลักดันให้พนักงานรู้สึกผูกพันกับตำแหน่งหน้าที่และบริษัท ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานและทำให้พนักงานอยากทำงานในบริษัทต่อไป

เมื่อนำแนวคิดดังกล่าวมาศึกษาและเปรียบเทียบเป็นค่าต่างๆ ได้ทำให้ทราบว่า เมื่อกลุ่มคนหรืองค์กรสามารถสร้างเงื่อนไขในการทำงานร่วมกันได้ ก็จะเกิดกระแสการทำงานร่วมกันหมุนเวียนไปทั้งระบบ ซึ่งเรียกว่า “กระแสสังคม” และ Facebook ก็มีจุดมุ่งหมายในการสร้างโลกที่เปิดกว้างมากขึ้นและเชื่อมโยงถึงทุกระดับชั้นของบริษัท

และสำหรับพนักงานในยุคสมัย อาจกล่าวได้ว่า

การได้รับความสนใจในตำแหน่งหน้าที่และประสบความสำเร็จในการทำงานนั้น เป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตที่ดี

แนวคิดนี้ ตอบโจทย์ Facebook หรือไม่ ?

Mark Zuckerberg ซีอีโอของ Facebook กับพนักงานที่สำนักงานของ Facebook ที่ Menlo Park

บริษัท Payscale ได้วิเคราะห์พนักงานในบริษัทเทคโนโลยีจำนวน 33,500 แห่งเมื่อปี 2015 และได้ตีพิมพ์ผลวิเคราะห์ในปี 2016 ว่า พนักงานของ Facebook มีระดับความพึงพอใจในการทำงานมากที่สุด (96%) และมีความเครียดน้อยที่สุด (44%) ในจำนวน 18 บริษัทเทคโนโลยีอับต้นๆที่ถูกนำมาศึกษา

อีกบริษัทหนึ่งที่มีผลวิเคราะห์ใกล้เคียงกันคือ Google ที่มีค่าความพึงพอใจของพนักงานน้อยกว่า 90% เล็กน้อย และ Apple ก็มีค่าพึงพอใจมากกว่า 70%

นอกจากนี้ เว็บไซต์ Glassdoor ยังได้ทำการสำรวจและพบว่า Facebook เป็น “บริษัทที่น่าจำงานมากที่สุด” เป็นอันดับที่ 2 โดยมีคะแนนอยู่ที่ 4.5 จาก 5 ดาว โดย 92% พนักงานทั้งหมด ได้แนะนำบริษัทให้กับเพื่อน, 92% พนักงานทั้งหมด มีแนวคิดด้านบวกต่ออนาคตของบริษัท และอีก 98% ของพนักงานทั้งหมด ยอมรับว่าความเป็นผู้นำของ Mark Zuckerberg ในฐานะซีอีโอ

สำหรับ Google อยู่ในอันดับที่ 4 และ Apple อยู่อันดับที่ 36

และจากการวิเคราะห์ของเว็บไซต์สมัครงาน Top Prospect เมื่อปี 2011 พบว่า Facebook ได้ดึงพนักงานมาจาก Apple มากกว่าที่ Apple จะดึงมาจาก Facebook ถึง 11 ครั้ง โดยมีความได้เปรียบมากกว่า Google ถึง 15:1 และมากกว่า Microsoft ถึง 30:1

แม้แต่ Quartz ก็ยังแสดงข้อมูลที่สำรวจมากจาก LinkedIn ว่า Microsoft, Google และ Apple ต่างก็ติด 5 อันดับแรกของบริษัทที่มีอดีตพนักงานได้ไปทำงานกับ Facebook  และในขณะเดียวกัน Facebook ก็ไม่เคยติด 5 อันดับแรกของบริษัทที่อดีตพนักงานไปทำงานกับ Microsoft, Google และ Apple เลย

แนวคิดการจัดการทรัพยกรบุคคลของ Goler นั้น ถูกสะท้อนออกมาในการแบ่งกันบริหารงานของ Mark Zuckerberg ซีอีโอของบริษัทที่จะเน้นด้านยุทธศาสตร์และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ส่วน Sheryl Sandberg ซีโอโอของบริษัท ก็จะเน้นด้านการโฆษณา ความสัมพันธ์กับบริษัทพันธมิตร, การสื่อสาร และนโยบายบริษัท

นี่เป็นตัวอย่างง่ายที่แสดงให้เห็นว่า Facebook สร้างสามารถเติบโตได้โดยเน้นการทำงานตามความถนัดของแต่ละบุคคล

ข้อมูลอ้างอิง :businessinsider

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook