ไทยติดโผ 10 ประเทศที่ใช้ "อิโมจิ" บนเฟซบุ๊กมากที่สุดในโลก

ไทยติดโผ 10 ประเทศที่ใช้ "อิโมจิ" บนเฟซบุ๊กมากที่สุดในโลก

ไทยติดโผ 10 ประเทศที่ใช้ "อิโมจิ" บนเฟซบุ๊กมากที่สุดในโลก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เนื่องในโอกาส "วันอิโมจิโลก" ที่ผ่านมา (17 ก.ค.) มาร์ค ซัคเกอร์เบิร์ก ได้โพสต์ภาพเผยถึง 10 อันดับ อิโมจิ ที่มีคนใช้บนเฟซบุ๊กมากที่สุดในโลก ผลปรากฏว่า อิโมจิหัวเราะทั้งน้ำตา มาเป็นอันดับ 1 ตามมาด้วย อิโมจิตาเป็นรูปหัวใจ อิโมจิส่งจูบ และอื่น ๆ โดยในแต่ละวันมีผู้ใช้อิโมจิบนเฟซบุ๊กเฉลี่ยถึงวันละ 60 ล้านครั้ง

10 อันดับ อิโมจิ ที่มีคนใช้บนเฟซบุ๊กมากที่สุดในโลก

ส่วน 10 ประเทศที่มีการใช้อิโมจิมากที่สุดนั้น ทางเฟซบุ๊กไม่ได้มีการจัดอันดับว่า ประเทศไหนใช้มากที่สุด แต่จากรูปนั้น มีด้วยกัน 10 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เม็กซิโก บราซิล อังกฤษ เยอรมนี ฝรั่งเศส อิตาลี สเปน อินโดนีเซีย และไทย โดยอิโมจิที่ชาวไทยนิยมใช้มากที่สุด คือ ยิ้มแฉ่งตาหยีเห็นฟัน สมกับ Land of Smile ส่วนชาวสเปนกับอิตาลีนั้นใจตรงกันคือชอบใช้อิโมจิส่งจูบ และเม็กซิโกกับบราซิลก็นิยมอิโมจิตาเป็นรูปหัวใจเหมือนกัน ส่วนชาวฝรั่งเศสชอบส่งอิโมจิตาวิงค์ให้กัน

10 ประเทศที่ใช้อิโมจิมากที่สุด

ขณะที่แอปพลิเคชั่น Messenger มีผู้ใช้อิโมจิเฉลี่ยในแต่ละวันสูงถึง 5,000 ล้านครั้ง และประเทศไทยก็เป็น 1 ใน 10 ประเทศที่ใช้อิโมจิมากที่สุด นั่นก็คือ หัวใจ หรือ มินิฮาร์ท ซึ่งอิโมจินี้ก็ฮิตติดอันดับในอังกฤษ และแคนาดา เช่นกัน ส่วนฝรั่งเศสศรรักปักอกมาแรงสุด และชาวอเมริกันและอินเดียชอบอกชอบใจ อิโมจิส่งจูบ มากที่สุด

10 ประเทศที่ใช้อิโมจิมากที่สุดบนเมสเซนเจอร์

และในโอกาสที่ภาพยนตร์แอนิเมชั่นเรื่อง The Emoji Movie กำลังจะเข้าฉายในวันที่ 28 กรกฎาคมนี้ในสหรัฐ (ประเทศไทยฉายวันที่ 31 ส.ค.) ทางเฟซบุ๊กได้ปล่อยสติกเกอร์ตัวละครในหนังสีสันสดใสให้ทุกคนได้ใช้กันอีกด้วย

ทั้งนี้ อิโมจิ มีต้นกำเนิดมาจากประเทศญี่ปุ่นในปี 1999 คิดค้นโดย นายชิเกตากะ คูริตะ (Shigetaka Kurita) วิศวกรคอมพิวเตอร์ของบริษัท NTT Docomo ผู้ให้บริการมือถือรายใหญ่ของญี่ปุ่น เพื่อสื่ออารมณ์ของการสื่อสารให้มีพลังและอารมณ์มากยิ่งขึ้น นอกจากการพิมพ์ตัวอักษรอย่างเดียว และยังช่วยลดการเข้าใจผิดหรือตีความสารที่ได้รับต่างกันด้วย โดยคำว่า อีโมจิ (Emoji) เป็นคำภาษาญี่ปุ่น แปลว่า อักษรภาพ เป็นการผสมคำระหว่างคำว่า e (絵) หมายถึง รูปภาพ และ moji (文字) หมายถึง ตัวอักษร นั่นเอง

ปัจจุบัน อิโมจิ นอกจากจะใช้ในการสื่อสารแล้ว ยังสามารถใช้เป็นสัญลักษณ์ทางด้านเชื้อชาติ วัฒนธรรม การเมือง รสนิยมทางเพศ หรือการแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ อีกด้วย เช่น อิโมจิที่มีสีผิวที่แตกต่างกัน อิโมจิที่สวมฮิญาบ อิโมจิธงชาติ อิโมจิชายรักชาย เป็นต้น

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook