เมื่อยุคสมาร์ทโฟน ปลายเป็นยุคที่วัยรุ่นสร้างความกดดันและฆ่าตัวตายมากขึ้น

เมื่อยุคสมาร์ทโฟน ปลายเป็นยุคที่วัยรุ่นสร้างความกดดันและฆ่าตัวตายมากขึ้น

เมื่อยุคสมาร์ทโฟน ปลายเป็นยุคที่วัยรุ่นสร้างความกดดันและฆ่าตัวตายมากขึ้น
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เราไม่สามารถบอกได้อย่างแน่ชัดว่า ยุคของสมาร์ทโฟนนั้น เริ่มขึ้นตั้งแต่เมื่อไหร่ บางคนก็บอกว่า ยุคสมาร์ทโฟน เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2007 เมื่อสตีฟ จ๊อบ ผู้บริหารระดับสูงและผู้ร่วมก่อตั้งแอปเปิล ได้เปิดตัวไอโฟนรุ่นแรกออกมา

แต่จริง ๆ แล้ว สมาร์ทโฟนมีมาก่อนการมาถึงของผลิตภัณฑ์อันเป็นที่เลื่องลือของแอปเปิลเสียอีก บางคนก็บอกว่า ยุคสมาร์ทโฟน เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 10 กรกฏาคม 2008 เมื่อมีการเปิดตัว แอพสโตร์ ของแอปเปิล เพราะแอพสโตร์นี้ ทำให้ผู้บริโภคเลือกหาสิ่งที่ตัวเองต้องการมาใส่ไว้ในโทรศัพท์ของตนเองได้อย่างง่ายดาย

สมาร์ทโฟน เปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตของผู้คน จนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งชีวิตประจำวันที่ขาดไม่ได้ แต่กลับมีรายงานจาก The Atlantic ว่า ผู้ที่โตขึ้นมาในยุคของสมาร์ทโฟน มีแนวโน้มเพิ่มข้นที่จะกลายเป็นผู้ที่มีความเก็บกด จนกระทั่งคิดที่จะฆ่าตัวตาย

ผู้เขียนรายงานนี้ Jean M. Twenge ระบุว่า ผู้ที่เกิดในช่วงปี 1995 ถึง 2012 เป็นกลุ่มที่เรียกว่า iGen เป็นกลุ่มคนที่ไม่เคยใช้ชีวิตโดยปราศจากอินเทอร์เน็ต คนพวกนี้ มีความกดดันมากกว่าคนในยุค Milliennial ซึ่งสาเหตุนั้นก็เป็นเพราะเครื่องมือที่พวก iGen ใช้ คือสมาร์ทโฟนนั่นเอง

ปัญหาส่วนหนึ่งของกลุ่ม iGen ก็คือ พวกเขาเชื่อมต่อกับเพื่อน ๆ รุ่นเดียวกันด้วยระบบดิจิตอล และยิ่งพวกเขาใช้สมาร์ทโฟนมากขึ้นเท่าไหร่ เขาก็ยิ่งรู้สึกว่า การมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างบุคคลนั้น เป็นเรื่องที่ไม่ง่าย Jean M. Twenge ยกตัวอย่างว่า กลุ่มเด็กหญิงอายุ 13 ปีกลุ่มหนึ่ง ได้ iPhone มาใช้ตั้งแต่อายุ 11 ปี พวกเธอบอกว่า ถ้าไม่มี iPhone หรือ iPad ก็ไม่รู้ว่าจะทำอะไร พวกเธอรู้สึกชอบที่จะอยู่กับ iPhone มากกว่าอยู่กับคนจริง ๆ ด้วยกันเสียอีก และยังบอกอีกว่า ทุกวันนี้ พวกเธอมีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแทบจะทุกวันตลอด 24 ชั่วโมงแล้ว และรู้สึกไม่ชอบที่จะอยู่กับผู้คน

นิตยสาร The Atlantic ยังบอกสถิติที่น่าสนใจอีกว่า เด็กเกรด 8 นั้น ใช้เวลามากกว่า 10 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ไปกับสื่อสังคมออนไลน์ แต่ในขณะเดียวกัน กลับมีความรู้สึกไม่มีความสุข มากกว่าเด็กในวัยเดียวกันที่ไม่ใช้โซเชียลมีเดียถึง 56 เท่า สำหรับคนที่ใช้โซเชียลมีเดีย 6-9 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ก็มีความสุขน้อยกว่าคนที่ไม่ใช้ถึง 47 เปอร์เซนต์ ข้อมูลดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า ยิ่งเราใช้โซเชียลมีเดีย มากกว่าอัตราเฉลี่ยมากเท่าไหร่ เราก็จะยิ่งมีความสุขน้อยลง

สำหรับกลุ่มคนที่จัดอยู่ใน iGen ก็มีคำแนะนำว่า ให้ตั้งกฏในใจไว้ว่า ยิ่งใช้เวลาในการดูจอมากเท่าไหร่ ก็ยังมีโอกาสที่จะมีความเก็บกด ยิ่งพ่อแม่ที่มีลูกอยู่ใน iGen ยิ่งต้องตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวนี้และให้ความใส่ใจกับเรื่องนี้กันให้มากยิ่งขึ้น

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook