รวมพฤติกรรม การเล่นสมาร์ทโฟนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

รวมพฤติกรรม การเล่นสมาร์ทโฟนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

รวมพฤติกรรม การเล่นสมาร์ทโฟนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ตอนนี้คงปฏิเสธไม่ได้ว่าหลายคนคงจะมีสมาร์ทโฟนกันคนละอย่างน้อย 1 เครื่อง ไม่รวมถึงแท็บเล็ตและคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค หลักๆ คือต้องมีแน่นอน คนละหนึ่งเพราะในปัจจุบันทุกคนมักมีอาการเสพติดโลกออนไลน์ ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่มีสมาร์ทโฟน

ด้วยพฤติกรรมของคนในปัจจุบันที่ติดสมาร์ทโฟนจนมันกลายมาเป็นปัจจัยที่ 5 ในชีวิต ทำให้ทุกวันนี้เราต้องพิมพ์ ต้องจ้อง ต้องเลื่อนดูภาพไปมาตลอดเวลา แม้กระทั่งเวลาก่อนนอนบนเตียง ทำให้ภาพการเล่นมือถือในห้องนอนเป็นภาพที่คุ้นตา แต่หากเราขี้เกียจถึงขนาดปิดไฟแล้วก็ยังคงนอนเล่นมือถืออยู่ต่อไปอีกสักพัก นานเข้า บ่อยเข้า จนมันส่งผลต่อสุขภาพของหลายๆ คน

วันนี้มาดูกันว่า พฤติกรรม การเล่นสมาร์ทโฟนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ มีอะไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็นผลที่เกิดกับร่างกายเราเองหรือผลที่เกิดกับคนรอบตัวเรา

www.istockphoto.com

1.การใช้มือถือในที่มืดนานๆ อาจส่งผลกระทบต่อร่างกายได้ทั้งระยะสั้นและระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นอาการ เสี่ยงต่ออาการแสบตา ตาแห้ง น้ำตาไหล ปวดกระบอกตา ปวดศีรษะ สายตาไม่ชัด พร่ามัว หรือสายตาสั้นมากขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมไปถึงอาการหนักๆ อย่าง การมีโอกาสเป็นโรคต้อหินและการความเสี่ยงที่จะตาบอดได้ด้วย (แต่ไม่ได้เป็นมะเร็งที่ตา)

www.istockphoto.com

2. การนอนหงายหรือก้มคอเล่นสมาร์ทโฟนอาจเป็นอีกสาเหตุของการเล่นสมาร์ทโฟนไม่ถูกวิธี ไม่ควรนอนหงายเล่นสมาร์ทโฟน เพราะหน้าจอจะไม่ได้รับแสงสว่างจากโคมไฟบนเพดาน แม้กระทั่งนอนตะแคงก็อาจทำให้ดวงตาต้องเพ่งจ้องที่หน้าจอหนักกว่าปกติเหมือนกัน รวมไปถึงการก้มหน้าเกร็งคอเล่นเป็นเวลานานๆ อาจเป็นสาเหตุของอาการปวดคอ ไล่ลงไปถึงไหล่ และยังมีกล้ามเนื้อบริเวณบ่า และอาการอื่นๆ อีกมากมาย หลายคนอาจจะยังไม่รู้สึก ยังไงลองสำรวจตัวเองดูก่อนที่จะสายจนเกินไป
istock-825972806www.istockphoto.com

3. การจ้องหน้าจอสมาร์ทโฟนเป็นระยะเวลานานๆ เพราะเราควรมีการพักสายตาบ้าง ทุกๆ 20-30 นาที ก่อนนอนหลายๆ คนมักจะทำพฤติกรรมแบบนี้จนติดเป็นนิสัย เพราะการคุยกับเพื่อน การอัปเดทเรื่องราวข่าวสารส่วนใหญ่มักเกิดในช่วงเวลาพักผ่อนก่อนนอน ด้วยความที่เราเจอเรื่องสนุก ทำให้หลายคนมักลืมเวลาในการเล่น

www.istockphoto.com

4. การใช้สมาร์ทโฟนขณะทำการชาร์จ พฤติกรรมยอดนิยมของหลายๆ คนที่มักนอนเล่นสมาร์ทโฟนบนเตียงก่อนนอนขณะชาร์จไฟ แม้จะมีข่าวออกมาให้เห็นเสมอว่ามีหลายคนเสียชีวิตจากการถูกไฟช็อตขณะชาร์จ สาเหตุส่วนใหญ่ที่เกิดไฟฟ้ารั่วคือการตรวจพบว่าใช้สายชาร์จและอุปกรณ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน ดังนั้นอย่าลืมนึกถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นเสมอ เป็นไปได้ก็เลือกใช้ของแท้หรือหากต้องชาร์จไฟ ก็ให้วางไว้ให้ไกลตัว หรือหาสายที่ยาวหน่อยมาใช้งาน อย่างน้อยก็เป็นการป้องกันเบื้องต้น

5. การใช้สมาร์ทโฟนขณะขึ้น-ลงรถโดยสารหรือแม้แต่กระทั่งขณะเดินหรือข้ามถนน การเล่นสมาร์ทโฟนขณะเดินทางเป็นสาเหตุหลักๆ ของอุบัติเหตุเลย ไม่ว่าจะมาจากตัวเองที่มัวแต่สนใจสมาร์ทโฟนจนไม่มีสติอย่างเดินชนเสา, ตกท่อ, ชนคนอื่นเพราะไม่ได้สำรวจสิ่งรอบข้างหรือจากเหล่ามิจฉาชีพที่จ้องจะทำร้าย การก้มหน้าก้มตาเล่นสมาร์ทโฟนยังไงก็อันตรายต่อเพื่อนร่วมทางและตัวเองแน่นอน

www.istockphoto.com

6. การใช้สมาร์ทโฟนขณะกำลังขับรถ การใช้สมาร์ทโฟนในขณะขับรถยนต์อยู่อาจทำให้เรามีสติน้อยลง การสนทนาระหว่างขับรถนั้นอันตรายมาก นอกจากตัวเองจะอันตรายแล้ว อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุทำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายไปด้วย อย่างน้อยเพื่อความปลอดภัยหากคุณจำเป็นต้องพูดคุยติดต่อธุระสำคัญจริงๆ ลองใช้สมอลทอล์คหรือเปิดลำโพงจะดีกว่า

www.istockphoto.com

7. การนำสมาร์ทโฟนเข้าห้องน้ำ เราเชื่อว่าหลายๆ คนต้องนำสมาร์ทโฟนเข้าไปในห้องน้ำเวลาทำธุระส่วนตัวจนติดเป็นนิสัยแน่นอน เป็นไปได้แนะนำว่าให้เลิกเพราะในนั้นมีแบคทีเรียอยู่มากมายแน่นอน แม้ว่าเราจะไม่ได้นำออกมาใช้งานหรือเล่นมันในขณะทำธุระก็ตาม แต่ยังไงเชื้อโรคก็สามารถหลุดรอดไปถึงสมาร์ทโฟนเครื่องรักของคุณได้แน่ๆ และที่สำคัญมันเสี่ยงต่อการตกลงในชักโครกด้วย ยิ่งเป็นห้องน้ำสาธารณะด้วยต้องยิ่งระวังนะครับ

www.istockphoto.com

8. ไม่ควรใส่หูฟังพร้อมกันทั้งสองข้างขณะกำลังเดิน หลายคนมีพฤติกรรมฟังเพลงขณะเดินทางและนั่นทำให้คุณอาจไม่ได้ยินเสียงเตือนเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเสียงจากรถยนต์ หรือเสียงจากสิ่งรอบข้าง และยังเป็นแรงจูงใจของเหล่ามิจฉาชีพในการทำร้ายคุณได้อีกด้วย

พฤติกรรมที่เกริ่นมาทั้งหมดด้านบนที่เห็นเป็นเพียงส่วนเล็กๆ ที่เกิดขึ้นในการใช้ชีวิตประจำวันของเราเท่านั้น ยังมีพฤติกรรมอีกหลายอย่างที่ยังส่งผลกับเราทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนั้นสิ่งไหนควรทำไม่ควรทำก็ลองนำไปปรับใช้กับชีวิตประจำวันกันได้ เพราะในที่สุดแล้วสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตก็มีบทบาทในชีวิตประจำวันของเราอยู่ดี เปลี่ยนไม่ได้ก็ปรับให้มันดีขึ้น!

และอย่าลืมว่า ถ้าเกิดอยู่บ้านหรืออยู่กับที่ ถ้ามีอุปกรณ์ IT ที่จอใหญ่กว่ามือถือ ลองปรับใช้แทนดูก็ไม่เลวนะครับ

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook