เมื่อการ “เซลฟี” กลายเป็นความผิดปกติทางจิตที่เรียกว่า “Selfitis” (เซลฟีทิส)

เมื่อการ “เซลฟี” กลายเป็นความผิดปกติทางจิตที่เรียกว่า “Selfitis” (เซลฟีทิส)

เมื่อการ “เซลฟี” กลายเป็นความผิดปกติทางจิตที่เรียกว่า “Selfitis” (เซลฟีทิส)
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

การ “เซลฟี” ได้กลายเป็นความอาการป่วยทางจิตที่เรียกว่า “Selfietis” (เซลฟีทิส) ย้อนกลับเมื่อปี 2014 ได้มีข่าวลวงว่า สมาคมจิตเวชอเมริกัน (American Psychiatric Association : APA) ได้ประกาศว่า “Selfietis” (เซลฟีทิส) เป็นโรคทางจิตชนิดใหม่ แต่ล่าสุด วารสารสุขภาพจิตและการติดสารเสพติดนานาชาติ (International Journal of Mental Health and Addiction) ได้จัดประเภทให้ความคลั่งไคล้ในการเซลฟีกลายเป็นอาการป่วยทางจิตที่เรียกว่า Selfietis (เซลฟีทิส) จริงๆ

การวิจัยดังกล่าวเป็นผลงานของ Janarthanan Balakrishnan จากโรงเรียน Thiagarajar School of Management ที่มาดูรา ประเทศอินเดีย และ Mark D. Griffiths จากมหาวิทยาลัย Nottingham Trent University ที่นอตทิงแฮม ประเทศอังกฤษ โดยได้ระบุถึงอาการของ Selfitis Behavior Scale (SBS) ว่า เป็นกลุ่มคนที่มีความชื่นชอบหรือหลงไหลในการถ่ายภาพเซลฟีในอากัปกิริยาและสถานที่ต่างๆ

ทั้งนี้ ความรุนแรงของอาการนั้นขึ้นอยู่กับสภาพจิตใจของพวกเขา ยกตัวอย่างเช่น

การเซลฟีทำให้ฉันรู้สึกดีและมีความสุขมากขึ้น การเซลฟีช่วยให้ฉันสามารถอธิบายตัวฉันเองได้มากขึ้น กลุ่มเพื่อนและเพื่อนร่วมงานของฉัน แข่งกันแชร์ภาพเซลฟีอย่างจริงจัง การถ่ายภาพเซลฟีต่างๆ ช่วยเพิ่มสถานะทางสังคมของฉัน ฉันได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก จากการแชร์ภาพเซลฟีในโซเชียลมีเดีย ฉันรู้สึกมั่นใจมากขึ้นเมื่อได้ถ่ายภาพเซลฟี

จากการสำรวจนักเรียนในประเทศอินเดัยจำนวน 225 คน โดยแบ่งคนที่ถ่ายภาพเซลฟีออกเป็น 3 กลุ่ม (เบาบาง, เสพติด และเรื้อรัง) นั้น พบว่า 9% ของผู้ได้รับการสำรวจได้ถ่ายภาพเซลฟี่มากกว่า 8 รูปต่อวัน และ 25% ได้แชร์ 3 รูป หรือมากกว่า ลงในโซเชียลมีเดีย

ถึงแม้ว่าจะเป็นจำนวนเพียงเล็กน้อย แต่ก็น่าสนใจ Janarthanan Balakrishnan ได้กล่าวกับทาง New York Post ว่า “โดยปกติแล้ว อาการที่กล่าวมานั้นเป็นผลมาจากการขาดความเชื่อมั่นในตัวเองและพยายามมองจุดยืนในสังคม และอาจแสดงอาการคล้ายกับพฤติการการเสพติดในรูปแบบอื่นๆ”

“ในตอนนี้ อาการดังกล่าวได้รับการยืนยันแล้ว และหวังว่าการวิจัยในอนาคตจะช่วยให้เข้าใจผู้ที่มีพฤติกรรมดังกล่าว และหาวิธีช่วยเหลือผู้คนที่ได้รับผลกระทบให้ได้มากที่สุด”

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook