ผู้เชี่ยวชาญชี้ "หุ่นยนต์อัจฉริยะ" ในปัจจุบัน ยังห่างไกลกับหุ่นยนต์ที่เห็นในหนัง

ผู้เชี่ยวชาญชี้ "หุ่นยนต์อัจฉริยะ" ในปัจจุบัน ยังห่างไกลกับหุ่นยนต์ที่เห็นในหนัง

ผู้เชี่ยวชาญชี้ "หุ่นยนต์อัจฉริยะ" ในปัจจุบัน ยังห่างไกลกับหุ่นยนต์ที่เห็นในหนัง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เดวิด แฮนสัน (David Hanson) คือผู้ก่อตั้งบริษัท Hanson Robotics ซึ่งตั้งอยู่ในฮ่องกง ตั้งความหวังถึงอนาคตที่หุ่นยนต์จะมีลักษณะคล้ายมนุษย์ และมีความคิดอ่านที่ฉลาดล้ำเหนือมนุษย์ เรียกว่า “Super – Intelligent Genius Machines” ซึ่งจะสามารถช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ที่มนุษย์ไม่สามารถแก้ได้

ผลงานชิ้นเอกของเขาคือการออกแบบและพัฒนา “หุ่นยนต์โซเฟีย” ซึ่งเป็นหุ่นยนต์พูดได้ที่เลียนแบบหน้าตามาจากดาราอมตะ ออเดรย์ เฮปเบิร์น (Audrey Hepburn)

บริษัท Hanson ผลิตหุ่นยนต์โซเฟียออกมาทั้งหมด 12 ตัว และอาศัยความร่วมมือจากนักวิทยาศาตร์และวิศวกรจากทั่วโลกในการพัฒนาหุ่นยนต์ตัวนี้ให้สามารถทำงานและแสดงอากัปกิริยาท่าทางต่างๆ ได้คล้ายมนุษย์ที่สุด รวมทั้งการยิ้ม กระพริบตา ตลอดจนการสื่อสารและทำความเข้าใจกับคำพูด

โซเฟียมีกล้องติดอยู่ที่ดวงตา เธอจึงสามารถมองตาขณะสื่อสารกับมนุษย์ได้ นวัตกรรมที่นำมาทำผิวหนังหุ่นยนต์ที่เหมือนมนุษย์นี้เรียกว่า Frubber ซึ่งประกอบด้วยกระแสไฟฟ้าที่ทำให้หุ่นแสดงสีหน้าและขยับคอได้ 62 แบบ เพื่อให้ใกล้เคียงมนุษย์ที่สุด

FILE - David Hanson, the founder of Hanson Robotics, poses with his company's flagship robot, Sophia, a lifelike robot powered by artificial intelligence, in Hong Kong, Sept. 28, 2017.

เดวิด แฮนสัน บอกว่า สาเหตุที่เขาต้องการทำให้โซเฟียดูคล้ายมนุษย์มากที่สุดเท่าที่จะทำได้นั้น เพราะต้องการลดความหวาดกลัวที่มีต่อหุ่นยนต์ และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์

เมื่อปีที่แล้ว โซเฟียได้รับสัญชาติพลเมืองอย่างเป็นทางการจากซาอุดีอาระเบียซึ่งถือว่าเป็นชาติแรกในโลกที่มอบสัญชาติให้กับหุ่นยนต์ด้วย

ปัจจุบัน ตลาดหุ่นยนต์ทั่วโลกมีมูลค่ากว่า 4,000 ล้านดอลลาร์ และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 15,000 ล้านดอลลาร์ ภายในปี ค.ศ. 2020 ซึ่งรวมถึงหุ่นยนต์แบบเป็นผู้ช่วยภายในบ้าน อย่างเช่น เครื่องดูดฝุ่นอัตโนมัติ หุ่นยนต์ที่ทำงานตามโรงงานหรือโกดังสินค้าต่างๆ และหุ่นยนต์ที่เป็นผู้ช่วยดูแลและคลายเหงาสำหรับผู้สูงอายุ

อย่างไรก็ตาม คุณปาสคาเล ฟัง (Pascale Fung) ศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมศาสตร์ ที่ Hong Kong University of Science and Technology ระบุว่า หุ่นยนต์ที่ใช้กันอยู่ในขณะนี้สามารถโปรแกรมให้ทำงานได้เฉพาะทางอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น และยังคงห่างไกลกับการที่จะทำให้หุ่นยนต์สามารถเรียนรู้ทักษะความสามารถใหม่ๆ หรือพัฒนาตนเองได้เหมือนมนุษย์

ศาสตราจารย์ ฟัง กล่าวว่า เด็กเล็กนั้นใช้ประสามสัมผัสทั้ง 5 ในการเรียนรู้ แต่หุ่นยนต์สามารถโปรแกรมให้รับข้อมูลได้ทีละอย่างเท่านั้น ดังนั้นการจะทำให้หุ่นยนต์เรียนรู้อย่างรวดเร็วเหมือนมนุษย์ได้ ต้องใช้การประมวลผลทางคอมพิวเตอร์ปริมาณมหาศาล ซึ่งยังมีข้อจำกัดสำหรับเทคโนโลยีในปัจจุบัน

ผู้เชี่ยวชาญผู้นี้บอกด้วยว่า คงยังอีกไกลกว่าที่โลกจะมีหุ่นยนต์ที่ทำทุกอย่างได้คล้ายมนุษย์จริงๆ เหมือนที่เห็นในภาพยนตร์

FILE - Hanson Robotics' flagship robot, Sophia, is pictured in Hong Kong, Sept. 28, 2017. Founder David Hanson envisions a future in which AI-powered robots evolve to become “super-intelligent genius machines.”

สำหรับหุ่นยนต์โซเฟีย ซึ่งถือเป็นหุ่นต้นแบบที่มีความฉลาดเหนือกว่าหุ่นยนต์ทั่วไป ก็ยังคงมีข้อจำกัดอยู่มากเช่นกัน เพราะแม้เธอจะสามารถตอบคำถามได้อย่างรวดเร็ว แต่หลายครั้งเธอก็ตอบนอกประเด็น และคำตอบของเธอซึ่งถูกโปรแกรมไว้จากซอฟท์แวร์นั้น บางครั้งก็ไม่ตรงคำถามสักเท่าไร

แต่ดูเหมือนว่าบริษัท Hanson ผู้พัฒนาโซเฟีย ก็มิได้รีบร้อน และพร้อมที่จะรอจนกว่าจะมีเทคโนโลยีที่ดีขึ้นสำหรับเพิ่มความสามารถของเธอ และตั้งใจว่าในอนาคตจะสามารถนำโซเฟียไปใช้ในงานที่ละเอียดอ่อนต่างๆ ได้ เช่น การช่วยเหลือบำบัดเด็กออติสติก ดูแลผู้สูงอายุ และงานบริการลูกค้า หรืองานง่ายๆ อย่างการเดินไปรินกาแฟมาจิบสักแก้วก็ตาม

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook