รู้จักกับโครงการ The Stanford Thailand Research Consortium งานวิจัยระดับโลก แก้หลายสิ่งในเมืองไทย

รู้จักกับโครงการ The Stanford Thailand Research Consortium งานวิจัยระดับโลก แก้หลายสิ่งในเมืองไทย

รู้จักกับโครงการ The Stanford Thailand Research Consortium งานวิจัยระดับโลก แก้หลายสิ่งในเมืองไทย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วันนี้ (18 กันยายน 2019) ทีม Sanook! Hitech ได้พาคุณมาเปิดตัวโครงการวิจัยครั้งประวัติศาสตร์ เนื่องจาก มหาวิทยาลัย สแตนฟอร์ด (Stanford University) ร่วมมือกับ SEAC (ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคเอเชีย), AIS, และ ธนาคารกสิกรไทย ได้เปิดตัวโครงการ Thailand Research Consortium เพื่อเป็นการเปิดเรื่องของการวิจัยให้ เพื่อให้เกิดประโยชน์ในเรื่องของการวิจัย ในประเทศไทย และทำให้เกิดคุณภาพที่ดีของข้อมูล

ทางมหาวิทยาลัย สแตนฟอร์ด เป็นอีกมหาวิทยาลัยระดับโลกที่มีผลการวิจัยมากมายและยังเชียวชาญในด้านการบริหารซึงเป็นมรดกทางความคิดของผู้ก่อตั้ง โดยนักวิจัยที่มีผลเกี่ยวกับการวิจัยในบทบาทของ Consortium ทั้งคณะต่างๆ และรูปแบบการทำงาน 

รวมถึงการวิจัยในเรื่องของการนำ AI มาเจาะลึกและทำงานได้ดีขึ้นอย่างไร ซึ่งทำงานร่วมกับทาง AIS ทำให้เกิดผลวิจัยเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเงินหรือ อสังหาริมทรัพย์ และรวมไปถึงเรื่องการศึกษา (เพราะนักวิจัยนั้นมาจากคณะต่างๆ เช่นวิศกรรมศาสตร์, คณะบริหารศาสตร์, คณะมนุษยศาสตร์, วิทยาศาสตร์, สิ่งแวดล้อมและพลังงาน เป็นต้น) 

ในส่วนของ SEAC หรือ ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคเอเชีย มีบทบาทอะไรกับโครงการนี้ 

  • คัดเลือกบริษัทในประเทศไทย ที่มีผลประโยชน์ต่อประเทศชาติ และ ต้องการพัฒนาต่อ 
  • บริษัท ต้องการจะช่วยอะไรกับในประเทศไทย หรือต้องการพัฒนาเพื่อให้เติบโต และส่งไปยังกับ มหาวิทยาลัย  
  • บริษัท ต้องสามารถทำงานกับ AIS, AP และ สมาชิกใหม่ TU (Thai Union) เพื่อหาข้อมูลและทำเป็นผลวิจัยให้กับ Stanford University  

และทั้งหมดนั้นไม่ได้เริ่มต้นจากการนำสิ่งต่างๆ เข้ามา แต่ความจริงคือการทำให้เกิดความเข้าใจบริบทของประเทศไทย และเกิดความร่วมมืออย่างดีกับ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด นั่นเอง

ในส่วนของ AIS เองไม่ได้มองว่าทำการวิจัยของ AIS เอง แต่การทำงานร่วมกับ Stanford University มันก็จะเป็นความร่วมมือที่ดี การรอให้ภาครัฐอย่างเดียว อาจจะช้าเกินไป การรวมตัวของเอกชนที่มีความพร้อมก็จะทำให้เกิดการขับเคลื่อนไปได้ และ AIS ได้มองว่าในเรื่องของศัพท์ที่ขั้นสูง เช่น Digital Enterpreneurship การพูดไกล และ มองไกลไว้ก่อน ก็จะเป็นเรื่องดีเพราะทำให้องค์กรเกิดการปรับตัวได้อย่างมาก และยิ่งเป็นองค์กร โทรคมนาคม จะต้องมีการ Active ตลอดเวลา 

โครงการนี้ เป็นการร่วมกันผลักกันในภาคเอกชน และทำให้โครงการนี้ จะทำให้ประเทศไทยดูแข็งแรงขึ้นในเรื่องของการทำวิจัยและการแก้ปัญหาต่างๆ แต่จะความเคลื่อนไหวจะเป็นอย่างไร คงต้องรอติดตามกันต่อไปหลังจากที่การวิจัยต่างๆ มีผลและเผยแพร่ออกมาในลำดับถัดไป

ทางด้าน AP Thai ได้เผยว่า โครงการนี้ถือว่าเป็นการทำวิจัยระดับโลกครั้งแรกในเมืองไทย โดยจุดประสงค์เพื่อพัฒนาในประเทศไทย การทำวิจัยทั้งหมดนี้ มีทั้งการสร้างนวัตกรรม, ทำเรื่อง AI และ Technology และศักยภาพของคนในประเทศ ในการวิจัยนี้มีเรื่องของการศึกษาในประเทศไทย เพราะเป็นอีกเรื่องที่น่าเป็นห่วง ในเรื่องของการตามเทคโนโลยีของโลก และเป็นเหตุที่ทำให้บริษัทบางรายปิดตัวเพราะก้าวตามไม่ทัน การก้าวให้ทันจะต้องขึ้นอยู่กับคน 

โดยการวิจัยนี้จะทำให้หาคำตอบในเรื่องของการ อัปเกรดความรู้ของคนไทยอย่างไรให้ทันกับเรื่องเทคโนโลยีต่างๆ ได้ 

และทางด้านของ KBANK หรือ ธนาคารกสิกรไทย ได้มีความมุ่งหมายให้โปรเจ็คนี้ ให้สำเร็จอย่างมาก เพราะก่อนหน้านี้มีการทำโครงการต่างๆ ก่อนหน้านั้นทั้งป่าจังหวัดน่าน (แม่น้ำน่าน), โครงการเกี่ยวกับ โรงพยาบาลจุฬาฯ ที่ทำให้การทำงานสะดวกสบายและคนไข้ได้รับการบริการอย่างทั่วถึง 

การตอบรับโครงการ Thailand Research Consortium จากมหาวิทยาลัย Stanford ก็มีการตอบรับทันที นอกจากจะช่วยให้แก้ปัญหาได้แล้ว ยังมีการเผยแพร่ผลการวิจัยสู่คนหมู่มากและวงกว้างมากขึ้น และที่มี Passion แม้ว่าจะเป็น นักวิจัย Stanford อาจจะคิดว่าทำอยู่ในห้อง แต่ความจริงแล้วนักวิจัย และ ทีมงาน เหล่านั้น ได้ลงพื้นที่จริง ดูปัญหาทั่วถึง เช่นการลงพื้นที่จังหวัดน่าน ก็เข้าไปดูถึงที่ เพื่อแก้ปัญหา  

ส่วนด้านจุฬา Care มีการดูตัวอย่างจากผู้สูงวัย 20 – 30 รายเพื่อนำมาพัฒนา AI เพื่อใช้งานได้จริง เริ่มต้นจากที่ โรงพยาบาลจุฬา และคาดว่าการวิจัยนี้จะต่อไปถึง โรงพยาบาลอื่นๆ ได้  

เราเชื่อมั่นเกี่ยวกับข้อมูลและรายละเอียดที่ได้ทำลงไป และการร่วมมือจะทำให้โครงการเกิดความสำเร็จได้ 

การวิจัยดังกล่าวจริงๆ เริ่มต้นกันไปแล้วอต่ก็จะมีการเผยแพร่ให้เห็นได้ชัดกันต่อไป 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook