วิเคราะห์: ดาวเทียม “เป๋ยโต่ว” ของจีน สร้างความท้าทายด้านยุทธศาสตร์ต่อสหรัฐฯ

วิเคราะห์: ดาวเทียม “เป๋ยโต่ว” ของจีน สร้างความท้าทายด้านยุทธศาสตร์ต่อสหรัฐฯ

วิเคราะห์: ดาวเทียม “เป๋ยโต่ว” ของจีน สร้างความท้าทายด้านยุทธศาสตร์ต่อสหรัฐฯ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หลังจากที่ใช้ความพยายามมากว่า 20 ปี จีนสามารถส่งดาวเทียมดวงสุดท้ายของโครงการที่ให้บริการระบบนำทางเเข่งกับ GPS (Global Positioning System) ของดาวเทียมสหรัฐฯ ซึ่งถูกใช้อยู่ทั่วโลก ณ ขณะนี้

ดาวเทียมดวงสุดท้ายในโครงการเป๋ยโต่ว (BeiDou) ของจีน ถูกส่งไปสู่ชั้นบรรยากาศ เมื่อวันอังคารสัปดาห์ที่แล้ว และนักวิเคราะห์เห็นว่าข่าวนี้ชี้ให้เห็นถึงการขับเคี่ยวกันทางเทคโนโลยีระหว่าง จีนและสหรัฐฯ พร้อมต้ังข้อสังเกตเรื่องความมั่นคงด้วย

สื่อของทางการจีนอ้างว่าระบบดังกล่าวที่ประกอบด้วยดาวเทียม 35 ดวง ถูกเริ่มพัฒนาขึ้นเมื่อ 26 ปีก่อน และขณะนี้ มีผู้ใช้งานกว่าครึ่งหนึ่งของโลก นอกจากนี้จีนสามารถส่งออกอุปกรณ์ที่รับสัญญาณดาวเทียมไปแล้วกว่า 120 ประเทศทั่วโลก

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า ระบบดาวเทียมของจีน ต่างจากระบบอื่นๆในโลก ซึ่งประกอบด้วย GPS ของสหรัฐฯ GLONASS ของรัสเซีย Galileo ของยุโรป

กล่าวคือ ระบบเป๋ยโต่วเป็นการสื่อสารแบบสองทาง ทำให้ดาวเทียมทราบพิกัดของผู้รับสัญญาณและส่งข้อความได้ ดังนั้นหากใครใช้ระบบนำทางนี้จะสามารถบอกพิกัดของตนกับผู้อื่นได้

ผู้สันทัดกรณี ดร. แลร์รี่ วอร์ทเซิล ผู้บริหารหน่วยงาน U.S.-China Economic and Security Review Commission หรือ USCC บอกกับวีโอเอว่า เครื่องมือติดต่อสื่อสารที่เชื่อมกับดาวเทียมไม่ว่าจะเป็นประเทศใด จะสามารถถูกติดตามการเคลื่อนไหวได้ คำถามคือ “ใครคือคนที่อาจเกาะรอย และใครคือผู้อาจถูกเกาะรอยอยู่ ”

กฎหมายไต้หวันเมื่อ 4 ปีก่อนระบุว่า การติดต่อสื่อสารผ่านดาวเทียมสามารถถูกใช้ในการโจมตีออนไลน์ได้ และเเนะนำให้เจ้าหน้าที่รัฐเลี่ยงการพึ่งพาดาวเทียมเป๋ยโต่ว

หน่วยงาน USCC ของ ดร. วอร์ทเซิล ทำการศึกษาเมื่อ 3 ปีก่อน และพบว่าระบบเป๋ยโต่วอาจมีความเสี่ยงด้านความมั่นคง

การศึกษาพบว่า อาจมีการติดตามสอดแนมผู้ใช้ ด้วยการส่งมัลแวร์ผ่านสัญญาณนำทางหรือระบบส่งข้อความได้

อย่างไรก็ตามการศึกษาระบุว่า ยังไม่ทราบถึงการปฏิบัติจริงในเรื่องการส่งมัลเเวร์ผ่านสัญญาณนำทาง

ดร. วอร์ทเซิล แสดงทัศนะส่วนตัวว่า บางครั้งอาจขึ้นอยู่กับว่า เครื่องมือสื่อสารเป็นยี่ห้ออะไร เพราะมัลเเวร์อาจถูกฝังอยู่ในชิพของอุปรกรณ์สื่อสารด้วย

ในขณะเดียวกัน ดร. เอ็มมานูเอล เมนิวท์ แห่งองค์กรด้านการศึกษานโยบายของฝรั่งเศสที่ชื่อ Institute of International Relations กล่าวว่า การที่จีนดำเนินการโครงการเป๋ยโต่วอย่างเสร็จสมบูรณ์ ถือว่าจีนต้องการชิงความเป็นที่หนึ่งในระบบดาวเทียมนำทาง

ทั้งนี้ ระบบของจีนมีดาวเทียม 35 ดวง มากกว่าระบบ GPS ของสหรัฐฯที่มี 31 ดวง ตามข้อมูลของดร. เมนิวท์

เพื่อเป็นการสนับสนุนการใช้ระบบเป๋ยโต่ว ทางการจีนเชิญชวนประเทศต่างๆ ด้วยการเสนอเงินกู้ และบริการที่ไม่มีค่าใช้จ่าย และเมื่อ 7 ปีก่อน ทางการปักกิ่งลงนามความตกลงมูลค่า 2,000 ล้านหยวน หรือราว 10,000 ล้านบาทกับไทย ซึ่งทำให้ไทยเป็นลูกค้าต่างชาติรายแรกของระบบดาวเทียมนี้

สื่อซินหว่าของทางการจีนกล่าวว่า ขณะนี้โครงการเป๋ยโต่ว มี ผู้ใช้ 500 ล้านคน

และบริษัทวิจัย SWS Research ระบุว่า ณ สิ้นปีนี้ โครงการนี้ของจีนจะมีสถานีรับสัญญาณอย่างน้อย 1,000 แห่งในประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประทศ

ดร. เมนิวท์ กล่าวด้วยว่าการสยายปีกของโครงการดาวเทียมของจีนไม่ใช่เป็นเพียงการเเข่งขันบริการสัญญาณสื่อสารเพื่อนำทางเท่านั้น แต่ยังเป็นความท้าทายด้านยุทธศาสตร์ที่สำคัญต่ออเมริกาอีกด้วย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook