งานวิจัยด้านการได้ยินของ Apple เปิดเผยข้อมูลเชิงลึกใหม่เกี่ยวกับสุขภาพการได้ยิน

งานวิจัยด้านการได้ยินของ Apple เปิดเผยข้อมูลเชิงลึกใหม่เกี่ยวกับสุขภาพการได้ยิน

งานวิจัยด้านการได้ยินของ Apple เปิดเผยข้อมูลเชิงลึกใหม่เกี่ยวกับสุขภาพการได้ยิน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

งานวิจัยด้านการได้ยินของ Apple เปิดเผยข้อมูลใหม่จากผู้เข้าร่วมนับพันทั่วอเมริกาเพื่อช่วยให้ผู้คนเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาพการได้ยินของตัวเองมากขึ้น

งานวิจัยด้านการได้ยินของ Apple เป็นหนึ่งในงานวิจัยที่เผยแพร่ในแอพ Research ซึ่งจะช่วยให้สามารถดำเนินการวิจัยได้อย่างทั่วถึงด้วยการมอบโอกาสให้ลูกค้า Apple ได้เข้าร่วมงานวิจัยที่ปฏิวัติวงการโดยใช้เทคโนโลยีที่เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของพวกเขาอยู่แล้ว เราทำงานวิจัยชิ้นนี้ร่วมกับ School of Public Health มหาวิทยาลัยมิชิแกน และจะแชร์ข้อมูลกับโครงการ Make Listening Safe ขององค์กรอนามัยโลกอีกด้วย

apple_hearing-day-2021_apple-

องค์กร WHO คาดการณ์ว่าผู้คนกว่า 700 ล้านคนทั่วโลกจะประสบปัญหาการสูญเสียการได้ยินที่สาหัสภายในปี 2050 วันที่ 3 มีนาคมจึงถูกกำหนดเป็นวันแห่งการได้ยินโลกเพื่อกระตุ้นให้ผู้คนทั่วโลกหันมารับมือกับปัญหาการสูญเสียการได้ยินและปัญหาที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ความสามารถในการได้ยินที่ลดลงจะกระทบกับสุขภาพและความเป็นอยู่ของบุคคลในหลายๆ ด้าน เช่น ทำให้ขาดประสิทธิภาพในการสื่อสาร รวมถึงรู้สึกแปลกแยก โดดเดี่ยว และถอยห่างจากสังคม

"การสูญเสียการได้ยินนั้นส่งผลกระทบกับบุคคลในหลายๆ ด้าน เป้าหมายของพวกเราจึงเป็นการกระตุ้นให้ผู้คนตระหนักถึงความสำคัญของสุขภาพการได้ยินให้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานรัฐที่มีอำนาจในการตัดสินใจและประชาชนทั่วไป" Ren Minghui ผู้ช่วยผู้บริหารทั่วไปขององค์กรอนามัยโลกกล่าว "เราสนับสนุนให้ผู้คนปฏิบัติตามขั้นตอนที่เหมาะสมในการปกป้องและดูแลการได้ยินของตัวเองตามที่จำเป็น"

งานวิจัยด้านการได้ยินของ Apple: By the Numbers

 untitled-3

งานวิจัยด้านการได้ยินของ Apple เปิดโอกาสให้ผู้ใช้ได้เข้าร่วมและให้ข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพการได้ยินในระยะยาวของตัวเองจาก Apple Watch และ iPhone ซึ่งนับเป็นการเข้าร่วมงานวิจัยในระดับที่ยิ่งใหญ่แบบที่ไม่เคยมีมาก่อน ข้อมูลเชิงลึกใหม่ที่อิงจากข้อมูลที่ไม่เคยทราบมาก่อนนี้ชี้ให้เห็นว่าผู้เข้าร่วม 25% ได้ยินเสียงรบกวนรอบตัวทุกวัน (ซึ่งอาจรวมถึงการจราจร เครื่องจักร ระบบขนส่งสาธารณะ และอื่นๆ)

โดยเฉลี่ยมากกว่าขีดจำกัดที่องค์กร WHO กำหนดไว้ นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมเกือบ 50% ทำงานอยู่หรือเคยทำงานในสถานที่ที่มีเสียงดัง เนื่องจากการได้ยินเสียงรบกวนนั้นส่งผลกระทบกับการได้ยิน การระวังสภาพแวดล้อมจึงถือเป็นเรื่องสำคัญ การตรวจสอบระดับเสียงรบกวนด้วยแอพเสียงรบกวนบน Apple Watch เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการระวังตัวไม่ให้เผชิญกับเสียงต่างๆ ได้มากยิ่งขึ้น

หนึ่งในผู้เข้าร่วม 10 คนใช้หูฟังโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์มากกว่าขีดจำกัดที่องค์กร WHO กำหนดไว้ แม้ว่าจังหวะดนตรีเพราะๆ จะเร้าใจ แต่ผู้ฟังก็ควรฟังเพลงและสื่ออื่นๆ ด้วยระดับเสียงที่ไม่ดังมาก

 apple_hearing-day-2021_watch-

ผู้เข้าร่วมงานวิจัยด้านการได้ยินของ Apple ประมาณ 10% ได้รับการวินิจฉัยจากผู้เชี่ยวชาญว่าสูญเสียการได้ยิน ในจำนวนคนเหล่านี้ 75% ไม่ใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือ เช่น เครื่องช่วยฟังหรือประสาทหูเทียม แม้ว่าอุปกรณ์เหล่านี้จะสามารถช่วยลดผลกระทบจากการสูญเสียการได้ยินก็ตาม

จากข้อมูลที่รวบรวมมาโดยใช้การทดสอบการฟังของงานวิจัยนี้ ผู้เข้าร่วม 20% ประสบปัญหาการสูญเสียการได้ยินเมื่อเปรียบเทียบกับมาตรฐานขององค์กร WHO และ 10% ประสบปัญหาดังกล่าวเนื่องจากได้ยินเสียงดังรบกวนบ่อยๆ

ผู้เข้าร่วมงานวิจัยเกือบ 50% ไม่เคยรับการทดสอบการได้ยินจากผู้เชี่ยวชาญในระยะเวลาอย่างน้อย 10 ปี ผู้เข้าร่วมจำนวน 25% ได้ยินเสียงในหูสองสามครั้งต่อสัปดาห์หรือมากกว่านั้น ซึ่งเป็นสัญญาณว่าความสามารถในการได้ยินเสียหาย ทุกคนควรได้รับการตรวจสุขภาพการได้ยินโดยผู้เชี่ยวชาญ

"งานวิจัยด้านการได้ยินของ Apple ใช้เวลาถึงหนึ่งปี โดยเราได้รวบรวมข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญเกี่ยวกับการได้ยินเสียงดังรบกวนในแต่ละวัน รวมถึงผลกระทบต่อการได้ยินของผู้เข้าร่วม งานวิจัยนี้ทำในขนาดที่ใหญ่ระดับชาติแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน เมื่องานวิจัยคืบหน้า เราตั้งใจที่จะเผยแพร่ผลลัพธ์ทางวิทยาศาสตร์ใหม่และแนะนำวิธีการปรับปรุงและดูแลสุขภาพการได้ยิน" Rick Neitzel ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำคณะอนามัยสิ่งแวดล้อมของ School of Public Health มหาวิทยาลัยมิชิแกนกล่าวไว้ "แม้แต่ในช่วงโรคระบาดนี้ที่คนอยู่บ้าน เราก็ยังพบว่าผู้เข้าร่วมงานวิจัย 25% เผชิญกับเสียงดังรบกวนรอบข้าง ผลลัพธ์ของงานวิจัยชิ้นนี้จะช่วยทำให้เราเข้าใจเสียงรอบข้างที่มีแนวโน้มที่จะเป็นอันตรายได้ดีขึ้น อีกทั้งยังช่วยหาวิธีที่ผู้คนสามารถปกป้องการได้ยินของตัวเองอย่างมีประสิทธิภาพ"

ผู้ใช้ทั่วอเมริกากำลังเข้าร่วมในงานวิจัยด้านการได้ยินของ Apple ผ่าน แอพ Research.

ผลิตภัณฑ์ Apple จะช่วยคุณได้อย่างไร

เทคโนโลยีของ Apple มอบความช่วยเหลือที่หลากหลายเพื่อปรับปรุงสุขภาพการได้ยินรวมถึงการช่วยการเข้าถึงภายในการแตะไม่กี่ครั้ง

 apple_hearing-day-2021_live-l

  • ตรวจสอบและปกป้องสุขภาพการได้ยิน: เมื่อใช้ แอพเสียงรบกวน ผู้ใช้ Apple Watch สามารถเปิดใช้งานการแจ้งเตือนเพื่อให้ผู้ใช้รู้ตัวเมื่อระดับเสียงรอบข้างดังจนอาจกระทบกับสุขภาพการได้ยิน  แอพสุขภาพบน iPhone จะติดตามประวัติการได้ยินเสียงระดับต่างๆ ของผู้ใช้ และแจ้งให้ทราบว่าหูฟังหรือระดับเสียงรอบข้างดังเกินมาตรฐานที่องค์กร WHO กำหนดไว้หรือไม่
  • ใช้อุปกรณ์ Apple เพื่อให้ฟังได้ชัดเจนยิ่งขึ้น: AirPods, AirPods Pro และ AirPods Max ช่วยให้คุณฟังรู้เรื่องในสถานที่ที่มีเสียงดังด้วยคุณสมบัติ ฟังสดซึ่งทำให้ iPhone ทำหน้าที่คล้ายกับไมโครโฟนที่รับเสียงได้ทิศทางเดียว นอกจากนี้ โหมดฟังเสียงภายนอก บน AirPods Pro หรือ AirPods Max จะปล่อยให้เสียงภายนอกเข้ามา ผู้ใช้จึงสามารถได้ยินเสียงรอบข้าง
  • ตั้งค่า Headphone Accommodations เพื่อทำให้เสียงคมชัดยิ่งขึ้น: การทดสอบการฟังหลายครั้งพบว่า iPhone ช่วยให้ผู้ใช้สามารถปรับระดับเสียงหูฟังตามต้องการได้ เมื่อใช้ iOS พวกเขาจะสามารถอัพโหลดออดิโอแกรมส่วนตัวและจากนั้นปรับระดับเสียงหูฟังให้เหมาะสมตามข้อมูลออดิโอแกรมเฉพาะบุคคล การตั้งค่า Mono Audio ยังสามารถสนับสนุนผู้ที่ประสบปัญหาการสูญเสียการได้ยินในหูเพียงข้างเดียวได้อีกด้วย
  • ใช้โปรแกรมอุปกรณ์การได้ยิน Made for iPhone : ผู้สวมเครื่องช่วยฟังและโปรเซสเซอร์เสียงสามารถสตรีมเสียง เช่น สายโทรศัพท์และการโทร FaceTime, เพลง, Siri และเนื้อหาอื่นๆ ได้โดยตรงจาก iPhone ไปยังอุปกรณ์ช่วยฟัง นี่เป็นแพลตฟอร์มอุปกรณ์ช่วยฟังบนสมาร์ทโฟนที่ครอบคลุมและล้ำสมัยที่สุดในโลก โดยมีอุปกรณ์ช่วยฟังเกือบ 200 รุ่นพร้อมให้บริการจากผู้ผลิตกว่า 40 ราย
  • รับ ความช่วยเหลือสำหรับชุมชนคนหูหนวกและมีปัญหาด้านการได้ยิน: การช่วยการเข้าถึงการได้ยินใน iOS มาพร้อมคุณสมบัติหลายประการที่สามารถช่วยเหลือผู้คนที่หูหนวกหรือมีปัญหาด้านการได้ยิน ได้แก่ การรู้จำเสียง, FaceTime ที่รวมถึงการตรวจจับภาษามือใน FaceTime กลุ่ม, การเตือนด้วยประสาทสัมผัส และพิมพ์โต้ตอบกับ Siri

ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคุณสมบัติการได้ยินและการช่วยการเข้าถึงอื่นๆ ได้ที่ https://www.apple.com/th/accessibility/hearing/

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook