เทนเซ็นต์ คลาวด์ หนุนผู้ประกอบการภาคการผลิต ใช้โซลูชันคลาวด์อัจฉริยะสู่ Industry 4.0

เทนเซ็นต์ คลาวด์ หนุนผู้ประกอบการภาคการผลิต ใช้โซลูชันคลาวด์อัจฉริยะสู่ Industry 4.0

เทนเซ็นต์ คลาวด์ หนุนผู้ประกอบการภาคการผลิต ใช้โซลูชันคลาวด์อัจฉริยะสู่ Industry 4.0
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เทนเซ็นต์ คลาวด์ กลุ่มธุรกิจคลาวด์ภายใต้เทนเซ็นต์ มุ่งยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมการผลิตไทย แนะผู้ประกอบการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันด้วยเทคโนโลยีคลาวด์อัจฉริยะและปัญญาประดิษฐ์ (AI) กุญแจสำคัญที่จะช่วยเสริมศักยภาพในการดำเนินธุรกิจ และยกระดับมาตรฐานการบริหารจัดการด้านการผลิตพร้อมก้าวสู่ยุค Industry 4.0 อย่างเต็มประสิทธิภาพ พร้อมยกตัวอย่างความสำเร็จการใช้คลาวด์เสริมธุรกิจของ Foxconn Industrial Internet (FII)

changfoochiefoperatingof

มร. ชาง ฟู ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท เทนเซ็นต์ (ประเทศไทย) จํากัด กล่าวว่า “อุตสาหกรรมภาคการผลิตนั้นมีความสำคัญต่อภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นอย่างมาก การเตรียมความพร้อมด้วยการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจ จึงเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการธุรกิจด้านการผลิตควรให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง

ซึ่งระบบการผลิตอัจฉริยะ หรือ Smart Manufacturing ถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศไทยก้าวสู่ Industry 4.0 ได้อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น ซึ่งเทคโนโลยีคลาวด์และปัญญาประดิษฐ์เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญต่อการยกระดับระบบการผลิตภายใต้แนวคิด Smart Manufacturing”

กรณีศึกษาของ Foxconn Industrial Internet

หนึ่งในตัวอย่างความสำเร็จในการนำเทคโนโลยีและโซลูชันคลาวด์อัจฉริยะจากเทนเซ็นต์คลาวด์ มาปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจ คือ Foxconn Industrial Internet Co., Ltd. หรือ FII ซึ่งเป็นบริษัทย่อย ภายใต้ผู้รับจ้างผลิตรายใหญ่ที่สุดของโลก และผู้ให้บริการออกแบบและผลิตชั้นนำระดับมืออาชีพ

โดยเทนเซ็นต์ คลาวด์ และ FII ได้เริ่มนำบริการโซลูชันคลาวด์แบบ end-to-end มาใช้ในการสร้าง และปรับใช้ในการปฏิบัติงานต่างๆ บนระบบอินเตอร์เน็ตอุตสาหกรรม (Industrial Internet) ที่เชื่อมต่อเครื่องจักรขนาดใหญ่ในโรงงานเข้ากับฐานข้อมูลขนาดใหญ่และพนักงาน ให้สามารถสื่อสาร และส่งข้อมูลระหว่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งแบบบุคคลต่อบุคคล (person-to-person) บุคคลต่อเครื่องจักร (person-to-machine) และเครื่องจักรต่อเครื่องจักร (machine-to- machine)

foxconn

พร้อมกันนี้ FII ยังได้นำกลยุทธ์ “Smart Manufacturing + Industrial Internet” มาปรับใช้ ซึ่งประกอบด้วยการนำเทคโนโลยีเซ็นเซอร์, ระบบขนส่งอัจฉริยะ และระบบควบคุมอุตสาหกรรมอัตโนมัติมาปรับใช้ร่วมกัน โดยโรงงานและสายการผลิตส่วนใหญ่ของ FII ได้ติดตั้งระบบอัตโนมัติแบบเต็มรูปแบบ ซึ่งหลายโรงงานเป็นโรงงานที่ทำงานแบบ “Light-off” ที่ใช้หุ่นยนต์ในการทำงานแบบเต็มระบบ ซึ่งจากการใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตอุตสาหกรรมคู่กับระบบปฏิบัติการคลาวด์ ช่วยให้ FII สามารถลดค่าใช้จ่าย ปรับปรุงคุณภาพการผลิต ลดการใช้พลังงาน และเพิ่มความปลอดภัยให้กับข้อมูลและการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ เทนเซ็นต์ คลาวด์ และ FII ยังได้ร่วมมือกันในการนำกลยุทธ์ด้านการผลิตของ FII มาพัฒนาให้เกิดขึ้นจริงให้กลายเป็นแพลตฟอร์มคลาวด์สำหรับอุตสาหกรรมที่มีประสิทธิภาพสูง โดยแพลตฟอร์ม Foxconn Industrial Cloud Platform (FII Cloud) เป็นการผสานการทำงานระหว่างเทคโนโลยีด้านการปฏิบัติการ และเทคโนโลยีด้านสารสนเทศน์ เพื่อสร้างระบบเชื่อมต่อสื่อสารที่มีความปลอดภัยระหว่างโรงงานผลิต และ FII Cloud ด้วยการใช้ระบบนิเวศน์ด้านอินเทอร์เน็ตจากเทนเซ็นต์ (Tencent Internet Ecosystem)

tencentcloud_smartmanufactu

โดยทาง FII ได้ปรับใช้ส่วนประกอบและแอปพลิเคชันหลายรายการบนแพลตฟอร์มของบริษัทฯ ด้วยเทคโนโลยี BEACON บนระบบของเทนเซ็นต์ คลาวด์ ซึ่งช่วยให้การเข้าถึงระบบของโรงงานที่อยู่ในพื้นที่ที่ต่างกันนั้นสามารถทำได้จริงอย่างราบรื่นและไร้รอยต่อ

“เทนเซ็นต์ คลาวด์ เล็งเห็นถึงความสำคัญของการร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการ ภาคการผลิตของไทย เราพร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันให้ทุกองค์กรเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

ด้วยโครงสร้างพื้นฐานด้านศูนย์ข้อมูลอันแข็งแกร่งของเทนเซ็นต์ทำให้สามารถผสานการทำงานระบบปฎิบัติการคลาวด์ กระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big data analytics) ปัญญาประดิษฐ์ (AI) รวมถึง Internet of Things (IoT), ความปลอดภัย และเทคโนโลยีอันทันสมัยอื่นๆ เข้ากับบริบทการทำงานของธุรกิจเพื่อการดำเนินงานอย่างชาญฉลาด

และด้วยโซลูชันคลาวด์อัจฉริยะต่างๆ เหล่านี้ จะช่วยให้ผู้ประกอบการธุรกิจภาคการผลิตสามารถปรับการดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับสภาพการแข่งขัน และแนวโน้มที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมการผลิต พร้อมกับเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตให้สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกอีกด้วย” มร. ชาง กล่าวสรุป

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook