"นาซ่า" เตรียมส่งยานอวกาศหลายลำ สำรวจ-พุ่งชน "ดาวเคราะห์น้อย"

"นาซ่า" เตรียมส่งยานอวกาศหลายลำ สำรวจ-พุ่งชน "ดาวเคราะห์น้อย"

"นาซ่า" เตรียมส่งยานอวกาศหลายลำ สำรวจ-พุ่งชน "ดาวเคราะห์น้อย"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐฯ หรือ นาซ่า (NASA) เตรียมส่งยานอวกาศหลายลำเพื่อออกไปสำรวจดาวเคราะห์น้อย และยังเตรียมนำยานเข้าพุ่งชนดาวเคราะห์น้อยบางดวงอีกด้วย

กำหนดการส่งยานอวกาศของนาซ่านั้นจะเริ่มด้วยยานอวกาศ ลูซี่ (Lucy) ที่จะทะยานขึ้นฟ้าก่อนเช้ามืดในวันเสาร์นี้ เพื่อไปสำรวจดาวเคราะห์น้อยใกล้กับดาวพฤหัสเป็นเวลานานถึง 12 ปี ซึ่งดาวเคราะห์น้อยใกล้กับดาวพฤหัสนี้ถือได้ว่าเป็นกลุ่มดาวเคราะห์น้อยที่กุมความลับของต้นกำเนิดของระบบสุริยะจักรวาล ที่ไม่เคยมีการสำรวจมาก่อน

หลังจากนั้นอีกเพียงไม่ถึงหนึ่งเดือน ยานอวกาศชื่อ ดาร์ท (DART) จะปฏิบัติภารกิจเพื่อเปลี่ยนวงโคจรของดาวเคราะห์น้อยคู่ (double asteroids) เป็นการทดสอบปฏิบัติการเพื่อสกัดไม่ให้ดาวเคราะห์น้อยเหล่านั้นพุ่งชนโลกในอนาคต

ส่วนในฤดูร้อนปีหน้า นาซ่าเตรียมส่งยานอวกาศอีกลำหนึ่งเพื่อไปสำรวจดาวเคราะห์น้อยที่มีแร่นิกเกิลและธาตุเหล็ก ที่เชื่อว่าอาจจะเป็นแกนกลางของสิ่งที่เคยเป็นดาวเคราะห์ดวงหนึ่งในอวกาศ และยังมียานอวกาศลำเล็กกว่าที่ไปด้วยกัน ที่จะแยกออกไปสำรวจดาวเคราะห์น้อยคู่ชุดอื่นๆ อีกด้วย

Lucy: Inspiration and Asteroids Lucy: Inspiration and Asteroids

นอกจากนี้ในปี 2023 แคปซูลอวกาศลำหนึ่งจะถูกปล่อยจากอวกาศลงมายังทะเลทรายในรัฐยูทาห์ โดยจะนำเอาตัวอย่างของดาวเคราะห์น้อยลงมาด้วย ตัวอย่างดาวเคราะห์น้อยดังกล่าวเป็นตัวอย่างแรกที่นาซ่าใช้หุ่นยนต์ OSIRIS-REX ขุดในปีที่ผ่านมา จากดาวเคราะห์น้อยที่ชื่อว่า เบนนู (Bennu) ที่อาจจะเป็นอันตรายต่อโลกมนุษย์ในอีกสองถึงสามร้อยปีข้างหน้า

โธมัส ซูร์บูเคน หัวหน้าภารกิจทางวิทยาศาสตร์ของนาซ่า กล่าวว่าดาวเคราะห์น้อยแต่ละดวงที่ยานอวกาศของนาซ่าจะไปสำรวจนั้น จะสามารถบอกเล่าเรื่องราวของมนุษย์ และเรื่องราวของระบบสุริยะจักรวาล ซึ่งถือกำเนิดขึ้นเมื่อ 4,600 ล้านปีก่อน ซึ่งดาวเคราะห์น้อยไม่ต่างอะไรจากซากฟอสซิลที่จะสามารถบ่งบอกถึงการก่อกำเนิดของดาวเคราะห์ได้

นอกจากองค์การนาซ่าแล้ว จีนและรัสเซียยังร่วมมือกันเตรียมภารกิจสำรวจดาวเคราะห์น้อยในปลายทศวรรษนี้อีกด้วย เช่นเดียวกับประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

The nearly fully assembled, the 13-foot tall Lucy spacecraft is lifted back to its dolly as the Lockheed Martin team in Denver, Colorado continues production. The nearly fully assembled, the 13-foot tall Lucy spacecraft is lifted back to its dolly as the Lockheed Martin team in Denver, Colorado continues production.

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการออกแบบ เป็นเหตุผลหนึ่งที่เกื้อหนุนการปฏิบัติภารกิจสำรวจดาวเคราะห์น้อยที่ว่านี้ เช่นเดียวกับความสนใจในดาวเคราะห์น้อยและอันตรายที่ดาวเหล่านี้อาจจะมีต่อโลก หลุมบ่อบนดวงจันทร์เป็นตัวอย่างหนึ่งของผลกระทบที่เกิดจากการพุ่งชนของดาวเคราะห์น้อย

การปล่อยยานอวกาศ DART ในวันที่ 24 พฤศจิกายน เพื่อเข้าพุ่งชนดาวเคราะห์น้อย เป็นการทดสอบการป้องกันตนเองในอวกาศที่คาดว่าจะน่าทึ่งและน่าตื่นเต้น หากเป็นไปด้วยดี การพุ่งเข้าชนดาวเคราะห์น้อยที่ว่านี้จะเกิดขึ้นในช่วงฤดูใบไม้ร่วงปีหน้า ห่างจากโลกไป 11 ล้านกิโลเมตร และสามารถมองเห็นได้จากกล้องโทรทรรศน์บนโลก

ในขณะที่ภารกิจของลูซี่นั้น เป็นภารกิจที่ใช้เวลานานกว่า และใช้เงินทุน 981 ล้านดอลลาร์ ลูซี่จะมุ่งไปที่กลุ่มดาวเคราะห์น้อย 8 ดวงในกลุ่มดาวเคราะห์น้อยจำนวนนับไม่ถ้วนที่เรียกรวมกันว่า “คณะผู้ติดตามโทรจัน ” (Trojan entourage) ที่โคจรอยู่ด้านหน้าและตามหลังดาวพฤหัส นาซ่ามองว่ากลุ่มดาวเคราะห์น้อยโทรจันนี้น่าสนใจและพิเศษมากเพราะเป็นสิ่งที่หลงเหลือจากการก่อกำเนิดของดาวเคราะห์รอบนอกในจักรวาล

Lucy will be the first space mission to study the Trojan asteroids. Lucy will be the first space mission to study the Trojan asteroids.

แต่ก่อนที่จะไปสำรวจกับกลุ่มดาวเคราะห์น้อยโทรจันนี้ ยานลูซี่จะบินผ่านสายพานดาวเคราะห์น้อยระหว่างดาวอังคารและดาวพฤหัส ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ถือเป็นการซ้อมใหญ่ในปี 2025 ก่อนที่ภารกิจของยานลูซี่จะสิ้นสุดในปี 2033

ดาวเคราะห์น้อยในกลุ่มโทรจันนี้มีขนาดแตกต่างกันไป ตั้งแต่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 64 กิโลเมตร ไปจนถึงมากกว่า 100 กิโลเมตร

การตั้งชื่อภารกิจต่าง ๆ ของนาซ่านั้น มักจะเป็นตัวย่อของชื่อเต็ม เช่น DART มาจากชื่อเต็มของภารกิจ คือ Double Asteroid Redirection Test แต่ ยานลูซี่นั้น ไม่ใช่เป็นชื่อย่อแต่อย่างใด แต่เป็นชื่อของ "ลูซี่" ซากดึกดำบรรพ์ หรือฟอสซิลของบรรพบุรุษของมนุษย์เพศหญิงที่ถูกค้นพบในประเทศเอธิโอเปียในปี 1974 ซึ่งฟอสซิลลูซี่นั้น ได้รับแรงบันดาลใจมาจากเพลง Lucy in the Sky with Diamonds ของวง เดอะ บีทเทิลส์ อีกทอดหนึ่ง

แคธี โอลกิน นักวิทยาศาสตร์องค์การนาซ่าผู้ที่เสนอชื่อ ลูซี่ นั้นบอกว่า ฟอสซิลของ "ลูซี่" ได้เปลี่ยนแปลงความเข้าใจของคนเราในเรื่องวิวัฒนาการของมนุษย์ และองค์การนาซ่าก็คาดหวังว่ายานลูซี่จะปฏิวัติความเข้าใจเกี่ยวกับวิวัฒนาการของระบบสุริยจักรวาลของเราเช่นกัน จากการศึกษาดาว ก้อนหิน และวัตถุหลาย ๆ อย่างในอวกาศ

ยิ่งไปกว่านั้น ยานลูซี่ ยังมีเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ชิ้นหนึ่งที่ติดเพชรขนาด 6.7 กะรัดเอาไว้ และภายนอกของตัวยาน ยังมีป้ายที่สลักเนื้อเพลง Lucy in the Sky with Diamonds เอาไว้ พร้อมกับข้อความของจอห์น เลนนอน ที่บอกว่า “We all shine on ... like the moon and the stars and the sun" หรือ “เรายังเปล่งแสงต่อไป...เช่นเดียวกับพระจันทร์​ กลุ่มดวงดารา และพระอาทิตย์"

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook