‘อิลอน มัสก์’ นำทีมกูรูไอที วอนยุติพัฒนาปัญญาประดิษฐ์-อ้างสร้างความเสี่ยงต่อมนุษยชาติ

‘อิลอน มัสก์’ นำทีมกูรูไอที วอนยุติพัฒนาปัญญาประดิษฐ์-อ้างสร้างความเสี่ยงต่อมนุษยชาติ

‘อิลอน มัสก์’ นำทีมกูรูไอที วอนยุติพัฒนาปัญญาประดิษฐ์-อ้างสร้างความเสี่ยงต่อมนุษยชาติ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

อิลอน มัสก์ ซีอีโอเทสลา และผู้เชี่ยวชาญด้านปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI รวมทั้งบรรดาผู้บริหารในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี ออกหนังสือเปิดผนึก เรียกร้องให้ระงับการพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ที่ทรงพลังกว่า GPT-4 โปรแกรมปัญญาประดิษฐ์รุ่นล่าสุดของบริษัทโอเพนเอไอ (OpenAI) เป็นเวลา 6 เดือน โดยอ้างเหตุผลว่าเป็นความเสี่ยงต่อสังคมและมนุษยชาติ ตามรายงานของรอยเตอร์

gettyimages-1395043509

หนังสือเปิดผนึกจากองค์กรไม่แสวงผลกำไร Future of Life Institute ลงนามโดยผู้เชี่ยวชาญด้านปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI รวมทั้งบรรดาผู้บริหารในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีมากกว่า 1,000 คน อาทิ นักวิจัยจากบริษัทดีพไมน์ (DeepMind) โยชัว เบนจิโอ ที่ได้รับการขนานนามว่าเป็นหนึ่งใน “เจ้าพ่อแห่งปัญญาประดิษฐ์” รวมทั้งมัสก์ ซึ่งรถขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าของบริษัทเขาใช้ AI ในระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติ เรียกร้องให้ระงับการพัฒนา AI จนกว่าจะมีการจัดทำกฎระเบียบเกี่ยวกับการออกแบบปัญญาประดิษฐ์ การพัฒนา การนำไปปฏิบัติ และได้รับการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญอิสระ

บางส่วนของหนังสือเปิดผนึกนี้ ระบุว่า “ระบบปัญญาประดิษฐ์อันทรงพลังควรได้รับการพัฒนาเมื่อเรามั่นใจได้ว่าสิ่งเหล่านี้จะส่งผลกระทบเชิงบวกและความเสี่ยงอยู่ในระดับที่สามารถบริหารจัดการได้”

รายละเอียดของหนังสือเปิดผนึกนี้ ยังอธิบายถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ต่อสังคมในแง่ที่ว่าระบบปัญญาประดิษฐ์ที่มีการทำงานแข่งขันกับมนุษย์จะทำให้เกิดการหยุดชะงักในด้านเศรษฐกิจและการเมือง และเรียกร้องให้ผู้พัฒนา AI ทำงานร่วมกับผู้กำหนดนโยบายในเรื่องการออกมาตรการควบคุมเพิ่มเติม

อ้างอิงจากข้อมูลของหน่วยงานด้านความโปร่งใสของสหภาพยุโรป องค์กรไม่แสวงผลกำไร Future of Life Institute ได้รับเงินสนับสนุนหลักจาก Musk Foundation, Founders Pledge และ Silicon Valley Community Foundation

istock-1456545135

เมื่อต้นเดือนมีนาคม บริษัทโอเพนเอไอที่ได้รับเงินทุนสนับสนุนจากบริษัทไมโครซอฟท์ (Microsoft) เปิดตัวโปรแกรมปัญญาประดิษฐ์ GPT (Generative Pre-trained Transformer) รุ่นที่ 4 ในชื่อ GPT-4 ซึ่งสร้างความฮือฮาให้กับผู้ใช้งานด้วยศักยภาพอันหลากหลาย ตั้งแต่การตอบโต้ด้วยสนทนาคล้ายมนุษย์ไปจนถึงการประพันธ์เพลงและสรุปความเอกสารยาวเหยียดได้ดั่งใจ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook