รีวิว Canon EOS 1D Mark III

รีวิว Canon EOS 1D Mark III

รีวิว Canon EOS 1D Mark III
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
Canon ได้เพิ่มความร้ายกาจให้กับกล้องระดับโปรในตระกูล 1D ด้วยเซ็นเซอร์ขนาด 10 ล้านและความสามารถในการถ่ายด้วยความเร็ว 10 ภาพต่อวินาที Marcus Hawkins จะทดสอบกล้อง SLR ที่เก็บภาพได้เร็วที่สุดในโลกให้คุณได้ชม

>> รูปลักษณ์ภายนอกที่เน้นอาจทำให้คุณหลงกลได้ เนื่องจากอาวุธตัวใหม่ล่าสุดของ Canon นั้นอาจดูไม่แตกต่างจากกล้อง SLR ตัวอื่นในตระกูล 1 เท่าใด แต่ที่แน่นอนก็คือยักษ์ใหญ่แห่ง ญี่ปุ่นได้นำเอาข้อเสนอแนะจากช่างภาพดิจิตอลทั้งหลายไปปรับปรุงกล้อง SLR ที่ทำงานเร็วที่สุด ของตนเพื่อทำในสิ่งที่เหนือจินตนาการ ขณะที่เปลือกนอกของกล้องดูแข็งแรงขนาดที่เอาใช้ไปแทน ค้อนตอกหมุดเต็นท์ได้ องค์ประกอบส่วนอื่นที่มีอยู่ในรุ่น Mark II ก็ได้รับการนำไปวิเคราะห์เพื่อ พัฒนา ปรับเปลี่ยน และตัดส่วนที่ไม่จำเป็นออก มันคือกล้องที่ออกแบบขึ้นโดยคำนึงถึงตากล้อง ในยุคปัจจุบันเป็นหลัก ตั้งแต่แบตเตอรี่ที่ขนาดเล็กลง เบาขึ้น จนถึงจอ LCD ขนาด 3 นิ้วที่ทำงาน แบบ Live View ซึ่งแม้แต่สายคล้องคอก็ได้รับการออกแบบใหม่เช่นกัน แม้ว่าช่องมองภาพและกริปด้ามจับอาจจะยังให้ความสบายได้เช่นเดียวกับ Nikon D2X แต่มันก็เป็นกล้องที่พอดีมือได้อย่างเหมาะเจาะ ตำแหน่งของปุ่มปรับทั้งหลายนั้นออกแบบได้ เหมาะสมและตอบสนองการใช้งานของกล้องได้มากกว่า 1D และ 1Ds Mark II นอกจากนั้น Canon ยังได้ลดจำนวนปุ่มลงและเปลี่ยนวิธีการทำงานแบบใช้สองปุ่มกดกับหนึ่งปุ่มหมุน มาเป็นการกดปุ่มหนึ่งครั้งและหมุนปุ่มปรับเพื่อสั่งการทำงานหลัก ซึ่งทำงานได้สะดวกกว่าเดิม ปุ่มปรับ ISO ที่เพิ่มเข้ามาใหม่นั้นอยู่ในตำแหน่งขวามือด้านบน และช่วยให้คุณทำงานด้วยมือ ข้างเดียวได้อย่างรวดเร็วในเวลาที่รีบเร่ง

ด้านล่างซ้ายของจอ LCD คือปุ่มแสดงภาพซึ่งอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการสั่ง ให้แสดงค่าฮิสโตแกรมหรือเพื่อตรวจดูความคมชัดของภาพบนจอที่มีขนาดใหญ่กว่าเดิม มีปุ่มล็อกออโต้โฟกัสมาแทนปุ่มย้อนกลับสู่จุดโฟกัสเดิม (focus-point return) (ซึ่งฟังก์ชันที่มีประโยชน์นี้ยังสามารถสั่งงานผ่านปุ่ม multi-controller ที่อยู่เหนือปุ่มหมุน quick control dial ได้) อันที่จริง สิ่งเดียวที่ต้องใช้เวลาทำความคุ้นเคยอยู่บ้างก็คือระบบออโต้โฟกัส เราไม่ได้หมายถึงประสิทธิภาพ ของมันที่คุณต้องทำความคุ้นเคย เพราะมันทำงานได้ดีและรวดเร็วอยู่แล้ว กล้องสามารถล็อกโฟกัสและจับโฟกัสตามวัตถุขนาดเล็กในเฟรมได้อย่างแม่นยำระหว่างที่เราทดสอบ แต่เรา หมายถึงวิธีการปรับเลือกจุดโฟกัสที่คุณต้องปรับตัวให้คุ้นเคย การทำงานบางอย่าง คุณสามารถกำหนดได้ตามต้องการ เช่น ต้องการให้มีจุดโฟกัสเก้าจุดตรงกลาง (inner ring) หรือเฉพาะรอบนอก (outer ring) หรือทั้งสองชนิด อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่าการย้อนกลับ สู่จุดโฟกัสเดิม (focus-point return) สามารถกำหนดได้ด้วยปุ่ม muti-controller จึงทำให้ การถ่ายภาพแนวตั้งของกล้องตัวนี้ค่อนข้างยุ่งยากกว่า Mark II เพราะว่ามันมีปุ่มเดียวและ ใช้นิ้วโป้งเอื้อมถึงค่อนข้างลำบาก ตัวเลือกในเมนูที่ใช้ในการปรับวิธีการโฟกัสให้เหมาะสมกับการทำงานของคุณนั้นมีให้ เลือกมากมาย เช่น การเปลี่ยนค่า priority ของการถ่ายในแบบ AI Servo/Continuous (มี priority ให้เลือกระหว่าง tracking, drive speed หรือ shutter release) หรือการปรับค่าความไว (sensitivity) ของ AI servo tracking และการปรับค่าที่ละเอียดมากในการโฟกัสของเลนส์ ที่ต่างกันไปแต่ละตัว อันที่จริงผู้ที่เคยใช้ 1D Mark II คงจะต้องใช้เวลาทำความคุ้นเคยกับ วิธีการใช้งานเมนูแบบใหม่และการตั้งค่าให้เหมาะกับการใช้งานของแต่ละคน ส่วนใครก็ตาม ที่ยังไม่เคยใช้งานกล้อง Canon ระดับโปรแล้วล่ะก็ บอดี้ของมันอาจจะดูน่าเกรงขามสำหรับ การยกขึ้นมาใช้งานอยู่บ้าง อีกอย่างที่มีประโยชน์ก็คือคุณสามารถกำหนดตัวเลือกในเมนู ที่คุณใช้งานบ่อยแล้วบันทึกไว้ใน My Menu ได้ รวมถึงการตั้งค่าตามการใช้งานตามความต้องการของผู้ใช้ (customisation) ก็สามารถกำหนดได้ถึงสามแบบ

ระบบทำความสะอาดเซ็นเซอร์ โหมดการทำความสะอาดเซ็นเซอร์ของ Mark III มองข้ามฝุ่นที่เกาะอยู่ไปหลายจุดระหว่าง ที่เราทดสอบ อีกทางเลือกหนึ่งคือทำความสะอาดเซ็นเซอร์ด้วยตัวคุณเอง จอ LCD ขนาดสามนิ้ว หน้าจอใหม่ช่วยให้การเลือกคำสั่งบนเมนูและการชมภาพเป็นเรื่องที่น่ายินดี การเลือกดู ภาพได้ด้วยมือเพียงข้างเดียวเป็นลูกเล่นที่เพิ่มขึ้นมาใหม่เช่นกัน ทำงานด้วยปุ่มเดียว มีไม่กี่ครั้งที่คุณจำเป็นต้องกดปุ่มพร้อมกันสองครั้งและหมุนปุ่มปรับเพื่อเลือกค่าในการทำงาน แต่เมื่อใดก็ตามที่คุณคุ้นเคยกับการทำงานแบบใหม่ มันจะช่วยให้คุณทำงาน ได้เร็วขึ้นราวสายฟ้าแลบ การควบคุมแฟลช คุณสามารถใช้เมนูบนหน้าจอของกล้องควบคุมการทำงานของแฟลช Speedlite ตระกูล Ex รวมทั้งการทำงานอย่างอื่นด้วย แต่ควรตรวจสอบในคู่มือของแฟลชดูก่อนว่า ใช้งานร่วมกับกล้องได้หรือไม่ การแสดงค่า ISO Mark III มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับ 1D Mark II N ที่แสดงค่า ISO ให้เห็นในช่องมองภาพ คุณจึงไม่จำเป็นต้องละสายตาจากช่องมองภาพเพื่อมาปรับค่า ISO เปรียบเทียบความแตกต่าง 1. จอ LCD เรารู้สึกว่าจอตัวใหม่บนแผงหลังนี้ดูสบายตากว่าเดิม แต่ควรพกผ้าติดไว้เช็ดรอยนิ้วมือเสมอ 2. การจัดวางปุ่ม การจัดวางปุ่มเสียใหม่และแยกปุ่มทั้งหลายตามหน้าที่การทำงานทำให้ถ่ายภาพได้สะดวกกว่าเดิม การกดดูภาพด้วยมือเดียวได้เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีมาก 3. แป้นหมุน quick control การเพิ่มปุ่ม Set เข้าไป (ซึ่งสามารถกำหนดหน้าที่ในการสั่งงานได้) มีประโยชน์ไม่น้อย นอกจากนั้นยังมีปุ่ม dial lock ที่มองข้ามไปได้ง่ายถ้าไม่สังเกตให้ดี 4. ปุ่มบริเวณนิ้วโป้ง ปุ่มที่ช่วยให้คุณกลับสู่จุด AF ที่ตั้งไว้ก่อนหน้าได้ทันที ขณะนี้ถูกแทนที่ด้วยปุ่มควบคุม AF ไปแล้วตามคำเรียกร้อง ความเร็วในการถ่ายสูงสุดของ Mark III นั้นอยู่ที่ 10 ภาพต่อวินาที คุณสามารถถ่ายด้วยความเร็วนี้ ไปได้จนกว่าแบตเตอรี่จะหมด ความเร็วในการถ่ายสามารถปรับลดได้ถ้าคุณไม่ต้องการถ่ายด้วย ความเร็วขนาดนั้น Mark III ยังมีโหมด S ที่เพิ่มเข้ามาใหม่เพื่อถ่ายภาพเดียวแบบ ไร้เสียง ซึ่ง เป็นตัวเลือกนอกเหนือจากการถ่ายภาพเดียวตามปกติ Mark III ยังเป็นกล้องตัวแรกในบรรดากล้อง DSLR ทั้งหมดที่ Canon ใส่ฟังก์ชัน Live View เข้าไป กระจกสะท้อนแสงจะต้องถูกล็อกอยู่กับที่เวลาทำงานในฟังก์ชันนี้ ส่วนการวัดแสงจะ ถูกตั้งให้เป็นแบบค่าเฉลี่ย และคุณสามารถโฟกัสแบบแมนวลได้เพียงอย่างเดียว (สามารถขยาย ส่วนของภาพขึ้นมาดูได้ซึ่งเราพบว่ามันทำงานได้ดีทีเดียว) การทำงานแบบนี้นั้นเหมาะสำหรับฉาก ที่มีวัตถุในภาพจำนวนมาก จอขนาด 3 นิ้วช่วยให้เห็นภาพด้วยมุมที่กว้างขึ้น ขณะที่เส้นแบ่งบน หน้าจอช่วยให้จัดวางวัตถุในภาพได้ดีขึ้นในยามที่คุณต้องถือกล้องด้วยมุมที่ไม่ปกติ ภาพถ่ายที่ ISO สูงและเปิดรับแสงนานดูจะมีสัญญาณรบกวนให้เห็นเล็กน้อยในส่วนของบริเวณที่เป็นเงาดำ คุณภาพของรูปถ่ายที่กล้องตัวนี้ถ่ายทอดออกมาได้นั้นต้องจัดว่าน่าทึ่งเลยทีเดียว ภาพออกมานุ่มนวลราวกับแพรไหมที่ ISO 100-200 มีสัญญาณรบกวนต่ำที่ ISO 400 ส่วนที่ ISO สูงกว่าก็ยังจัดว่าทำได้ดีมาก และ ISO 1600 เปิดโอกาสให้คุณเก็บภาพเคลื่อนไหวความเร็วสูง ที่สภาพแสงต่ำในระดับคุณภาพที่ยอมรับได้ ไฟล์ภาพที่ได้มีคุณภาพงดงามรวมไปถึงการนำภาพ ไปอัดเป็นรูปถ่ายด้วย แม้ว่าคุณจะต้องลำบากกับการถ่ายภาพเป็นไฟล์ RAW เพื่อจะได้ดึงเอา ศักยภาพของกล้องตัวนี้ออกมาอย่างเต็มที่ แต่ผลลัพธ์ที่ได้ออกมาถือว่าคุ้มค่า คู่แข่ง Nikon D2Xs ราคา 2,480 ปอนด์ วางใจได้เรื่องความแข็งแกร่ง ถ่ายได้เร็วสูงสุดที่ 5fps มี Noise รบกวนที่ ISO สูงที่อาจเป็นปัญหาได้ 90% การไฟกัสและไดรฟ์ ต้องขอบคุณความสามารถในการเก็บภาพด้วยความเร็วสูง ด้วยการกด เพียงครั้งเดียวที่ทำให้คุณสนุกกับการปรับแต่งภาพไปได้อีกนาน ฟังก์ชัน Live View ความพยายามครั้งแรกที่น่าประทับใจของ Canon การทำงานแบบ Macro นั้นรวดเร็วทันใจ จอภาพคมชัดและแสดงภาพที่ทำการโฟกัสได้ฉับไว สภาพแสงต่ำ ความสามารถในการเก็บภาพที่ ISO สูงทำให้คุณสามารถถ่ายโดย ไม่ต้องใช้ขาตั้ง มี Noise เกิดขึ้นบ้างที่ ISO 1600 แต่ก็ควบคุมได้เป็นอย่างดี The Specs ติดต่อ www.canon.co.th ราคา 3,050 ปอนด์ เซ็นเซอร์ 10.1 ล้านพิกเซล 28.1 x 18.7 มม. ระยะโฟกัส SLR 1.3x เลนส์เมาท์ SLR Canon EF เมมโมรี่การ์ด CF, SD ไม่มีแถม ช่วง ISO 100-3,200 (ขยายได้เป็น 50-6400) โหมดการเปิดรับแสง Program, Aperture Prioriy, Shutter Priority, Manual โหมดการวัดแสง เฉลี่ย (63 โซน) หนักกลาง เฉพาะส่วน เฉพาะจุด โหมดการโฟกัส AF 45-จุด แบบเลือก AF ออโต้หรือแมนวล, one shot AF, AI Servo, แมนวล ความไวชัตเตอร์ 30-1/8,000 วินาที แฟลชซิงค์ 1/300 วินาทีเมื่อใช้ร่วมกับ Speedlites Ex-series โหมดการถ่ายภาพ Single, single แบบไร้เสียง, continuous high (เฉลี่ย 10fps), continuous low (เฉลี่ย3fps), ตั้งเวลาถ่าย ถ่ายต่อเนื่องสูงสุด 110 ภาพ JPEG ขนาดใหญ่ 30 ภาพ RAW จอ LCD จอ LCD สี ขนาด 3 นิ้ว น้ำหนัก 1155 กรัม โดยประมาณ แบตเตอรี่ แบตชาร์จ Lithium-ion LP-E4 ระยะการใช้งานแบต 230 รูป มาตรฐาน CIPA การโอนย้ายข้อมูล USB 2.0 วิดีโอ PictBridge ซอฟต์แวร์ ZoomBrowser EX/ImageBrowser The Ratings คุณสมบัติเด่น เต็มไปด้วยคุณสมบัติหลายอย่างที่คุณสามารถกำหนดการทำงานเองได้ ซึ่งทำให้งานถ่ายภาพ ของช่างภาพเป็นเรื่องง่ายดายยิ่งขึ้น สมรรถภาพ ทำงานได้รวดเร็ว ให้ภาพที่คุณต้องตะลึง เป็นกล้องที่หาข้อตำหนิแทบไม่ได้ การใช้งาน ทำงานรวดเร็ว ตอบสนองทันใจ มีเพียงปุ่มกดบางตัวที่ไม่ถนัดมือและหน้าเมนูบางอย่างที่ทำให้ การทำงานไม่สะดวกเท่าที่ควร คุณภาพการผลิต แข็งแรงดั่งก้อนหิน แม้ว่าตัวปิดช่องเชื่อมต่ออาจไม่แน่นสนิทนัก ความคุ้มค่าเงิน สมรรถภาพในการถ่ายทอดภาพถ่ายที่ไม่มีกล้องตัวใดเสมอเหมือนนั้นอาจเป็นสิ่งที่หาที่เปรียบมิได้สำหรับใครบางคน คำตัดสินของ Digital Camera สร้างแรงบันดาลใจได้อย่างมั่นใจ เป็นผลงานการผลิตที่งดงาม ราคาอาจจะเป็นอุปสรรคสำหรับ หลายคนแต่มันคืออุปกรณ์ที่แม่นยำในการทำงานสำหรับช่างภาพที่มีความต้องการสูง ช่างภาพกีฬา ชีวิตสัตว์ หรือนักข่าวคงไม่ปฏิเสธความพิเศษของมัน เพียงแค่นึกถึงสิ่งที่ 1Ds Mark III สามารถให้คุณได้เพียงเท่านั้น 94% เพราะผมนอนราบกับพื้นจึงไม่สามารถมองเหนือกล้องได้ ผมจึงเปิดใช้ฟังก์ชัน Live View แทนเพื่อจะได้จับตาดูว่ากระต่ายตัวนี้จะเดินผ่านกอหญ้าเมื่อไหร่ ผมสังเกตเห็นอย่างหนึ่ง ว่ากล้องจะเริ่มร้อนหากเปิดทิ้งไว้เกิน 20 นาทีซึ่งจะทำให้เกิดสัญญาณรบกวนในภาพ มากขึ้นอันมาจากตัวเซ็นเซอร์ นอกจากนั้นผมยังเห็นว่าหน้าจอมีสีเหลืองมากไปเล็กน้อย และมักจะแสดงภาพที่มืดกว่าที่เห็นจากช่องมองภาพอยู่ 1 สต็อป ทดสอบใช้งานจริง Canon EOS 1D Mark III Andy Rouse ช่างภาพชีวิตสัตว์ป่าผู้กวาดรางวัลมาแล้วมากมายจะนำกล้องตัวฉกาจ ของ Canon ไปทดสอบว่ามันเป็นกล้องตัวสุดยอดสำหรับช่างภาพแอ็คชั่นหรือไม่ ไม่บ่อยนักที่เราจะเห็นลูกเล่นการทำงานใหม่ๆ หลายอย่างเพิ่มเข้ามาในกล้องตัวใหม่ ผมรู้ว่า 1D Mark III สามารถทำอะไรได้หลากหลายแต่คำถามของผมก็คือ มันจะทำได้ดีอย่างที่ คุยไว้หรือเปล่า? เวลาผมทดสอบกล้องตัวใหม่ ผมจะนำมันไปใช้งานจริงแบบเดียวกับที่ผมทำ เป็นอาชีพทุกวันซึ่งทำให้มันต้องตอบสนองความต้องการที่สูงมากและใช้เวลาไม่นานก็รู้ได้เลยว่าคุณสมบัติการทำงานที่คุยไว้นั้นทำงานได้จริงอย่างที่ควรจะเป็นหรือเปล่า สิ่งแรกที่ผมรู้สึกได้คือน้ำหนักที่เบาของกล้องเนื่องจากแบตเตอรี่ที่มีขนาดเล็กลง และไม่ได้หมายความว่ามันมีอายุการทำงานลดลงแต่อย่างใด เพราะผมพบว่ามันได้รับการ ปรับปรุงให้มีอายุการใช้งานที่นานกว่าเดิม ใช้ถ่ายทั้งวันได้สบาย (แต่มีข้อแม้ว่าไม่เปิดใช้ฟังก์ชัน Live View)

ความน่าสนใจหลักของกล้องตัวนี้ที่ถูกเน้นก็คือการปรับปรุงในส่วนของระบบออโต้โฟกัส และคุณภาพของรูปถ่ายที่ดีกว่าเดิม ดังนั้นผมจึงมุ่งไปที่การทดสอบสองจุดนี้เป็นหลัก มาเริ่มกันที่ ระบบออโต้โฟกัสกันก่อน บอกได้คำเดียวว่า - สุดยอดมาก หรือถ้าจะพูดให้ถูกต้องก็คือ สุดยอด มากเมื่อคุณรู้ว่ามันใช้งานอย่างไร! ระบบ AF ใหม่สามารถปรับแต่งได้ตามที่คุณต้องการ และมีไม่ต่ำกว่า 17 วิธีการควบคุมให้คุณกำหนดใช้งานได้เอง (Custom Function) ทันทีที่ผม แกะกล่องแล้วนำมันออกมาทดสอบโดยถ่ายภาพเหยี่ยวและนกอินทรีที่บินผ่านไปมา แรกเริ่มนั้น ผมรู้สึกแปลกใจกับระบบออโต้โฟกัสที่ทำงานไม่ได้ดีไปกว่ากล้องตัวอื่นๆ ที่ผมเคยใช้มาแต่อย่างใด หลังจากนั้นผมจึงลองอ่านคู่มือที่ให้มาพร้อมกล้อง (ซึ่งเป็นครั้งแรกสำหรับผม) และเริ่มปรับและ ทดลองการปรับตั้งค่าชนิดต่างๆ และบันทึกความแตกต่างของแต่ละประเภทไว้ ในที่สุดผมก็ได้ค่า การปรับตั้งหนึ่งชุดที่ทำงานเหมาะกับความต้องการของผมและปรากฏว่ามันทำงานได้ยอดเยี่ยม อย่างน่าทึ่ง ผมมั่นใจถึงขนาดที่นำไปลองถ่ายภาพประเภทที่คนปกติเขาไม่ทำกัน เช่นไม่ให้เวลา ระบบโฟกัสได้ล็อกโฟกัสในการถ่ายภาพที่เคลื่อนไหวด้วยความเร็วสูงมาก และผลที่ออกมาก็คือ บางครั้งไม่ได้ผลแต่ส่วนใหญ่มักจะได้ผล ถ้าถามว่าระบบการตั้งค่าเหล่านี้จะเป็นปัญหาหรือเปล่า ผมคิดว่าไม่น่าจะเป็นปัญหา แต่อย่างใดเพราะ Canon ตระหนักดีว่าความต้องการ ของแต่ละคนนั้นต่างกันและแต่ละ สถานการณ์ก็อาศัยวิธีการถ่ายที่ต่างกันไปเช่นกัน 1D Mark III ช่วยให้คุณสามารถกำหนด Custom Function ได้สามชุดและสามารถเปลี่ยนกลับไปมาได้สะดวก ผมจึงกำหนดชุดหนึ่งไว้ สำหรับภาพแอ็คชั่น อีกชุดหนึ่งสำหรับภาพนิ่ง ทั้งนี้ทั้งนั้นการเพิ่มตัวเลือก My Menu เข้ามาทำให้ คุณสามารถเลือกวิธีการถ่ายที่คุณใช้งานบ่อยได้อย่างง่ายดาย ทดสอบ ISO ผมลองถ่ายภาพหลายภาพด้วยค่า ISO ที่ต่างกัน โดยปกติแล้วผมจะไม่ถ่ายเกิน ISO 200 เพราะผมกังวลเรื่องของรายละเอียดและ Noise ตอนที่ผมถ่ายภาพนก Kingfisher นั้น มีแสงแดดบ้าง ไม่มีบ้าง ช่วงที่ไม่มีแดดแม่นกหันมาป้อนอาหารลูกอยู่ข้างหน้าผมพอดี ผมจึงต้องรีบถ่ายด้วย ISO 800 เพื่อจะได้เก็บภาพเคลื่อนไหวได้ทัน ผลลัพธ์ที่ได้จัดว่า เยี่ยม มีปริมาณ Noise ที่พอรับได้ (เมื่อเทียบกับ ISO 200 ที่ถ่ายด้วย 1Ds Mark II ของผมเอง) และมีรายละเอียดที่น่าประทับใจ ส่วน ISO 100 นั้นรับรองได้ว่าชัดเจน ราวกับผลึกคริสตัล ส่วนที่ ISO 1600 นั้น ISO 1600 มีบางภาพที่ผมถ่ายด้วย ISO 1600 โดยไม่ได้คาดหวังอะไรมาก ภาพที่ได้นับว่าใช้งานได้ ภาพแรกเป็นไฟล์จากต้นฉบับในกล้อง คุณจะเห็นว่ามันเก็บรายละเอียดได้ดีทีเดียว และก็ต้องยอมรับว่ามี Noise ให้เห็นพอสมควรในฉากหลัง แต่ก็เป็น Noise ที่พบได้ เป็นปกติและสามารถกำจัดออกด้วยโปรแกรมลด Noise อย่าง Noiseware อย่างที่ผม ใช้ปรับภาพทางขวามือ สดใสและชัดเจน แล้วคุณภาพของรูปที่ได้เป็นอย่างไรบ้าง? ในการทดสอบนี้คุณจะเห็นตัวอย่างหลายแบบ ที่แสดงให้เห็นถึงคุณภาพของรูปที่ออกมา และผมบอกได้เลยว่าไม่มีกล้องตัวไหนให้ไฟล์ได้ เช่นนี้มาก่อน ที่ ISO 100 ภาพนั้นคมชัด และไม่มี Noise ให้เห็น เช่นเดียวกับที่ ISO 200 ส่วนที่ ISO 400 ก็ไม่ต่างกันมากเท่าใด ที่ ISO 800 นั้นก็ยังนับว่าดีมาก และที่คุณเห็นไปแล้วในตัวอย่าง ISO 1600 ก็ไม่ได้เลวร้ายแต่อย่างใด ทั้งหมดนี้หมายความว่าผมสามารถถ่ายได้ในทุกสภาพแสง และยังได้ผลลัพธ์ที่ใช้งานได้ และผมยังสามารถถ่ายด้วยความเร็วชัตเตอร์ที่สูง ซึ่งเมื่อรวมกัน เข้ากับระบบ AF ใหม่แล้วทำให้ผมทดลองช็อตแอ็คชั่นเด็ดๆ ได้อีกมากมาย ข้อเสีย อย่างหนึ่งสำหรับผมคือขนาดไฟล์ เนื่องจาก 1D Mark III ถ่ายออกมาเป็นไฟล์ TIFF 8 บิต ขนาด 28MB ซึ่งไม่น่าประหลาดใจเพราะเป็นขนาดตามจำนวนพิกเซล เพียงแต่ผมนึกว่า มันจะมีขนาดไฟล์ใกล้เคียงกับ 5D ที่ 36MB ดังนั้นผมจึงลองนำภาพที่ได้ไปปรับใน Photoshop และพบว่ามันคมชัด สะอาดจนสามารถนำไป interpolate ได้ถึง 50MB อันที่จริง 28MB ใหญ่กว่า ที่ควรจะเป็นเพราะ 1D Mark III ใช้เซ็นเซอร์ 1.3x ซึ่งหมายความว่ามันมีขนาดใกล้กับภาพจริง (full frame image) ขึ้นอีก 30 เปอร์เซ็นต์ เพราะฉะนั้นถ้าคุณอยากได้ไฟล์ที่มีองค์ประกอบเดียวกับ ที่ได้จาก 5D คุณจะต้องครอปมันลงมา 30 เปอร์เซ็นต์ซึ่งจะได้ไฟล์ 24MB (ไฟล์ 47MB ของ 1Ds Mark II ให้ไฟล์ขนาด 32MB) เอาเข้าจริงแล้วไฟล์ 28MB ของ 1D Mark III ก็ไม่ได้เลวร้ายอะไร และไฟล์ก็มีคุณภาพดีกว่าที่ได้จากสองตัวที่กล่าวมา ในที่สุดแล้ว EOS 1D Mark III นับว่าให้ไฟล์ ที่มีคุณภาพดีที่สุดเท่าที่ผมเคยเห็นมา EOS 1D Mark III จัดว่าเป็นกล้องที่มีคุณสมบัติก้าวล้ำที่สุดเท่าที่วงการกล้องดิจิตอล SLR ได้มีมาในช่วงเวลาหลายปี และถึงแม้ว่ากล้องจะไม่ช่วยให้ฝีมือการถ่ายรูปของคุณดีขึ้น แต่มันช่วย เพิ่มโอกาสให้คุณไม่พลาดช็อตเด็ดถ้าคุณอยู่ถูกที่ถูกเวลาได้อย่างแน่นอน การถ่ายด้วยโหมด ไร้เสียง นั้นต้องอาศัยความคุ้นเคยสักเล็กน้อย เพราะมันเป็นการ เก็บภาพเดี่ยวที่ทำงานค่อนข้างช้า แต่มันช่วยให้ชัตเตอร์ทำงานนุ่มลงไปมาก เมื่อแม่เป็ดในภาพพาลูกๆ ว่ายเข้ามาใกล้ ผมรู้เลยว่าจะต้องเป็นภาพที่ยอดมาก ผมจึงเปิดโหมดชัตเตอร์แบบไร้เสียง (Silent Shutter Mode) และบรรจงถ่ายอย่างช้าๆ ระบบโฟกัสอัตโนมัติ ที่สุดของการทดสอบด้านการถ่ายภาพเหยี่ยวที่กำลังบินด้วยเร็วสูงสุด ผมเคยพยายาม มาแล้วหลายรอบแต่ไม่เคยประสบความสำเร็จ ครั้งนี้ขณะที่เจ้าเหยี่ยวร่อนลงมาด้วย ความเร็ว 80 ไมล์ต่อชั่วโมง ผมล็อกโฟกัสแล้วถ่ายตามเป็นชุด แต่ละภาพที่ออกมานั้น คมชัดไม่แพ้กัน และนี่คือสิ่งที่ผมไม่เคยประสบมาก่อนในชีวิต

สนับสนุนเนื้อหาโดย
นิตยสาร Digital Camera : Oct

อัลบั้มภาพ 9 ภาพ

อัลบั้มภาพ 9 ภาพ ของ รีวิว Canon EOS 1D Mark III

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook