รีวิว Canon PowerShot G7

รีวิว Canon PowerShot G7

รีวิว Canon PowerShot G7
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
กล้องในตระกูล G ของ Canon PowerShot นั้นมีกลุ่มเป้าหมายคือคนที่เล่นกล้องจริง PowerShot G7 คือกล้องตัวล่าสุดในตระกูล G ซึ่งเป็นกล้องคอมแพคท์รุ่นท๊อปของ Canon ที่ถูกสร้างขึ้นมา สำหรับตากล้องสมัครเล่นที่รักการถ่ายรูปอย่างจริงจัง หรือแม้แต่คนที่มีกล้อง SLR อยู่แล้วแต่อยากได้กล้องตัวที่สองเอาไว้ใช้งานพกพาสะดวก มันมาแทนกล้อง G6 รุ่นก่อนที่มีความละเอียดขนาด 7.1 ล้านพิกเซลที่มีขนาดใหญ่และดูเทอะทะกว่าซึ่งตรงข้ามกับรุ่น G7 ที่ตัวเครื่องสีดำดูหรูหรามีระดับ รูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ดูดีกว่าเดิมมาก แม้ขนาดจะไม่เล็กนัก แต่เมื่อตัวเลนส์หดกลับเข้าไปแล้วก็สามารถจับใส่กระเป๋าเสื้อของคุณได้สบาย นอกจากนั้นมันยังมีเลนส์ซูมขนาด 6 เท่า (รุ่น G6 มี 4 เท่า) และมีระบบป้องกันภาพสั่นไหว ซึ่งเป็นครั้งแรกของกล้องในตระกูล G นี้ คุณสามารถเพิ่มอะแดปเตอร์เลนส์มุมกว้าง หรือ เลนส์เทเลโฟโต้ ซึ่งเป็นอุปกรณ์เสริมเข้าไปได้โดยถอดแหวนครอบเลนส์ออกแล้วจึงติดตั้งมันเข้าไป และยังมีขาเสียบแฟลช (Hotshoe) สำหรับต่อไฟแฟลชของ Canon ได้อีกด้วย ภายในตัวกล้องก็ได้รับการปรับปรุงใหม่เช่นเดียวกันโดย G7 ใช้ระบบประมวลผลรุ่นใหม่แบบ GIGIC || ซึ่งช่วยให้การประมวลผลภาพถ่ายาทำได้เร็วขึ้น ทำให้เหมาะมากสำหรับภาพสิบล้านพิกเซลที่มีขนาดไฟล์ใหญ่และมีการเพิ่มระบบลด noise ที่ก้าวหน้ากว่าเดิม ช่วยให้เพิ่มค่า ISO ได้ถึง 1600 (และสูงถึง 3200 ในโหมด scene) ระบบตรวจจับใบหน้าคนแบบอัตโนมัติ (Face Detection AF) มาแรงมากในปัจจุบัน และ G7 ก็สามารถตรวจจับใบหน้าคนได้ถึงเก้าคนในหนึ่งเฟรม จากนั้นจึงปรับโฟกัสและการเปิดรับแสงให้อย่างเหมาะสม ถ้าคุณอยากถ่ายภาพเคลื่อนไหว คุณจะประทับใจกับโหมดถ่ายภาพเคลื่อนไหวความละเอียด 1,024 x 765 ซึ่งสูงกว่ามาตรฐาน แต่ที่ความละเอียดนี้จะถ่ายได้เพียง 15เฟรมต่อวินาที แต่ถ้าหากอยากได้ภาพเคลื่อนไหวที่นุ่มนวลกว่านั้น คุณต้องยอมลดความละเอียดลงมาที่ 540x480 ที่ความเร็วขนาด 30 เฟรมต่อวินาที แม้จะมีคุณสมบัติในการทำงานและลูกเล่นใหม่ๆ ที่โดดเด่น ท่ว่า G7 ก็ยังขาดคุณสมบัติบางอย่างที่ตากล้องหลายคนอยากได้ ข้อแรกเลนส์ซูมกว้างสุดที่ 35 มม. นั้นยังไม่ค่อยกว้างมากเท่าที่ควร ข้อสอง มันไม่มีโหมด RAW ซึ่งเป็นมาตรฐานในตระกูล G รุ่นก่อนหน้านี้ มันทำงานเป็นอย่างไรบ้าง การตั้งค่าในการถ่ายนั้นจะแสดงบนจอ LCD 2.5 นิ้วด้านหลัง ซึ่งมีมุมในการมองเห็นกว้าง ชัดเจนและสดใส ฟังก์ชั่นต่างๆ ปรับได้จากปุ่มปรับสามระดับทางด้านหลังเช่นกัน ตรงกลางปุ่มปรับทั้งหลายมีปุ่มชื่อ Func/Set และรอบๆ นั้นจะมีปุ่มปรับสี่ทิศทางซึ่งทำงานเป็นปุ่มลัดด้วยเช่นกัน ส่วนรอบนอกไปอีกชั้นหนึ่งนั้นจะเป็นวงแหวนหมุนปรับคำสั่ง ซึ่งเป็นแบบเดียวกับในกล้องแบบ DSLR รุ่น EOS ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่า ปุ่มปรับทั้งหมดทำงานอย่างที่มันควรจะเป็น อาจจะมีหลายครั้งที่คุณไม่สามารถ "รู้สึก" ได้ว่านิ้วคุณปรับถูกปุ่มหรือเปล่า และก็ต้องมองดูที่กล้องว่ากดปุ่มไหนอยู่ ส่วนปุ่มแหวนหมุนนั้นก็ไม่ติดมือพอ และเหมือนกับว่ายิ่งหมุนเร็วเท่าใดยิ่งเห็นผลบนจอไม่ตรงกับความต้องการเท่านั้น ยังมีบางอย่างที่ G7 อาจจะทำให้คุณสับสน เช่นเมื่อคุณกดปุ่ม Func เพื่อปรับ ไวท์บาลานซ์ ปรับขนาดหรือคุณภาพของภาพและการทำงานอื่นทั่วไป คุณก็จะต้องกดปุ่ม Func อีกครั้ง เพื่อให้จอเมนูนั้นหายไป ส่วนเมื่อคุณกดปุ่มปรับค่าชดเชยแสงเพื่อให้กล้องแสดงอัตราส่วนในการชดเชย คุณก้อต้องกดปุ่มเดิมอีกเพื่อให้หน้าจอนั้นหายไป และการทำงานนี้ก็ซ้ำกับปุ่ม Menu หากคุณลืมว่าเมื่อครู่นี้คุณกดปุ่มอะไรไปถึงได้มาอยู่ที่หน้าจอนี้ คุณก็จะเจอปัญหาว่าจะต้องกดปุ่มไหนต่อเพื่อย้อนกลับไป แต่เมื่อใช้งานไประยะหนึ่งคุณก็จะสามารถใช้งานได้เป็นอย่างดี การถ่ายที่ค่า ISO ต่ำๆ อย่าง 80 มี noise เกิดขึ้นให้เห็นอยู่บ้างอย่างเช่นในภาพท้องฟ้า และภาพที่มีความละเอียดของพื้นผิวอย่างเช่นน ภาพทิวทัศน์ธรรมชาติในระยะไกลและเห็นได้ถึงร่องรอยการกลบเกลื่น noise ซึ่งเป็นเรื่องปกติของกล้องที่มีระบบลด noise ในตัว ที่ ISO 400 จะเห็น noise ได้ชัดเจนขึ้นเมื่อพิมพ์ภาพบนกระดาษ A4 เช่นเดียวกับผลของการกลบเกลื่อน noise ด้วยระบบลด noise ส่วนที่ค่า ISO ที่สูงกว่านี้ คุณภาพของภาพที่ได้นั้นลดลงแต่ก็ยังอยู่ในมาตรฐานที่ใช้ได้ซึ่งในความเป็นจริงแล้วคุณก็ควรเลือกใช้ค่า ISO ที่ไม่สูงมากเวลาบันทึกภาพเพื่อป้องกันการเกิด noise และผลลัพธ์ต่างๆที่ไม่พึงประสงค์ขึ้นในภาพ อย่างไรก็ตามกล้อง G7 มีระบบวัดแสงที่โดยรวมแล้วจัดว่ายอดเยี่ยม รวมถึงค่าไดนามิกที่ทำได้ดี สีสันที่ถ่ายทอดออกมาก็ยอดเยี่ยม แต่การตั้งค่าไวท์บาลานซ์ไว้ที่อัตโนมัติก็ทำงานได้ค่อนข้างดีในการปรับโทนสีเย็นในวันที่เมฆหมอกจัด แต่เราต้องทำความเข้าใจกับเรื่องนี้ว่า ไม่ว่าจะเอากล้อง 10 ล้านพิกเซลตัวไหนมาส่องขยายแบบ 100 เปอร์เซนต์แล้ววิคราะห์กันนั้นเป็นเรื่องที่สามารถทำให้เราเข้าใจคลาดเคลื่อนได้ เพราะสิ่งที่สำคัญก็คือภาพที่อัดออกมานั้นดูแล้วเป็นอย่างไรต่างหาก เมื่ออัดออกมาในขนาด A4 แล้ว G7 จัดว่าทำได้ดีมากถ้าถ่ายที่ค่า ISO ไม่เกิด 400 และคุณภาพอาจจะเริ่มลดลงบ้างถ้าเลือกใช้ ISO ที่สูงกว่านั้น ซึ่งจะว่าไปแล้วนี่เป็นสิ่งที่ยอมรับได้สำหรับผู้คนส่วนใหญ่ ภาพถ่ายภายในอาคาร สามารถเลือกปรับช่วง ISO ที่มากขึ้นได้จากปุ่มด้านบน และการถ่ายในร่มที่มีแสงต่ำก็กลายเป็นเรื่องง่าย คุณภาพของภาพอาจจะลดลงบ้างถ้าตั้ง ISO สูงกว่า 400 สีผิว การตั้งค่าไวท์บาลานซ์แบบอัตโนมัติยังช่วยชดเชยแสงสีเย็นได้ไม่เพียงพอ การใช้โหมด 'Cloudy' กับภาพนี้ช่วยเพิ่มโทนสีผิวให้ดูอบอุ่นขึ้น ภาพถ่ายกลางแจ้ง ควรใช้โหมด Vivid อย่างระมัดระวัง G7 ทำให้ภาพหงส์นี้ขาดเงาไปบางส่วนและบางส่วนก็สว่างจ้าเกินไป อย่างไรก็ดี G7 เป็นกล้องที่อาจจะให้ภาพที่มีคุณภาพที่มีคุณภาพดีที่สุดเท่าที่คุณจะหาได้จากกล้องคอมแพคท์ที่มีเซนเซอร์ขนาด 1/1.8 นิ้ว แต่การมี 10 ล้านพิกเซลนั้นอาจจะยังไม่ช่วยให้มีความโดดเด่นขึ้นมาอย่างชัดเจน ที่น่าสนใจก็คือกล้องตัวนี้จะทำงานเป็นอย่างไรถ้าหากยังคงใช้เซนเซอร์ขนาด 7 ล้านพิกเซลตัวเดิมที่มีใน G6 คู่แข่ง Panasonic Lumix LX2 LX2 ซูมไม่ได้มากเท่า G7 แต่ก็ทำงานได้ดีใกล้เคียงกัน ขนาดเล็กกว่าและราคาถูกกว่า 81% Canon PowerShot A640เป็นกล้องคอมแพคท์ที่มีความสามารถอีกตัวหนึ่ง แต่การมี 10 ล้านพิกเซลก็ก่อให้เกิดปัญหาขึ้นด้วยเช่นกัน 80% The Ratings คุณสมบัติเด่น ด้วยซูม 6 เท่า ระบบป้องกันภาพสั่น ความละเอียด 10 ล้านพิกเซล และช่วง ISO 50-100 G7 ไม่พลาดช๊อตเด็ดแน่นอน สมรรถภาพ ระบบออโต้โฟกัสและระบบวัดแสงทำงานได้ดีและภาพออกมาคมชัด แต่ noise และระบบกำจัด noise มีผลต่อคุณภาพของภาพที่ ISO สูงๆ การใช้งาน ปุ่มควบคุมบนแผงหลังที่ทำหน้าที่ได้หลากหลายเป็นความคิดที่ดี แต่ต้องใช้ความเคยชิน และปุ่มปรับอื่นๆ อาจจะสร้างความสับสนต่อการใช้งานบ้าง คุณภาพการผลิต รูปทรงของ G7 ทำให้มันโดดเด่นมากและเล็กพอสำหรับกระเป๋าเสื้อ โครงสร้างและคุณภาพการผลิตไร้ที่ติ ความคุ้มค่าเงิน ราคาตั้งของ G7 อาจจะดูสูงไปหน่อย คุณสามารถซื้อ DSLR ได้เลยในราคานี้ แต่ก็มีหลายร้านที่ขายในราคา 310 ปอนด์ คำตัดสินของ Digital Camera G7 เป็นกล้องที่สร้างขึ้อย่างประณีตงดงามและคุณก็อดไม่ได้ที่จะชื่นชมกับรูปลักษณ์ของมัน ระบบการทำงานและการเปิดรับแสงที่แม่นยำทำให้ G7 เป็นกล้องที่น่าสนใจมากสำหรับนักถ่ายภาพที่มองหากล้องตัวที่สองเอาไว้ใช้งาน รวมถึงคนที่ชื่นชอบกล้องคอมแพคท์ที่มีความสามารถรอบตัวที่แข็งแรงทนทาน

สนับสนุนเนื้อหาโดย

อัลบั้มภาพ 10 ภาพ

อัลบั้มภาพ 10 ภาพ ของ รีวิว Canon PowerShot G7

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook