หนทางการสร้างเมืองอัจฉริยะ เพื่อประโยชน์แห่งชาติด้วยการลงทุนที่มิได้แสวงหากำไร

หนทางการสร้างเมืองอัจฉริยะ เพื่อประโยชน์แห่งชาติด้วยการลงทุนที่มิได้แสวงหากำไร

หนทางการสร้างเมืองอัจฉริยะ เพื่อประโยชน์แห่งชาติด้วยการลงทุนที่มิได้แสวงหากำไร
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ฉบับที่ผ่านมานั้นเรากล่าวถึงเทคโนโลยีที่เรียกว่า Wi-Mesh ซึ่งหลายท่านอาจจะเคยได้ยินมาบ้าง แต่ทว่าเนื้อแท้ของ Wi-Mesh นั้น ก็ไม่ได้หมายถึงอุปกรณ์ใดอุปกรณ์หนึ่งเท่านั้น โดยเป็นการกล่าวถึงการต่อเครือข่ายรูปแบบใหม่ซึ่งในที่นี้ก็คือ รูปแบบ Wi-Mesh โดยการต่อ Wi-Mesh นั้นสามารถอธิบายได้อย่างง่ายๆว่า เป็นการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ Wi-fi ซึ่งเป็นย่านความถี่สาธารณะให้กลายเป็นเครือข่าย เฉกเช่นโทรศัพท์มือถือของเราในปัจจุบัน ทั้งนี้ Wi-Mesh ได้รับการพัฒนาให้สามารถเชื่อมต่อกันได้แม้ในขณะเคลื่อนที่อยู่โดย ระบบดังกล่าวจะสามารถเลือกสถานีหรือจุดเชื่อมโยงที่ดีที่สุดให้อย่างอัตโนมัติ ดังที่กล่าวไว้แล้วในฉบับที่แล้ว และคราวนี้เราจะมาลองดูกันว่ารูปร่างหน้าตาของเจ้าอุปกรณ์ Wi-Mesh นี้จะเป็นอย่างไร จะแตกต่างจาก Wi-Fi Hotspot ที่เราใช้เชื่อมต่อแบบไร้สายภายในบ้านอยู่ขณะนี้หรือไม่

Nortel หนึ่งในผู้ผลิตอุปกรณ์ต่อพ่วงแบบ Wi-Mesh และยังร่วมเป็นสมาชิกองค์กรผู้พัฒนาระบบเครือข่าย Wi-Mesh อีกด้วย หลายๆองค์กรทั้งภาครัฐบาล และเอกชนรายใหญ่ๆของโลกต่างก็เป็นลูกค้าของ Nortel หลายราย แต่กระนั้น การมองต่างมุมเรื่องดังกล่าวก็ยังคงเป็นที่กังขาว่า อุปกรณ์ดังกล่าวมีความปลอดภัยจริงหรือไม่ ซึ่งคำตอบของเรื่องนี้คงจะชัดเจนขึ้นถ้าดูจากตัวอย่างผู้ที่ติดตั้งดังต่อไปนี้

รัฐบาลไต้หวัน ได้การวางเป้าหมายไว้ว่าในปี 2006 นี้ อยากที่จะสร้างเมืองให้มีความทันสมัยให้มากกว่าที่เป็นอยู่ โดยสามารถเชื่อมต่อเข้าโลกของการสื่อสารอย่างเต็มรูปแบบด้วยความสามารถของบอร์ดแบรนแบบไร้สาย ซึ่งจะครอบคลุมพื้นที่โดยรอบของไต้หวันทั้งหมด และพันธมิตรรายสำคัญก็ได้แก่ Nortel นั่นเอง ซึ่งหลายประเทศต่างก็จับจ้อง โดยนักวิเคราะห์มองว่า ถ้าความคาดหมายของ ไต้หวันเกิดขึ้นจริง ไต้หวัน 2006 ก็กำลังจะกลายเป็นเมืองอัจฉริยะอย่างแน่นอน และแม้ว่าจะเป็นการลงทุนที่มากมาย แต่กลุ่มดังกล่าวกลับเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ซึ่งเป็นการเอื้อให้เกิดการใช้อย่างแพร่ โดยทั้งหมดเป็นแนวทางการสนับสนุนให้เกิดความคล่องตัวของทั้งนักธุรกิจและประชาชนทั่วไป ตลอดจนกลุ่มนักท่องเที่ยวอย่างทั่วถึง เรียกได้ว่า เพียงแค่มีอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่อ Wi-Fi ได้เท่านั้นก็สามารถออนไลน์อินเตอร์เน็ตได้ตลอดการเดินทางภายในไต้หวัน



โดยรัฐบาลไต้หวันตั้งเป้าไว้ว่า ภายในปี 2006 จะแล้วเสร็จและครอบคลุมพื้นที่กว่า 90%ของพื้นที่กรุงไทเป โดยนับการใช้อุปกรณ์ Wi-Mesh ทั้งสิ้นกว่า 5000 ตัว ซึ่งจะครอบคลุมพื้นที่กว่า 272 ตารางกิโลเมตร ซึ่งทั้งหมดเป็นการวางโครงสร้างโดย Nortel และดูแลรักษาโดย Nortel อีกเช่นกัน

หลายคนอาจจะเคยได้ยินการกล่าวถึง Wi-max ซึ่งเป็นเครือข่ายใหม่ที่มีอัตราการเชื่อมต่อที่รวดเร็วกว่า และยังให้ช่องสัญญาณที่กว้างกว่า ทำให้สามารถรองรับการใช้งานที่มากขึ้น แต่ในขณะที่ระบบดังกล่าวเป็นการใช้คลื่นความถี่ที่จำเป็นจะต้องยื่นขออนุญาตเพื่อใช้คลื่นความถี่ดังกล่าวนั้น Wi-Mesh ก็เป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่กลุ่มผู้ใช้มิจำเป็นจะต้องร้องขอใบอนุญาตเพราะเป็นย่านความถี่ที่สามารถใช้ได้ปกติ และความเร็วของการรับส่งข้อมูลนั้นก็มิได้น้อยจนเกินไป เพราะเป็นความเร็วเทียบเท่าบรอดแบรนด์นั่นเอง



ท้ายสุดนี้ขอยกตัวอย่างง่ายๆของโครงสร้างการต่อพ่วงของเครือข่ายดังกล่าว โดยท่านสามารถหันไปมองที่จุดปล่อยสัญญาณ Wi-Fi ที่ท่านใช้ภายในห้องได้ เพื่อนั่นคือจุดเริ่มแรก แต่ด้วยโหนดของสัญญาณที่ใหญ่กว่า ซึ่งก็คือสายโทรศัพท์แบบความเร็วสูงเพื่อนำสัญญาณมากระจายออกสู่เครือข่าย หลังจากนั้น จะทำการเชื่อมโยงจากสัญญาณดังกล่าวให้ครอบคลุมพื้นที่ แต่กระนั้น ในส่วนของรายละเอียดยังประกอบไปด้วยการประกอบหน่วยควบคลุมและป้องกันต่างๆเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งเป็นเรื่องทางเทคนิคขั้นสูง แต่คร่าวๆว่า การทำเช่นนี้จะทำให้เกิดเครือข่ายอีกเครือข่ายหนึ่งที่เป็น บรอดแบรนด์แต่สามารถเชื่อมต่อในระหว่างเคลื่อนที่ได้ และที่สำคัญประหยัดต้นทุนเป็นอย่างมาก

สนับสนุนเนื้อหาโดย
นิตยสาร mobile mag

อัลบั้มภาพ 7 ภาพ

อัลบั้มภาพ 7 ภาพ ของ หนทางการสร้างเมืองอัจฉริยะ เพื่อประโยชน์แห่งชาติด้วยการลงทุนที่มิได้แสวงหากำไร

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook