ไอซีทีเอ็กซ์โปปีหน้า ปีแห่งมืออาชีพและความทุ่มเท

ไอซีทีเอ็กซ์โปปีหน้า ปีแห่งมืออาชีพและความทุ่มเท

ไอซีทีเอ็กซ์โปปีหน้า ปีแห่งมืออาชีพและความทุ่มเท
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
คิวริโอ ขวัญใจเด็ก ๆ จากงาน Bangkok International ICT Expo 2004 คุณไปเดินดูงานไอซีทีเอ็กซ์โปมาหรือเปล่าครับ ถ้าไม่ได้ไปงานนี้ต้องบอกว่าเสียดายแทนอย่างยิ่ง ผมเองอยู่ที่งานมาตลอด 2 วันแรก ต้องบอกว่าความตั้งใจจะเจาะลึกในแต่ละบูทต้องหมดความพยายามลงไป เพราะมันมากเกินกว่าจะทำได้ภายใน 2 วัน พูดถึงในแง่ของความใหญ่โตนั้น อาจเป็นรองน้องๆ คอมมูนิคเอเชียนิดหน่อย แต่ไม่น่าเกลียดน่าชังแต่อย่างใด เพราะเทคโนโลยีที่นำมาแสดงนั้นต้องบอกว่าล้ำหน้าทันสมัย น่าชื่นชมฝีมือคนจัดอย่างมาก ปรบมือให้แรงๆ 3 ที ข่าววงในแจ้งว่าการมาโชว์เทคโนโลยีของหลายค่ายในงานนี้ทางรัฐมนตรีไอซีทีของเราต้องออกแรงใช้กำลังภายในเป็นพิเศษถึงจะยอมมากัน บางรายต้องเจรจาผ่านสถานฑูต บางรายต้องนำตัวแทนประเทศไทยมานั่งประกบกับคนจัดงานเหมือนกับล็อคคอตีเข่ากันเลย ต้องถือว่าทำงานหนักจริงๆ แล้วก็เห็นผลทันตา งานอย่างนี้ภาคเอกชนทำได้ยากครับ ดูอย่างรายสองรายที่จัดไปก่อนหน้านี้ เต็มที่ก็คือเน้นขายของราคาถูกสุดๆ การจะบังคับให้ลูกค้าเอาเทคโนโลยีใหม่มาโชว์เป็นเรื่องยากอย่างมาก แค่มาออกบูทก็เป็นพระคุณไม่รู้จบกันแล้ว เรื่องอย่างนี้ทำให้วงการไอทีไทยหนีไม่พ้นเป็นแหล่งปล่อยของ ทำให้งานไอทีเป็นเพียงห้างพันธุ์ทิพย์พลาซา เพียงแต่เพิ่มสาวพริตตี้เข้ามาก็เท่านั้น เมื่อบารมีถึงเงินถึง นโยบายถึง ก็เดินเครื่องเต็มสูบได้เลย ที่เหลือก็ต้องใส่ความเป็นมืออาชีพเข้าไปแล้วครับ พูดถึงเรื่องนี้แล้วอยากมีข้อเสนอแนะให้กับงานครั้งต่อไป โดยอิงกับจุดด้อยที่เกิดขึ้นในงานนี้ เพราะได้ข่าวว่าปีหน้ารัฐมนตรีไอซีทีของเราอยากจะเปิดทั้ง 8 Hall ของเมืองทองธานีเป็นบูทไอทีทั้งหมด ก็เลยไม่อยากให้สูญเปล่า อย่างแรกหลายคนคงไม่รู้ว่างานไอซีทีเอ็กซ์โปครั้งนี้มีบริการ internet wi-fi ให้บริการทั้งงาน ผมเองไปสัมภาษณ์คนทำระบบมายังรู้สึกเหนื่อยแทน เพราะต้องดูแลระบบรองรับพื้นที่กว่า 30,000 ตารางเมตร งานใหญ่ระดับโลกเขายังไม่ทำกันขนาดนี้เลย เพราะมันใช้เงินทุนมหาศาล ที่สำคัญมันเป็นที่ลองวิชาของพวกมือดี ได้ข่าวว่าคืนวันแรกของงานมีนักลองของเข้ามาป่วนเสียจนระบบเกือบแย่ เพราะเห็นว่าเป็นโครงการของรัฐก็เลยอยากจะมีชื่อเสียงไม่รู้ว่าคนอื่นเขาลำบากแค่ไหน ข้อเสนอของผมก็คือ จัดโซนบอกตำแหน่งให้ชัดเจน งานใหญ่ระดับโลกเขาก็ทำกันอย่างนี้ทั้งนั้นไม่มีใครว่าอะไรหรอกครับ ประการที่สอง หากแบ่งเป็น 8 hall จริงๆ ก็ควรมีการจัดแบ่งประเภทของ hall ให้ชัดเจน เช่น ด้านนี้เป็นของโทรคมนาคม ด้านนี้เป็นคอมพิวเตอร์ ด้านนี้เป็นฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ก็ว่ากันไป หรือใครจะซื้อของขายของก็ไปอีก hall หนึ่ง ใครจะดูเรื่อง animation ไปอีก hall หนึ่ง ฯลฯ ทำนองนี้ แม้ว่างานครั้งนี้จะมีการแบ่งโซนกันชัดเจน แต่ว่าไปแล้วสาเหตุที่บรรดาบริษัทที่มีเทคโนโลยีมาโชว์ไม่อยากมาออกบูทก็เพราะว่าการต้องรองรับคนดูที่หลากหลายทำให้เสียต้นทุนเกินเหตุ และลูกค้าทั่วไปมักจะไล่ลูกค้าองค์กรออกไปจากบูทเสมอ ทางที่ดีจัดให้มีวันที่เป็นลูกค้าองค์กรไปเลยหนึ่งวัน หรือไม่ก็กันพื้นที่สำหรับองค์กรโดยพื้นที่บางส่วนจำเป็นต้องลงทะเบียนและจ่ายเงินด้วย ก็จะทำให้แก้ปัญหานี้ไปได้ ในเมืองนอกเขาใช้กันแบบนี้ แล้วบูทที่ยอมจ่ายเงินก็มีของมีอะไรให้กันอย่างคุ้มค่า เหมือนกับเก็บเป็นธรรมเนียมไปอย่างนั้น แต่ดูเหมือนความคิดนี้อาจมาใช้กับคนไทยไม่ค่อยได้ อีกอย่างหนึ่งคือ การจัดคิวแสดงของแต่ละบูท ดูเหมือนไม่มีการจัดระบบที่ดีพอ บูทไหนอยากแสดงก็ตัวใครตัวมัน ทำให้แย่งลูกค้ากวนกันไปกวนกันมา ตัวอย่างที่ดีอย่างมอเตอร์โชว์นั้นมีการแบ่งเวลาอย่างชัดเจน ทั้งการแถลงข่าวและการแสดง ทำให้ลูกค้าไม่สับสน และมีการแจ้งกันอย่างเป็นทางการ ใครอยากดูบูทไหนพิเศษจะได้ตั้งตารอคอย เรื่องของนักข่าวก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องให้ความสำคัญ เพราะต่อไปตั้งใจให้เป็นระดับอาเซียนหรือระดับโลก ต้องให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ และต้องพยายามบอกทุกบูทให้แจงข่าวสารกับนักข่าวอย่างเต็มที่ เพราะนักข่าวที่มาจะมีมาจากหลายประเทศ การอยากได้ภาพที่ดีก็ต้องมีข้อมูลและบริการที่ดีตามไปด้วย อย่างงานนี้ผมเห็นนักข่าวจากพม่ามาร่วมด้วย เดินแบกกล้องไปมา พอเข้าห้องนักข่าวก็ไม่มีใครคุยด้วย ผมว่างานพีอาร์สำหรับงานนี้ต้องจ้างเฉพาะทางมาดูแล แล้วการจัดห้องนักข่าวก็ต้องเป็นระบบกว่านี้ ดูเหมือนงานนี้บอกได้เลยว่าคนจัดเข้าขั้น "อ่อนหัด" เทียบชั้นกับต่างประเทศต้องบอกว่าห่างไกลครับ การจะสร้างภาพลักษณ์ความเป็นผู้นำทางด้านไอทีอาเซียนมันไม่เพียงแต่ลงทุนทำให้ดีแล้ว มันต้องวางแผนสร้างภาพลักษณ์ให้ดีคู่กันไปด้วย จะได้คุ้มค่า ของอย่างนี้มันไม่น่าต้องให้มาเตือน เพราะคนที่ดูแลเรื่องบูทอย่าง reed tradex จะมาฝากให้เขามาทำเรื่องนี้ให้คงไม่ได้ แค่ดูแลและขายบูทให้ก็ไม่ไหวแล้ว ที่แนะนำมาไม่ใช่ว่างานนี้เลวร้าย ถ้าให้คะแนนผมให้ 85 เต็ม 100 แต่ถ้าจะจัดงานใหญ่ลงทุนมากในปีหน้า และอยากเป็น IT HUB จริง มันต้องเต็ม 100 หรือไม่ก็ต้อง 120 ต้องทำให้ดีกว่าที่คาดหวัง ตอนนี้ยังพอมีเวลาเริ่มมันตั้งแต่วันนี้ อยากให้งานออกมาเป็นอย่างไรก็คุยกับคนออกบูทแต่เนิ่นๆ จะได้รู้ความต้องการและเขาจะได้เตรียมงบประมาณถูก ส่วนเรื่องนักข่าวและพีอาร์ผมว่าคุยกับนักข่าวไอทีทั้งหลายแหละครับดี เพราะพวกนี้ไปดูงานต่างประเทศกันเป็นว่าเล่น ประสบการณ์มากอยู่แล้ว รู้ว่าอันไหนควรมี อันไหนไม่ควรมี ขอขอบคุณ ผู้จัดการออนไลน์

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ ของ ไอซีทีเอ็กซ์โปปีหน้า ปีแห่งมืออาชีพและความทุ่มเท

ไอซีทีเอ็กซ์โปปีหน้า ปีแห่งมืออาชีพและความทุ่มเท
ไอซีทีเอ็กซ์โปปีหน้า ปีแห่งมืออาชีพและความทุ่มเท
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook