ฟิวเจอร์โซน โลกอนาคตในมุมมองของเอไอเอส

ฟิวเจอร์โซน โลกอนาคตในมุมมองของเอไอเอส

ฟิวเจอร์โซน โลกอนาคตในมุมมองของเอไอเอส
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
When youre at Home คอนเซ็ปต์ที่ให้เราสามารถควบคุมการทำงานของเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านทุกชนิดได้ด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่า PCED เช่น ตู้เย็น ที่สามารถเช็กสต็อกอาหารที่เหลืออยู่ในตู้ด้วยระบบเซ็นเซอร์ พร้อมเตือนรายการอาหารหมด และลิงค์การทำงานไปที่ซูเปอร์มาร์เก็ตเพื่อสั่งซื้อรายการอาหารที่ต้องการ ผ่านเครือข่าย GPRS และส่งข้อมูลด้วยระบบ MMS ที่งานไอซีทีเอ็กซ์โป 2004 มีการโชว์เทคโนโลยีต่างๆมากมาย หลายค่ายมีการจัดแสดงเทคโนโลยีสำหรับอนาคต เช่น บ้านอัจฉริยะของไมโครซอฟท์ ที่มีแนวคิดให้อุปกรณ์ต่างๆภายในบ้านสามารถสื่อสารกันได้, True Cyber Home ที่เป็นการจำลองบ้านและการใช้ชีวิตในไลฟ์สไตล์ใหม่ ซึ่งเป็นการผสมผสานเทคโนโลยีกับชีวิตประจำวันให้เข้ากันได้อย่างกลมกลืน แต่ที่ดูน่าสนใจมากที่สุดเห็นจะเป็น ฟิวเจอร์โซน ของค่ายเอไอเอส ที่เหมือนจะวางตัวเองเอาไว้ตรงกลางระหว่างค่ายไมโครซอฟท์กับค่ายทรู เป็นสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบัน แต่ก็ไม่ไกลเกินเอื้อมสำหรับอนาคตอันใกล้ ฟิวเจอร์โซน (Future Zone) เป็นการนำรูปแบบชีวิตในอนาคตมาจำลองให้ผู้เข้าเยี่ยมชมบูธของเอไอเอส (Advance Info Service; AIS) ได้สัมผัส มีการแบ่งเทคโนโลยีออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ เทคโนโลยีสำหรับการใช้ชีวิตนอกบ้าน และกลุ่มเทคโนโลยีสำหรับการใช้ชีวิตในบ้าน จุดเด่นของฟิวเจอร์โซนที่ต่างจากค่ายอื่นก็คือ เทคโนโลยีที่ปรากฏอยู่ในฟิวเจอร์โซน จะไม่ใช่แค่จินตนาการเท่านั้น แต่เป็นบริการที่กำลังจะถูกพัฒนาให้สามารถใช้งานได้จริงภายใน 2-3 ปีข้างหน้า ตามการยืนยันของผู้บริหารระดับสูงของเอไอเอส ในกลุ่มเอาต์ดอร์ (Outdoor) สิ่งแรกที่ได้เห็นเป็นคอนเซ็ปต์เพื่อคุณผู้หญิงที่รักการช็อปปิ้งโดยเฉพาะ ชื่อว่า When youre Shopping เป็นบริการที่จะคอยอัพเดทข้อมูลแฟชั่นจากร้านค้าชั้นนำต่างๆทั่วโลกผ่านไปทางโทรศัพท์มือถือ ให้คุณไม่ตกเทรนด์และไม่พลาดคอลเลคชั่นใหม่ๆ When youre Shopping จะประกอบด้วยโทรศัพท์มือถือที่ถูกดีไซน์ให้เหมือนกับตลับแป้ง ซึ่งเชื่อมต่อกับ Virtual Shop ให้สามารถเลือกดูและเลือกซื้อสินค้าออนไลน์ได้ ยิ่งกว่านั้นยังสามารถลองชุดใหม่ผ่านฟีเจอร์ Virtual Dressing บนโทรศัพท์มือถือได้ด้วย ประมาณว่า เมื่อไหร่ก็ตามที่มีคอลเลคชั่นใหม่ออกสู่ตลาด คอลเลคชั่นนั้นก็จะถูกส่งผ่านมายังโทรศัพท์มือถือ ให้เราได้เลือกดู และถ้าเกิดชอบใจขึ้นมา ก็สามารถสั่งซื้อผ่านทางโทรศัพท์มือถือได้ทันที แต่คำถามมีอยู่ว่า ถ้าซื้อไปใส่แล้วไม่สวยล่ะ เพราะยังไม่ได้ลองเลย เทคโนโลยี Virtual Dressing จึงถูกพัฒนาขึ้นเพื่อตอบคำถามดังกล่าว ให้เราสามารถลองชุดใหม่ผ่านโทรศัพท์มือถือได้ โดยจะมีโมเดลตัวคุณอยู่ในโทรศัพท์มือถือหรือในโลกไซชุดเสื้อผ้าใหม่ๆได้ ทีนี้เราก็จะรู้ได้ว่าเมื่อเราใส่เสื้อผ้าชุดใหม่แล้วจะสวยและดูดีหรือไม่ โดยไม่จำเป็นต้องไปลองของจริงที่ร้านแต่อย่างใด Photo Frame กรอบรูปอนาคต ที่เราสามารถส่งรูปที่ถ่ายด้วย PCED ผ่านไปโชว์ที่ Photo Frame ได้ ทั้งยังสามารถโปรแกรมการโชว์ภาพ เช่น กำหนดจำนวนภาพและเวลาที่จะโชว์ ในลักษณะของสไลด์โชว์ ผ่านทาง PCED ได้อีกด้วย ส่วนที่ 2 เป็นส่วนที่เรียกว่า When youre in Office ภายใต้คอนเซ็ปต์ที่มองโลกในอนาคตว่า สามารถไปไหนต่อไหน เข้าถึงข้อมูลที่เก็บไว้ รวมไปถึงล็อกอินเข้าคอมพิวเตอร์ ได้จากทุกที่ ทุกเวลา ด้วยการ์ดเพียงใบเดียว Card Type Mobile โทรศัพท์มือถือที่มีรูปลักษณ์เหมือนการ์ดเล็กๆใบหนึ่ง สามารถเก็บข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อ นามสกุล รวมไปถึงพาสเวิร์ดสำหรับล็อคอินการใช้งานคอมพิวเตอร์ ทำให้เราไม่จำเป็นต้องพกโทรศัพท์มือถือ บัตรประชาชน และบัตรพนักงานแยกกันอีกต่อไป เพราะข้อมูลทั้งหมดถูกรวมไว้ใน Card Type Mobile หมดแล้ว และรักษาข้อมูลเหล่านั้นไว้ด้วยเทคโนโลยีซีเคียวริตี้ระดับสูง When youre Outdoor สำหรับผู้ที่ชื่นชอบการออกกำลังกาย Glass Type Mobile ซึ่งเป็นการแสดงผลข้อมูลบนแว่นตา สั่งงานด้วยเสียง และเชื่อมต่อผ่านเทคโนโลยี Bluetooth กับนาฬิกาข้อมือ คือสิ่งที่พวกเขาต้องการ ในตัวนาฬิกาข้อมือจะมีเซ็นเซอร์จับความผิดปกติของร่างกาย เช่น อัตราการเต้นของหัวใจและอุณหภูมิ หากมีอัตราการเต้นที่ผิดปกติ อุปกรณ์สื่อสารจะส่งข้อมูลไปยังศูนย์การแพทย์เพื่อวิเคราะห์ และส่งข้อความแจ้งเตือนกลับมายังผู้ใช้ผ่านทางเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ โดยข้อความจะไปปรากฏบนแว่นตาให้เห็นอย่างชัดเจน ในการเดินทาง Pen Type Mobile โทรศัพท์มือถือในรูปแบบของปากกา จะช่วยให้เราสะดวกสบายมากขึ้น ไม่ต้องพกกุญแจรถ เพราะรหัสประจำตัวของผู้เป็นเจ้าของจะถูกเก็บไว้ในปากกามือถือซึ่งมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับระบบกันขโมยรถยนต์ หากรหัสถูกต้องตรงกัน ก็จะสามารถเข้าสู่ตัวรถและใช้งานได้ตามปกติ นอกจากเรื่องของซีเคียวริตี้แล้ว Pen Type Mobile ยังมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับระบบเนวิเกเตอร์หรือระบบนำทางในรถยนต์ เพื่อนำทางผู้ใช้ไปยังจุดหมายที่กำหนดได้อย่างถูกต้องและรวดเร็วด้วย หรือหากจะมีการเปลี่ยนไปใช้ระบบขนส่งรูปแบบอื่น เช่น รถไฟฟ้าทั้งใต้ดินและบนดิน ระบบก็ยังสามารถบอกเราได้ว่ามีสถานีที่ใกล้ที่สุดอยู่ตรงไหน และยังสามารถสั่งซื้อตั๋วโดยสารแบบออนไลน์ได้ทันทีอีกด้วย นี่คือคอนเซ็ปต์ของ When youre in Car ทั้งหมดข้างต้นเป็นเทคโนโลยีสำหรับการใช้ชีวิตภายนอกบ้าน หรือเอาต์ดอร์ แต่ยังมีอีกส่วนหนึ่งคือส่วนของอินดอร์ (Indoor) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีไร้สายสำหรับชีวิตภายในภายใต้คอนเซ็ปต์ When youre at Home ที่ให้เราสามารถควบคุมการทำงานของเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดได้ด้วยอุปกรณ์เพียงชิ้นเดียว Personal Communication & Entertainment Device (PCED) เป็นอุปกรณ์ที่รวมความสามารถด้านการสื่อสาร ความบันเทิง และการควบคุมเอาไว้ในตัว สามารถดาวน์โหลดเพลง เช็คโปรแกรมภาพยนตร์ หรืออัพเดทความบันเทิงทุกรูปแบบ ทั้งยังเชี่อมต่อกับ Home Control System ให้สามารถควบคุมการทำงานของเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชิ้นภายในบ้าน ตัวอย่างเช่น ตู้เย็น ที่สามารถเช็กสต็อกอาหารที่เหลืออยู่ในตู้ด้วยระบบเซ็นเซอร์ พร้อมเตือนรายการอาหารหมด และลิงค์การทำงานไปที่ซูเปอร์มาร์เก็ตเพื่อสั่งซื้อรายการอาหารที่ต้องการ ผ่านเครือข่าย GPRS และส่งข้อมูลด้วยระบบ MMS Photo Frame กรอบรูปอนาคต ที่เราสามารถส่งรูปที่ถ่ายด้วย PCED ผ่านไปโชว์ที่ Photo Frame ได้ ทั้งยังสามารถโปรแกรมการโชว์ภาพ เช่น กำหนดจำนวนภาพและเวลาที่จะโชว์ ในลักษณะของสไลด์โชว์ ผ่านทาง PCED ได้อีกด้วย นายสุวิทย์ อารยะวิไลพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักธุรกิจการให้บริการสื่อสารไร้สาย บริษัทเอไอเอส กล่าวว่า ในอนาคต ไวร์เลสเซอร์วิสจะอำนวยความสะดวกให้กับคนยุคใหม่อย่างมาก ทุกความต้องการด้านการบริการสามารถตอบสนองได้ด้วยเทคโนโลยี และคาดว่าบริการเหล่านี้จะเกิดได้ภายใน 1-2 ปี โดยเอไอเอสจะยึดความต้องการของลูกค้าเป็นหลักว่ายินดีจ่ายอัตราค่าบริการในลักษณะไหน ในกรณีที่มีความถี่ของการใช้งานมากอาจคิดค่าบริการเป็นรายเดือน หรือบริการที่ใช้น้อยจะเก็บค่าบริการต่อครั้ง ขอขอบคุณ ผู้จัดการออนไลน์

อัลบั้มภาพ 4 ภาพ

อัลบั้มภาพ 4 ภาพ ของ ฟิวเจอร์โซน โลกอนาคตในมุมมองของเอไอเอส

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook