"ทักษิณ" เชื่อพลังไอซีที ผลักดันสังคมแห่งความรู้

"ทักษิณ" เชื่อพลังไอซีที ผลักดันสังคมแห่งความรู้

"ทักษิณ" เชื่อพลังไอซีที ผลักดันสังคมแห่งความรู้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล ไอซีที เอ็กซ์โป 2004 (Bangkok ICT Expo 2004) ซึ่งเริ่มต้นขึ้นแล้วอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 4 - 8 สิงหาคมนี้พร้อมการประชุมรัฐมนตรีด้านโทรคมนาคมอาเซียนเริ่มขึ้นเป็นวันแรก พ.ต.ท.ทักษิณในฐานะประธานเปิดงานการประชุมระดับรัฐมนตรีด้านโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งอาเซียน ครั้งที่ 4 (TELMIN) ไอซีที เอ็กซโป 2004 เวทีการหารือระหว่างประธานคณะผู้บริหารด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT CEO Forum) และการประชุมนานาชาติว่าด้วยการเรียนรู้เพื่อสังคมแห่งฐานความรู้ กล่าวว่า การจัดงานในครั้งนี้จะเป็นก้าวสำคัญของไทยที่จะนำไปสู่สังคมแห่งฐานความรู้ (Knowledge Base Society) เพราะหากรู้วิธีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหรือไอซีทีซึ่งเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังมาใช้ได้แล้ว จะสามารถเชื่อมต่อช่องว่างของความแตกต่างในการเข้าถึงเทคโนโลยี และจะเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนได้ "ปัจจุบันมีการพูดถึง Knowledge Base Society กันมาก ทั้งๆ ที่คนทั่วไปไม่ได้คิดถึงความเกี่ยวพันมาถึงตัวเองมากนัก สำหรับตัวผมแล้ว Knowledge Base Society เป็นแนวคิดเรื่องสังคมในอนาคตมากกว่ารูปแบบทางเศรษฐกิจดังเช่นยุคที่เราไม่เพียงแต่ป้อนแรงงานหรือวัตถุดิบเข้าโรงงานเท่านั้น แต่จะต้องรวมถึงพลังแห่งความคิดด้วย" ในความเชื่อของนายกรัฐมนตรีทักษิณคือ การมองล่วงหน้าไปถึงยุคที่คนให้ความสำคัญกับการศึกษา และมีความสนใจใคร่รู้ในสิ่งใหม่ๆ เพื่อให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น ไม่จำกัดเฉพาะการเรียนรู้ในสถาบันการศึกษาเท่านั้น แต่เป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต "โลกใบใหม่นี้อาจจะทิ้งผู้คนมากมายไว้เบื้องหลัง เพราะคนที่ไม่เข้าใจ หรือไม่สามารถเข้าถึงไอซีทีได้ อาจไม่สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในระบบเศรษฐกิจแห่งฐานความรู้ใหม่ และเสียโอกาสที่จะได้รื่นรมย์กับโลกใบใหม่นี้" พ.ต.ท.ทักษิณกล่าวว่า ปัจจุบันการพูดถึงพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม การศึกษา รัฐบาล สังคม โดยมักจะมีคำว่า "e-" ซึ่งหมายถึงอิเล็กทรอนิกส์ตามมาเสมอ แม้ว่าการเข้าถึงไอทีจะไม่ใช่เป้าหมายหลัก แต่ก็ได้กลายเป็นเงื่อนไขสำคัญอันดับแรกที่จะประสบความสำเร็จในภารกิจสำคัญของการเชื่อมต่อช่องว่างของความแตกต่างในการเข้าถึงเทคโนโลยี หากความรู้เป็นกุญแจสำคัญของการพัฒนาและการบรรลุเป้าหมาย ไอซีทีก็เป็นกุญแจที่จะเข้าถึงความรู้สำคัญนั้น ในอดีตผู้คนศึกษาตามสถานศึกษาต่างๆ และใช้สิ่งที่ศึกษามานั้นไปตลอดชีวิต แต่ปัจจุบันการศึกษาตามสถานศึกษาเป็นเพียงการเริ่มต้นเท่านั้น สิ่งที่ต้องการไม่ใช่แค่การศึกษาเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการพัฒนาความสามารถในการศึกษาและการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ที่จะพบเห็นได้ตลอดชีวิต ซึ่งไอซีทีมีส่วนช่วงเร่งรัดกระบวนการดังกล่าว "ทุกวันนี้ความสำเร็จทางธุรกิจไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าคุณรู้อะไร แต่ขึ้นอยู่กับคุณจะเรียนรู้และค้นพบสิ่งใหม่ๆ ได้เร็วแค่ไหน" พ.ต.ท.ทักษิณกล่าวถึงขั้นตอนต่างๆ ในการนำเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้ว่า ต้องทำให้เป็นอัตโนมัติ การเปลี่ยนผ่าน การประดิษฐ์ใหม่ และอำนาจวิเศษ เช่น การใช้ระบบประมวลคำผ่านคอมพิวเตอร์แทนเครื่องพิมพ์ดีด ไอทีได้เสนอสิ่งใหม่และน่าสนใจกว่า แตกต่างไปจากวิถีแบบเก่า ฐานข้อมูลสามารถแทนที่กระดาษเป็นปึกๆ ได้ และเสนอช่องทางสำหรับองค์กรมากขึ้น สิ่งเหล่านี้สามารถนำไปสู่การวางระบบไหลเวียนและการดำเนินการทางธุรกิจแบบใหม่ เช่น อีเมลหรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ได้เปลี่ยนแปลงช่องทางสื่อสารในองค์กร แม้แต่ในองค์กรที่มีโครงสร้างสลับซับซ้อน เพราะท้ายสุดไอซีทีจะนำไปสู่การปรับองค์กรและการเปลี่ยนผ่านของกระบวนการทางธุรกิจ พ.ต.ท.ทักษิณยกตัวอย่างความสำเร็จของเว็บไซต์อะเมซอนดอทคอม ที่เป็นมากกว่าร้านขายหนังสือ เพราะเป็นการปฏิวัติรูปแบบทางธุรกิจที่ไม่อาจะเข้าถึงได้ หากไม่มีการเชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การสื่อสารผ่านเครือข่ายข้อมูลความเร็วสูง (บรอดแบนด์) ที่นำผู้คนไปสู่การเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ รัฐบาลกลายเป็นรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ที่มิใช่การแยกเก็บข้อมูลและความรับผิดชอบที่สร้างความลำบากให้แก่ระบบราชการมากหลายทศวรรษแล้ว รัฐบาลจึงได้เริ่มการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการของนายกรัฐมนตรี (PMOC) ซึ่งไม่ใช่จะเกิดขึ้นได้ ถ้าไม่มีไอซีที PMOC เป็นความรู้ที่บริสุทธิ์ ซึ่งมีคุณค่าและเป็นประโยชน์แก่นายกรัฐมนตรี ไม่สำคัญว่าข้อมูลนั้นจะมาจากหน่วยงานไหน หรือรัฐมนตรีใดเป็นผู้รับผิดชอบ ความรู้จะเป็นประโยชน์มากขึ้นก็ต่อเมื่อนำมาหลอมรวมเข้าด้วยกัน หากรัฐมนตรีจากสองกระทรวงแยกกันรายงานข้อมูลแก่นายกรัฐมนตรี ข้อมูลจะมีลักษณะแยกส่วนจากกัน แต่ถ้ารัฐมนตรีสองฝ่ายทำงานร่วมกัน และเพิ่มคุณค่าจากข้อมูลที่มีอยู่ร่วมกัน นายกรัฐมนตรีก็จะได้รับประโยชน์และคุณค่าจากข้อมูลนั้นมากกว่า "หากทุกคนทำงานร่วมกันเพื่อยกระดับและเพิ่มคุณค่าให้ข้อมูลที่ต่างฝ่ายต่างมีอยู่ ข้อมูลที่ส่งผ่าน PMOC ก็จะมีคุณค่าหาที่เปรียบไม่ได้" ด้วยกระบวนการดังกล่าว ข้อมูลจะเปลี่ยนเป็นข่าวสารที่เป็นประโยชน์ และข่าวสารนั้นจะนำไปใช้เป็นความรู้ได้ และด้วยการปรับความรู้ให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา จะสามารถใช้ความรู้เป็นความรอบรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการบริหารประเทศอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลได้ ขอขอบคุณ ผู้จัดการออนไลน์

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ ของ "ทักษิณ" เชื่อพลังไอซีที ผลักดันสังคมแห่งความรู้

"ทักษิณ" เชื่อพลังไอซีที ผลักดันสังคมแห่งความรู้
"ทักษิณ" เชื่อพลังไอซีที ผลักดันสังคมแห่งความรู้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook