แฮกเกอร์รวมตัวเล่นเกมชิงธง หลายฝ่ายหวั่นกลัวคุมไม่อยู่

แฮกเกอร์รวมตัวเล่นเกมชิงธง หลายฝ่ายหวั่นกลัวคุมไม่อยู่

แฮกเกอร์รวมตัวเล่นเกมชิงธง หลายฝ่ายหวั่นกลัวคุมไม่อยู่
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ถ้าทุกอย่างเป็นไปตามแผนที่วางไว้ ระยะเวลา 72 ชั่วโมงในเดือนกุมภาพันธ์ 2005 แฮกเกอร์จากทั่วสหรัฐฯจะโจมตีเป้าหมายพร้อมกันผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ตามรายงานจากสำนักข่าวซีเน็ต สำนักข่าวซีเน็ต (Cnet) รายงานเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า เดือนกุมภาพันธ์ปี 2005 คือกำหนดเวลาที่แฮกเกอร์ทั่วประเทศสหรัฐอเมริกาจะเริ่มโจมตีเป้าหมายพร้อมกันผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต อย่างไรก็ตามระบบคอมพิวเตอร์เป้าหมายจะไม่ใช่เครื่องเซิร์ฟเวอร์หรือเครือข่ายขององค์กรธุรกิจแต่อย่างใด แต่จะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกเซ็ตอัพขึ้นโดยเฉพาะสำหรับการแข่งขันในการแข่งขันชิงธงของแฮกเกอร์ ผู้ที่สามารถยืนหยัดอยู่ได้ หลังฝุ่นที่คลุ้งจากการต่อสู้สงบลง นั่นคือผู้ชนะ "แฮกเกอร์จะเจาะระบบเข้าควบคุมเครื่องของอีกคนหนึ่งแล้วเล่นเกมจากที่นั่น" D.D. ผู้เชี่ยวชาญระบบคอมพิวเตอร์และสมาชิกกลุ่ม "Ghetto Hackers" ผู้พัฒนาเกมเล็กๆชื่อว่า "Root Fu" กล่าวและว่า "เราเชื่อมั่นว่าจะรักษาระบบของเราเอาไว้ได้" ปีหน้า แฮกเกอร์ทั้งมือสมัครเล่นและมืออาชีพจากทั่วสหรัฐอเมริกาจะเข้าร่วมเล่นเกมดังกล่าวในเวอร์ชั่นระดับโลก ชื่อว่า "Mega Root Fu" ซึ่งเป็นเกมการแข่งขันแฮกกิ้งระดับโลกเกมแรกที่เล่นผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจริงๆ ไม่ใช่เครือข่ายจำลองที่สร้างขึ้นมาเฉพาะ Ghetto Hackers เปิดรับสมัครแฮกเกอร์ทั่วสหรัฐฯบนเว็บไซต์ และคาดว่าจะมีผู้สนใจมากกว่าพันคน การควบคุม การตั้งทีมไม่ใช่เรื่องยาก แต่ที่ยากคือการป้องกันผู้เล่นเกมไม่ให้ไปสร้างความเสียหายสร้างความเดือดร้อนให้คนใช้อินเทอร์เน็ตทั่วไป Ghetto Hackers เลือกใช้เทคโนโลยีวีพีเอ็น หรือเครือข่ายส่วนตัวเสมือน (Virtual Private Network; VPN) เสมือนหากรวยมาตั้งเพื่อสร้างช่องทางส่วนตัวสำหรับการแข่งขันบนถนนหลวง เพื่อจำกัดขอบเขตการเล่นเกม และที่น่าแปลกใจก็คือ การแข่งขันเกมของแฮกเกอร์ในครั้งนี้ ไม่สร้างความหนักใจให้กับผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์ซีเคียวริตี้แต่อย่างใด "ไม่น่ามีปัญหา" บรูซ ชไนเดอร์ (Bruce Schneier) ผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์ซีเคียวริตี้และผู้ก่อตั้งบริษัทเคาน์เตอร์เพนอินเทอร์เน็ตซีเคียวริตี้ (Counterpane Internet Security) ผู้ให้บริการด้านคอมพิวเตอร์ซีเคียวริตี้ กล่าวและว่า "แน่นอนว่าต้องมีบางคนหลุดกรอบออกมาบ้าง ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตาม เชื่อว่าพวกเขาจะไม่สร้างความเสียหายกับโลกภายนอก" ในทางกลับกัน การแข่งขันกลับจะช่วยผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์ซีเคียวริตี้ได้รับความรู้มากขึ้นเกี่ยวกับเทคนิคและการป้องกันการโจมตี อินเทอร์เน็ตจำลอง ปีที่แล้ว มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตเบิร์กลีย์ และมหาวิทยาลัยเซาเธิร์นแคลิฟอร์เนีย ได้ร่วมกันพัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจำลอง เป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ที่มีโหนดบรรจุอยู่ประมาณ 1,000 โหนด มีชื่อเรียกเฉพาะว่า Cyber Defense Technology Research (DETER) วัตถุประสงค์เบื้องต้นของโครงการคือเพื่อในนักวิจัยศึกษาเทคนิคและการป้องกันการโจมตีระบบคอมพิวเตอร์ "เป็นการทดลองที่น่าสนใจอย่างยิ่ง" ดัก ไทการ์ (Doug Tygar) อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตเบิร์กลีย์ กล่าวและว่า "อยากให้พวกเขาใส่ใจเป็นพิเศษในเรื่องการจัดการ การควบคุม รวมทั้งเรื่องจริยธรรม" ไทการ์เพิ่มเติมว่า แม้การแข่งขันจะน่าสนใจ เป็นการสร้างเสริมประสบการณ์ แต่ดูไม่ค่อยคุ้มค่านักหากมองในแง่การศึกษา "สิ่งที่เราสนใจคือการเปลี่ยนแปลงด้านวิทยาศาสตร์บนอินเทอร์เน็ต" เขากล่าวและว่า "สิ่งที่พวกเขาจะทำมันน่าสนใจ แต่ผมไม่แน่ใจว่าจะควบคุมได้หรือเปล่า" ในแง่กฎหมาย การแข่งขันดังกล่าวอยู่ในพื้นที่สีเทา เจนนิเฟอร์ กรานิกค์ (Jennifer Granick) ผู้อำนวยการศูนย์กฎหมายและสังคมอินเทอร์เน็ต มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด กล่าวและว่า ถ้ามีคนหลุดออกมานอกเขตที่กำหนดไว้สำหรับการแข่งขันและมีความเสียหายเกิดขึ้นกับสาธารณะ นั่นถือว่ามีความผิดตามกฎหมาย "โดยทฤษฎีแล้ว มีความเป็นไปได้ที่จะมีคนฝ่าฝืน" กรานิกค์กล่าว การแข่งขันชิงธงซึ่งจัดขึ้นโดยกลุ่ม Ghetto Hackers นั้น ยังได้รับการสนับสนุนจากคนที่ไม่ใช่แฮกเกอร์ด้วย เนื่องจากเห็นช่องทางในการทำเงิน เช่น เปิดเอาต์เล็ตขายของ เป็นต้น "ผมคิดว่ากิจกรรมแบบนี้เลิกยาก และผมก็ไม่คิดว่าจะมีใครต้องการให้เลิกด้วย" ไทการ์จากเบิร์กลีย์กล่าว ขอขอบคุณ ผู้จัดการออนไลน์

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ ของ แฮกเกอร์รวมตัวเล่นเกมชิงธง หลายฝ่ายหวั่นกลัวคุมไม่อยู่

แฮกเกอร์รวมตัวเล่นเกมชิงธง หลายฝ่ายหวั่นกลัวคุมไม่อยู่
แฮกเกอร์รวมตัวเล่นเกมชิงธง หลายฝ่ายหวั่นกลัวคุมไม่อยู่
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook