อินเทลมุ่งผลิตชิปเพื่อสิ่งแวดล้อม

อินเทลมุ่งผลิตชิปเพื่อสิ่งแวดล้อม

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
อินเทล ยักษ์ใหญ่ในวงการผู้ผลิตไมโครชิปสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์วางแผนจะลดจำนวนการใช้สารตะกั่วในผลิตภัณฑ์ของตน เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม หลังจากที่ NEC จากญี่ปุ่นได้เริ่มมาก่อนแล้วเป็นรายแรก โดยแผนดังกล่าวนี้ได้รวมถึงการผลิตไมโครโปรเซสเซอร์และชิปเซ็ตด้วย การปราศจากซึ่งสารตะกั่วเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการอยู่รอดในอนาคต และนี่เป็นเวลาที่เหมาะสมที่สุดที่จะเปิดตัวเทคโนโลยีนี้ ไมเคิล การ์เนอร์จากอินเทลกล่าว แนวความคิดนี้เกิดจากการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของขยะเทคโนโลยีที่กองสูงเป็นภูเขาเลากาในประเทศยากจน ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ใช้แล้วจากประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมากกว่า เมื่อมีของใหม่ก็จะเกิดการ โละ คอมพิวเตอร์เครื่องเก่าทิ้ง แต่การทิ้งนั้นได้ทำให้สารตะกั่วไหลออกมาปนเปื้อนไปน้ำ และในดิน นอกจากนั้นยังทำให้เกิดปัญหาสุขภาพขึ้นกับพนักงานแยกชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์เหล่านั้นด้วย ซึ่งเรื่องดังกล่าวนี้ ทางกลุ่มสหภาพยุโรปได้มีนโยบายออกมาแล้วว่าต้องการให้บริษัทต่าง ๆ ลดการใช้วัตถุดิบอันตรายจำนวน 6 ชนิด ซึ่งรวมถึงตะกั่วด้วย ในสินค้าที่จะส่งมาขายให้กับกลุ่มสหภาพยุโรป โดยจะเริ่มในเดือนกรกฎาคม 2006 แต่อินเทลไม่ใช่รายแรกที่เริ่มผลิตในวิธีดังกล่าว บริษัทที่เริ่มเป็นรายแรก ๆ ของโลกคือบริษัท NEC จากญี่ปุ่นที่ปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตไปเป็นแบบไม่ใช้สารตะกั่วเป็นส่วนผสม อย่างไรก็ดี การปรับเปลี่ยนกระบวนการการผลิตในครั้งนี้คงต้องอาศัยระยะเวลาในการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมโลกอีกนาน เนื่องจากเรามีการใช้ตะกั่วเป็นส่วนผสมในอุตสาหกรรมหนักเป็นระยะเวลากว่า 1 ศตวรรษแล้ว แน่นอนว่าสารพิษที่ปนเปื้อนลงในดิน น้ำ และอากาศจากประชากรโลก 2 พันกว่าล้านคนคงจะไม่ใช่เรื่องเล็ก ซึ่งปัจจุบัน เราจะได้เห็นผลกระทบที่เกิดขึ้นจากสารพิษที่คนในรุ่นเราและบรรพบุรุษได้ก่อเอาไว้มากพอสมควร ทั้งโรคภูมิแพ้แปลก ๆ โรคที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจ โรคติดต่อทางพันธุกรรมชนิดใหม่ ๆ หรืออย่างเลวร้ายที่สุดก็คือมะเร็ง การทำงานในโลกสมัยใหม่อาจจะจำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์เพื่อความรวดเร็วของงาน ต้องใช้ความเย็นจากเครื่องปรับอากาศเพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่เหตุผลทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ก็ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจและจิตสำนึกให้มากกว่าผลประโยชน์ที่บริษัท หรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งจะพึงได้รับ เพราะสิ่งแวดล้อมที่ถูกทำลายลงไปทุกวันนั้น ไม่ใช่สิ่งที่จะเรียกคืนหรือฟื้นฟูได้ภายในระยะเวลาอันสั้น ขอขอบคุณ ผู้จัดการออนไลน์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook