ผู้ค้าคอมพ์รายเล็กรวมตัวท้าชนแบรนด์เนม

ผู้ค้าคอมพ์รายเล็กรวมตัวท้าชนแบรนด์เนม

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ฐานเศรษฐกิจ : สปิริต ผู้ค้าไอทีน้องใหม่ ชูกลยุทธ์ไล่แจกหุ้น สร้างเครือข่ายขายคอมพ์ทั่วประเทศ ชนยักษ์พีซีแบรนด์เนม/โลคัลแบรนด์ตั้งเป้าปี 47 ตัวแทนช่วยทำตลาด 100 ราย พร้อมประกาศเพิ่มทุนเป็น 5 ล้าน ก่อนเดินหน้าเข้าตลาดภายใน 5 ปี งานนี้วงการ ชี้ธุรกิจค้าพีซีไทยถึงจุดเปลี่ยน คอมพ์ไอซีที ทำตลาดสะเทือน ผู้ค้ารายย่อยกำไรหดผนึก กำลังหนีตาย ใช้วอลุ่มสร้างอำนาจต่อรองผู้ผลิต/กำไร นายณัฐพงศ์ พันธเกียรติไพศาล กรรม-การผู้จัดการ บริษัทสปิริต เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัด เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า บริษัทเกิดจากการรวมตัวของผู้ค้าปลีกสินค้าไอที จำนวน 21 ราย ซึ่งเป็นเจ้าของกิจการจำนวน 23 ร้านค้า ครอบคลุม 13 จังหวัด อาทิ ทาเล้นท์ โซลูชั่น เซอร์วิส กรุงเทพฯ, ร้านรัตนผลคอม-พิวเตอร์ เชียงใหม่ และไอทีมาร์ท จ.ขอนแก่น และกลุ่มผู้ผลิตสินค้าที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ อาทิ ซินโดมอิเล็กทรอนิกส์ และปกาวินเพื่อสร้างตราสินค้าภายใต้ชื่อแบรนด์สปิริต ขึ้นมาในตลาด และทำการจำหน่ายไปยังทั่วประเทศ โดยในเบื้องต้นมีทุนจดทะเบียนทั้งสิ้น 3 ล้านบาท ซึ่งสินค้าที่นำเสนอออกสู่ตลาดเบื้องต้น คือคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลภายใต้ แบรนด์สปิริต ส่วนในปี 2547 มีแผนทำตลาดสินค้าคอมพิวเตอร์แบบพกพา หรือโน้ตบุ๊ก หมึกเติม หมึกทดแทน กระดาษ และเครื่องสำรองไฟ หรือยูพีเอส เพิ่มเติม โดยสินค้าทั้งหมดจะว่าจ้างผู้ผลิตสินค้าโออีเอ็มเป็นผู้ดำเนินการผลิต และจัดส่งสินค้าให้กับลูกค้าทั้งหมด ส่วนบริษัทจะเป็นผู้สร้างแบรนด์ และทำตลาด โดยในเบื้องต้นได้เตรียมเม็ดเงินการตลาด รวมทั้งทุนจดทะเบียนไว้ 10 ล้านบาท พร้อมกันนั้นบริษัทยังนำเสนอรูปแบบการดำเนินธุรกิจไอทีรูปแบบใหม่ ซึ่งแตกต่างจากบริษัททั่วไปออกสู่ตลาด โดยเปิดให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับบริษัท เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทไม่ว่าทางใดทางหนึ่งโดยแนวทางการลงทุน ประกอบด้วย แนวทางแรก เป็นการเข้ามาลงทุนทางตรง โดยมีกำหนดการเข้าถือหุ้นขั้นต่ำ 1,000 หุ้น คิดเป็นมูลค่า 10,000 บาท (พาร์ละ 10 บาท) แต่ไม่เกิน 2,000 หุ้น คิดเป็นมูลค่า 20,000 บาท (พาร์ละ 10 บาท) โดยการลงทุนดังกล่าวจะหมดเขตในวันที่ 20 ธันวาคม 2546 ส่วนแนวทางที่ 2 เป็นการลงทุนทาง อ้อม โดยจะเปิดให้ผู้ค้าปลีกสินค้าไอทีที่เข้า มาเป็นตัวแทนจำหน่ายเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท ในลักษณะของการผลตอบแทนจากการขาย สินค้า ภายใต้โครงการ Stock Incentive Scheme For Dealer (SISD) โดยตัวแทน จำหน่ายที่เข้าร่วมโครงการดังกล่าวจะต้องทำสัญญาขายคอมพิวเตอร์ให้กับบริษัทไม่ต่ำกว่าเดือนละ 15 เครื่อง โดยคอมพิวเตอร์ 1 ชุด จะได้หุ้นเพิ่มทุน 5 หุ้น มูลค่า 50 บาท หากจำหน่ายได้เดือนละ 15 เครื่อง เป็นระยะ เวลา 1 ปี จะได้รับหุ้น 900 หุ้น โดยหากตัวแทนจำหน่ายสามารถทำยอดขายได้ตามที่กำหนดบริษัทจะมอบหุ้นให้อีก 100 หุ้นซึ่งเท่ากับว่าตัวแทนจำหน่ายจะเข้ามาถือหุ้นในบริษัทขั้นต่ำ 1,000 หุ้น อย่างไรก็ตามหากไม่เป็น ไปตามข้อกำหนด คือ 15 เครื่องต่อเดือน บริษัทก็จะจ่ายผลตอบแทนคืนในรูปแบบของเงินคืนตามจำนวนยอดขาย โดยมีมูลค่าเงินคืนเครื่อง ละ 50 บาทสำหรับแนวทางที่ 3 เป็นการลงทุนเพิ่มเติมของผู้ถือหุ้น โดยผู้ถือหุ้นโดยตรง และโดยอ้อม สามารถลงทุนเพิ่มเติมในบริษัทได้ โดย มีแนวทางการลงทุนเพิ่ม 2 วิธี คือ 1. การ ลงทุนทางตรง โดยในกรณีที่บริษัทมีการจดทะเบียนเพิ่มทุน ผู้ถือหุ้นเดิม มีสิทธิ์ที่จะซื้อ หุ้นเพิ่มทุนก่อน และ 2. การลงทุนทางอ้อม โดยผู้ถือหุ้นสามารถเพิ่มจำนวนการถือหุ้นในบริษัทได้ตามสัดส่วนยอดขาย ซึ่งในขณะนี้บริษัทได้จัดสรรหุ้นส่วนหนึ่งเตรียมไว้สำหรับแจกจ่ายให้กับตัวแทนจำหน่ายแล้วประมาณ 90,000 หุ้น นอกจากนี้ยังได้นำระบบอี-บิสิเนสมาใช้เป็นเครื่องมือซื้อขายกับดีลเลอร์ทั่วประเทศ "เราได้ออกแบบโครงสร้างเป็นบริษัทมหาชน ซึ่งรองรับการเข้ามาถือหุ้นของดีลเลอร์ ขณะเดียวกันจะจัดแต่งตั้งดีลเลอร์ขึ้นมาจังหวัด ละ 1 แห่ง เพื่อลดปัญหาการแข่งขันด้านราคา ซึ่งผลประโยชน์ตอบแทนที่ดีลเลอร์จะได้รับ คือกำไรที่สูงกว่าการขายคอมพิวเตอร์โลคัล แบรนด์ประมาณ 3-5% ในขณะที่ดีลเลอร์ที่ เข้ามาถือหุ้นในบริษัทจะได้รับการปันผลกำไรตามสัดส่วนการถือหุ้น โดยบริษัทมีแผนประชุมกรรมการบริษัทปีละ 2 ครั้ง เพื่อพิจารณา ปันผลกำไร หรือนำผลกำไรไปลงทุนเพิ่ม และจะมีการบันทึกรายการเปลี่ยนแปลงของหุ้น ของผู้ถือหุ้นภายในวันที่ 30 กันยายนของ ทุกปี และจะมีการปันผลในวันที่ 30 พฤศจิกายน ของทุกปี โดยเราคาดว่าในปีแรกของการทำ ธุรกิจจะสามารถปันผลให้กับผู้ถือหุ้นได้ทันที อย่างไรก็ตามยังไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นจำนวนเท่าไร นอกจากนี้ยังสามารถสร้างราย ได้จากการให้บริการ โดยร้านค้าที่เข้าร่วมเป็นดีลเลอร์จะได้รับการแต่งตั้งเป็นศูนย์บริการ ดี-คอมเซอร์วิส ซึ่งจะได้รับผลตอบแทนการให้บริการกับดีคอมพิวเตอร์" นายณัฐพงศ์กล่าวต่อไปว่า ปัจจุบันตลาด คอมพิวเตอร์มีการแข่งขันรุนแรงทำให้แนว โน้มกำไรที่ได้รับลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเชื่อ ว่าต่อไปจะเห็นรูปแบบของการรวมกลุ่มระหว่างผู้ค้ามากขึ้น ซึ่งขณะนี้ก็มีกระแสข่าวการรวมกลุ่มผู้ค้าในภาคอีสาน และห้างพันธุ์-ทิพย์ โดยส่วนหนึ่งรวมกลุ่มกันเพื่อสร้าง อำนาจต่อรองกับผู้ผลิตหรือผู้ค้าส่ง ในขณะ ที่อีกกลุ่มหนึ่งรวมตัวกัน เพื่อผลักดันสินค้า จากแบรนด์ระดับท้องถิ่นเป็นแบรนด์ระดับ ประเทศ ซึ่งในส่วนของบริษัทเกิดจากการรวมตัวกันระหว่างผู้ค้าอันดับ 1 และ 2 ของแต่ละจังหวัด โดยภายในปลายปีนี้คาดว่าจะมีร้าน ค้าปลีกทั่วประเทศเข้ามาร่วมเป็นตัวแทนจำ-หน่าย 50 ราย และเพิ่มเป็น 100 ราย ภายในสิ้นปี 2547 และคาดว่าในปีหน้าจะมียอดขายเฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างเดียวเดือนละ 1,000 เครื่อง ขณะเดียวกันยังมีแผนเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 5 ล้านบาท "จุดได้เปรียบของเราคือร้านค้าที่เข้าร่วมเป็นเบอร์ 1 และ 2 ของแต่ละจังหวัด ซึ่งเป็น ที่เชื่อถือของลูกค้า ซึ่งลูกค้าต่างจังหวัดส่วนใหญ่จะยึดติดกับร้านค้ามากกว่าแบรนด์ ซึ่ง เราก็จะผลักดันร้านค้าเหล่านี้ให้ขายแบรนด์ สปิริตมากขึ้น" แหล่งข่าวจากวงการค้าส่งสินค้าไอทีรายหนึ่ง กล่าวว่า ปัจจุบันกำไรจากการขายคอม-พิวเตอร์ลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะหลังจากการเกิดของคอมพิวเตอร์ไอซีที ราคา 10,000 บาทต้นๆ ออกมาสู่ตลาดนั้นผู้ค้ารายย่อย ในต่างจังหวัดได้รับผลกระทบจากโครงการดังกล่าวเป็นอย่างมาก ซึ่งสุดท้ายก็มีการรวมกลุ่มกันสร้างแบรนด์ของตัวเองขึ้นมาเพื่อความอยู่ รอด ซึ่งการรวมกลุ่มกันเพื่อสั่งสินค้าจากผู้ ผลิตในลักษณะของจำนวน หรือวอลุ่ม จำนวนมากนั้นทำให้สามารถสร้างอำนาจต่อรองกับผู้ผลิต และสร้างผลกำไรได้มากกว่าการเป็นตัวแทนจำหน่ายให้กับผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ นายสมบูรณ์ พิริยากูร ประธานชมรม ผู้ประกอบคอมพิวเตอร์ไทย กล่าวว่า โครงการคอมพิวเตอร์ไอซีที เป็นส่วนสำคัญที่กระตุ้น ให้ผู้ค้าจำเป็นต้องมีการปรับตัวเพื่อหนีตาย โดยการรวมตัวกันเป็นกลุ่มธุรกิจเพื่อแข่งขัน และสร้างอำนาจต่อรองเร็วขึ้นกว่าเดิม เพราะด้วยภาวะการแข่งขัน ประกอบกับกำไรที่ลดลงทำให้ผู้ประกอบการรายย่อยไม่สามารถแข่งขัน ได้ อย่างไรก็ตามขณะนี้ทางกลุ่มผู้ประกอบการในห้างพันธุ์ทิพย์ยังไม่มีแผนรวมกันสร้างแบรนด์ขึ้นมาแบรนด์หนึ่งเพื่อทำตลาดไปทั่วประเทศ แต่มีการรวมกลุ่มกันเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลเท่านั้น
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook