ประยุกต์ 4 โปรแกรมคอมพ์ดีไซน์เครื่องประดับไทย

ประยุกต์ 4 โปรแกรมคอมพ์ดีไซน์เครื่องประดับไทย

ประยุกต์ 4 โปรแกรมคอมพ์ดีไซน์เครื่องประดับไทย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
เดลินิวส์ : แนวทางหนึ่งในการเพิ่มศักยภาพของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของไทย คือการเป็นผู้ออกแบบเองแทนที่จะเป็นผู้ผลิตตามใบสั่งของบริษัทต่างประเทศ แต่การออกแบบของไทยมักใช้การร่างด้วยมือ ซึ่งเมื่อเข้าสู่กระบวนการผลิตอาจมีปัญหาเกิดขึ้น เช่น ตุ่มไข่ปลา รูปทรง ฟองอากาศ ฯลฯ ส่งผลให้งานขาดคุณภาพและมีต้นทุนเพิ่ม ขณะที่การออกแบบของเมืองนอกจะใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาช่วย ซึ่งทำให้การออกแบบเครื่องประดับสามารถผนวกไอเดียเข้ากับความเป็นไปได้ในการผลิตได้อย่างรวดเร็วและลงตัว แต่การที่จะนำเข้าเทคโนโลยีดังกล่าวเข้ามาพัฒนาการออกแบบเครื่องประดับของไทยนั้น รศ.วรรณรัตน์ ตั้งเจริญ อาจารย์ประจำสาขาวิชาออกแบบทัศนศิลป์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มองว่ามีความเป็นไปได้น้อย เพราะภาคเอกชนส่วนหนึ่งซึ่งมีขนาดกลางและขนาดเล็ก ไม่มีเงินทุนเพียงพอที่จะนำเข้าเทคโนโลยีได้ ด้วยเหตุนี้ รศ.วรรณรัตน์ จึงได้ทำวิจัยเรื่อง การบูรณาการโปรแกรมคอมพิวเตอร์กราฟิกสำหรับการออกแบบเครื่องประดับและกระบวนการผลิต โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เพื่อศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับการออกแบบที่มีวางขายทั่วไปในท้องตลาดมาเพิ่มศักยภาพของดีไซเนอร์ไทย ตเวลาการวิจัย 24 เดือน ได้รวบรวมและวิเคราะห์โปรแกรมออกแบบสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ประมาณ 26 โปรแกรม โดยพิจารณาจากคุณสมบัติที่สัมพันธ์ กับการออกแบบเครื่องประดับ ซึ่งพบว่าเกือบทุกโปรแกรมจะออก แบบเครื่องประดับได้ แต่ก็แตกต่างในด้านเครื่องมือและคุณ สมบัติ ซึ่งมีผลต่อการออกแบบและความเป็นไปได้เมื่อนำไปสู่กระบวนการผลิต โดยโปรแกรมที่เห็นว่าใช้ได้จริงมีอยู่อย่างน้อย 4 ชนิดด้วยกันคือ Corel Draw, Adobe Illustrator, 3 D Studio MAX และ SolidWorks ซึ่งนำมาสู่การใช้โปรแกรมร่วมกันแบบบูรณาการ รศ.วรรณรัตน์ ให้ข้อมูลว่า CorelDraw เป็นโปรแกรมที่มีความสามารถในการสเกตช์ภาพได้หลากหลาย เหมาะกับการใช้สเกตช์ชิ้นงานเครื่องประดับ ส่วนโปรแกรม Adobe Illustrator มีคุณสมบัติของงานคมชัด เส้นเรียบใช้งานร่วมกับหลายโปรแกรมได้ ให้สีไม่เปลี่ยนและยังสามารถนำข้อมูลขึ้นในเว็บไซต์เพื่อการโฆษณา ขณะที่ 3 D Studio MAX มีความสามารถหลักสำหรับการสร้างภาพ 3 มิติ ทำให้ผลงานจากการออกแบบเครื่องประดับที่สร้างด้วยโปรแกรมดังกล่าวมีความเหมือนจริงเหมือนการถ่ายภาพเพราะมีเครื่องมือ แสงเงาทำให้ผลงานเป็นมิติ มีความเหมาะสมที่จะนำไป ใช้เพื่อการนำเสนอผลงานให้กับลูกค้า และโปรแกรม SolidWorks เป็นโปรแกรมวิศวกรเขียนแบบสั่งรายละเอียด วิเคราะห์แบบก่อนการผลิตเป็นปริมาตร 3 มิติได้ เดิมเราเคยคิดว่าการใช้โปรแกรม อาจไปลดควมคิดสร้างสรรค์ลง เพราะเมื่อดีไซเนอร์มีประสบการณ์การใช้โปรแกรมจนคุ้นเคยแล้ว รูปแบบของงานจะถูกบังคับด้วยเครื่องมือที่มีอยู่ในโปรแกรม แต่การบูรณาการโปรแกรมที่มีความแตกต่างกัน จะช่วยให้สามารถสร้างงานออกแบบที่มีความหลากหลาย และมีข้อมูลที่สื่อไปถึงกระบวนการผลิตในระบบอุตสาหกรรมได้ง่าย ซึ่งเราสามารถส่งข้อมูลไปให้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ระบบ CAM ผลิตเป็นชิ้นงานจริงได้แล้วถึง 50 แบบ รศ.วรรณรัตน์ สรุปว่าไม่ใช่ว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะทำให้นักออกแบบฝีมือดีขึ้น แต่จะทำให้นักออกแบบสามารถสื่อความคิดสร้างสรรค์ออกมาเป็นผลงานได้เร็วขึ้น แปลกขึ้น และอยู่บนฐานของการผลิตได้จริงในเชิงอุตสาหกรรม เพราะจะไม่เป็นเพียงภาพสเกตช์อย่างเดียว แต่จะเป็นข้อมูล 3 มิติ ที่นำไปทำต้นแบบจริงได้ นั่นหมายถึงค่าใช้จ่ายในการออกแบบที่ลดลงอย่างมาก ที่สำคัญงานวิจัยนี้เป็นที่ยอมรับจากบริษัทเอกชนหลายราย ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่จะนำไปสู่การสร้างผลิตภัณฑ์อัญมณีและเครื่องประดับที่เป็นแบรนด์ เนมของไทยขึ้นมาในอนาคต

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ ของ ประยุกต์ 4 โปรแกรมคอมพ์ดีไซน์เครื่องประดับไทย

ประยุกต์ 4 โปรแกรมคอมพ์ดีไซน์เครื่องประดับไทย
ประยุกต์ 4 โปรแกรมคอมพ์ดีไซน์เครื่องประดับไทย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook