บีเอสเอเตรียมดันผลวิจัยลดละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ให้รัฐบาล

บีเอสเอเตรียมดันผลวิจัยลดละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ให้รัฐบาล

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
สำนักข่าวไทย : กลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ หรือ บีเอสเอ แถลงผลการศึกษา " การกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจโลก:ประโยชน์จากการลดการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์แวร์" โดยพบว่า หากไทยลดการละเมิดเหลือร้อยละ 70ายใน 4ปีข้างหน้า จะทำให้อุตสาหกรรมไอทีขยายตัวถึง 2 เท่า นายโจนาธาน เซวาสกาเม ประธานบีเอสเอ ประจำประเทศไทย และอินโดนีเซีย กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ร้อยละ 77 ของการใช้ซอฟต์แวร์ทั้งหมด หากลดลงเหลือร้อยละ 70 ภายใน 4 ปี จะทำให้เกิดการจ้างงานในภาคไอทีระดับสูงถึง 3,500 ตำแหน่ง และเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจถึง 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ รวมถึงช่วยเพิ่มรายได้จากการจัดเก็บภาษีอีก 40 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ทั้งนี้ ปัจจุบันประเทศไทยมีการเติบโตในภาคอุตสาหกรรมไอที 1,800 ล้านดอลล่าร์สหรัฐต่อปี ส่งผลต่อโอกาสทางธุรกิจและการจ้างงานในประเทศ หากการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ของไทยลดลงเหลือร้อยละ 70 จะช่วยกระต้นการเติบโตของภาคธุรกิจให้มีมูลค่า 3,300 ล้านดอลล่าร์สหรัฐภายในปี 2549 การศึกษาดังกล่าว ยังพบด้วยว่า เอเชีย-แปซิฟิก เป็นกลุ่มประเทศที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์สูงสุด จากการศึกษาประเทศตัวอย่าง 57 ประเทศทั่วโลก โดยเวียดนามมีอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ร้อยละ 94 สิงคโปร์ร้อยละ 51 ฟิลิปินส์ร้อยละ 63 เกาหลีร้อยละ 48 และ มาเลเซียร้อยละ 70 เป็นต้น ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า อุตสาหกรรมไอทีในเอเชีย-แปซิฟิก มีศักยภาพการเติบโตที่สูง โดยคาดว่าจะขยายตัวจาก 175,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ เป็น 350,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ และหากลดอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ได้ร้อยละ 10 จะทำให้อุตสาหกรรมไอทีในเอเชียขยายตัวเกือบ 2 เท่าภายในระยะเวลา 4 ปี ทั้งนี้ บีเอสเอ จะเสนอผลการศึกษาดังกล่าวต่อรัฐบาลไทย เพื่อชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นหากลดการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ และต้องการเห็นรัฐบาลไทยให้ความร่วมมือในมาตรการต่างๆ ทั้งการบังคับใช้กฎหมายลิขสิทธิ์ที่ครอบคลุมถึงการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์บนอินเทอร์เน็ต ซึ่งปีนี้บีเอสเอมีแผนที่จะรณรงค์ให้คนไทยเห็นถึงความสำคัญต่อทรัพย์สินทางปัญญาอย่างต่อเนื่อง และหากใช้ไม่ได้ผล ก็จะใช้วิธีการปราบปรามเป็นทางเลือกสุดท้าย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook