Infocus IN82

Infocus IN82

Infocus IN82
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

Infocus
IN82
DLP FRONT-PROJECTOR

“..1080p performance, no compromises. Video purists rejoice!.”
 
HT  คุณรู้มั้ยว่า อะไรคือองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของคำว่า ‘ภาพที่ดี’?
    
สีสัน? โมชั่น? ครับ.. ใช่ – ทั้งสองอย่างนั้นคือองค์ประกอบที่สำคัญสำหรับภาพที่ดี แต่ยังไม่ใช่องค์ประกอบที่สำคัญที่สุด เพราะองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดก็คือ ‘ความสว่าง’ ครับ เนื่องเพราะตาของคนเราต้องอาศัยแสงสว่างในการมองเห็นภาพ ซึ่งภาพที่ดีนั้นจะต้องมีความสว่างเพียงพอที่ตาของคนเราจะสามารถมองเห็นราย ละเอียดของภาพนั้นได้อย่างชัดเจน ทั้งในส่วนที่มีปริมาณแสงน้อย (ฉากมืด) และในส่วนของภาพที่มีปริมาณแสงเยอะๆ (ฉากสว่าง) และต้องเป็นปริมาณของความสว่างที่ไม่ทำให้ตาของเราเกิดอาการล้าเมื่อรับชมไป นานๆ ด้วย
   
นั่นคือ ภาพที่ดีนั้น เบื้องต้นความสว่างจะต้องพอดีก่อน อย่างอื่นอาทิ สีสันและโมชั่นจึงจะตามมา..
 
  สว่าง...ดี!                                               
นี่ น่าจะเป็นโปรเจ็กเตอร์ 1080p ที่มีความสว่างสูงสุดในตลาดทุกวันนี้แล้วกระมัง..? ด้วยอัตราสำรองความสว่างที่หนาแน่นสามารถอัดขึ้นไปได้สูงสุดถึงระดับ 1500 ANSI lumen กับค่า Contrast Ratio ที่กว้างถึง 12,000:1 ทำให้โปรเจ็กเตอร์ตัวนี้เป็นโปรเจ็กเตอร์ที่ให้ ‘ไลต์เอาต์พุต’ หรืออัตราความสว่างของภาพได้สูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ยของโปรเจ็กเตอร์ตัวอื่นๆ ในท้องตลาดอย่างชัดเจน  
   
ซึ่ง ประโยชน์ของโปรเจ็กเตอร์ที่มีไลต์เอาต์พุตสูงๆ อย่าง IN82 ตัวนี้มีอยู่ 2 ประการเด่นๆ ด้วยกัน อันแรกคือ สามารถนำไปเซ็ตอัพใช้งานในห้องหรือพื้นที่ที่มีสภาพความสว่างสลัวๆ ได้ ซึ่งเหมาะกับคนที่ไม่ชอบดูหนังในห้องมืดสนิท ส่วนประโยชน์อีกประการหนึ่งก็คือทำให้สามารถฉายภาพด้วยขนาดจอที่ใหญ่เกิน 100 นิ้วขึ้นไปได้โดยไม่ทำให้คุณภาพของภาพด้อยลง
   
IN82 เป็นโปรเจ็กเตอร์ DLP ที่ใช้ชิพ DMD รุ่น DarkChip3 ซึ่งมีเรโซลูชั่นระดับ FULL HD คือเท่ากับ 1920x1080 พิกเซล ใช้วงล้อสีที่มีแถบสี 7 แถบ (RGB สองชุดกับแถบฟิลเตอร์ ND อีกหนึ่งแถบ) ทำงานร่วมกับหลอดไฟแบบ UHP ที่มีกำลัง 300W ในการสร้างแสงและสีของภาพ ทำให้ส่วนการทำงานของระบบการสร้างสีสันของภาพของโปรเจ็ก-เตอร์ตัวนี้มี ประสิทธิภาพสูงพอที่จะรับมือกับสัญญาณสีที่ระดับ Deep Color (ความละเอียดของสี 30 บิต) ได้อย่างสบาย (ทางช่อง HDMI ซึ่งรุ่นนี้ใช้เวอร์ชั่น 1.3) ส่วนการประมวลผลภาพนั้น IN82 เลือกใช้ชิพที่ชื่อว่า Digital Natural Expression (DNX) ของค่าย Pixelworks ซึ่งเป็นชิพที่อาศัยโปรเซสเซอร์ที่มีความละเอียดในการประมวลผลสูงถึง 10 บิต สำหรับการทำโปรเกรสซีฟ, ปรับแต่งสี และลดสัญญาณรบกวนของภาพ           
 
การเชื่อมต่อ+ติดตั้ง                                
IN82 มีช่องอินพุตสำหรับสัญญาณภาพมาให้ครบทุกรูปแบบของขั้วต่อ ได้แก่ M1-DA, HDMI, Component video, S-video และ Composite Video ซึ่งสามารถรองรับกับสัญญาณภาพได้ครบทุกรูปแบบทั้งที่อยู่ในรูปของสัญญาณ ดิจิตอลและอะนาล็อก ทั้งในโหมดวิดีโอและโหมดกราฟิก สำหรับขั้วต่อ M1-DA นั้นเป็นขั้วต่อที่เอาขั้วต่อสัญญาณ USB เข้าไปพ่วงอยู่กับขั้วต่อสัญญาณ DVI แต่ช่อง M1-DA ที่ติดตั้งมาให้ในรุ่น IN82 นี้ถูกออกแบบมาให้สามารถรองรับสัญญาณภาพจากช่อง HDMI ได้ด้วย (วงจร receiver ด้านในมี HDCP) ภายในกล่องจะมีอะแด็ปเตอร์สำหรับ HDMI>M1-DA มาให้ในกรณีที่คุณมีอุปกรณ์ต้นทางที่ใช้ขั้วต่อ HDMI สองตัวและต้องการจะนำมาต่อเชื่อมกับโปรเจ็กเตอร์ตัวนี้ทั้งสองตัว หรือจะใช้ขั้วต่อ M1-DA สำหรับต่อเชื่อมกับขั้วต่อ DVI ของการ์ดจอคอมพิวเตอร์ก็สามารถทำได้
   
นอก จากขั้วต่อสัญญาณภาพแล้ว IN82 ยังมีช่องต่อสัญญาณรีโมตเพื่อใช้ควบคุมสั่งงานระยะไกล (รีโมต IR) มาให้หนึ่งช่อง, ช่องสัญญาณ 12V สำหรับส่งออกไปกระตุ้นการทำงานของมอเตอร์ของจอภาพหนึ่งช่อง รวมถึงขั้วต่อ RS232 สำหรับสัญญาณคอนโทรลจากอุปกรณ์ควบคุมการสั่งงานจากภายนอก อาทิ อุปกรณ์โฮมออโตเมชั่นฯ อีกหนึ่งช่อง ซึ่งนับว่าเป็นโปรเจ็กเตอร์อีกตัวหนึ่งที่มีฟังก์ชันอำนวยความสะดวกในการติด ตั้งมาให้เพียบ
    
เอกลักษณ์ ประการหนึ่งสำหรับโปรเจ็กเตอร์ของ Infocus ก็คือขาที่สามารถหมุนตัวโปรเจ็กเตอร์ไปได้หลากหลายมุม เมื่อรวมกับฟังก์ชัน Keystone ในแนวตั้งที่สามารถปรับทรวดทรงของภาพแก้ปัญหาภาพบิดเป็นสี่เหลี่ยมคางหมูได้ ก็ยิ่งช่วยทำให้การติดตั้งมีความสะดวกมากขึ้น ช่วยเอื้ออำนวยต่อการแก้ไขปัญหาในการติดตั้งภายใต้สภาพการณ์ที่ไม่เหมาะสม ได้ดียิ่งขึ้น อีกฟังก์ชันคือ Image-shift ที่จะช่วยให้คุณเลื่อนภาพขึ้นลงในแนวดิ่งได้ (ตัวขาตั้งสามารถถอดออกได้ซึ่งจะทำให้การติดตั้งในลักษณะหงายท้องเกาะอยู่บน ฝ้าเพดานทำได้สะดวกมากขึ้น)
   
ชุด เลนส์ที่ใช้ใน IN82 เป็นซูมเลนส์ที่มีอัตราย่อ-ขยายเท่ากับ 1.2 เท่า เมื่อทำการเซ็ตอัพเพื่อฉายบนจอที่มีขนาด 92 นิ้ว (16:9) ในห้องทดสอบของเรา มันต้องการระยะวางห่างจากจอใกล้สุดอยู่ที่ 3.77 เมตร (ปรับซูมขยายสุด) และห่างสุดอยู่ที่ระยะ 4.52 เมตร (ปรับซูมย่อสุด) หรือถ้าขยายออกมาเป็น 100 นิ้ว (16:9) ก็จะกินระยะฉายใกล้สุดอยู่ที่ 4.0 เมตร และไกลสุดอยู่ที่ระยะ 4.9 เมตร ซึ่งถือว่าเป็นระยะฉายระดับปานกลางเมื่อเทียบกับโปรเจ็กเตอร์ตัวอื่นๆ ในท้องตลาดทั่วไป ภาพที่พุ่งผ่านเลนส์ออกมาจากตัวเครื่องจะถูกตั้งค่า offset เอาไว้เท่ากับ 136 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับจุดกึ่งกลางของเลนส์ (สมมุติว่าคุณกำหนดระยะฉายที่ให้ความสูงของภาพอยู่ที่ 10 นิ้ว เมื่อฉายภาพออกไป จะทำให้ส่วนขอบด้านล่างสุดของภาพยกลอยจากแนวกึ่งกลางเลนส์ขึ้นมาเท่ากับ 3.6 นิ้ว) ซึ่งจุดนี้จะช่วยทำให้คุณสามารถจัดตั้งโปรเจ็กเตอร์เอาไว้ได้ต่ำติดพื้นมาก ขึ้นในกรณีที่วางฉายบนโต๊ะ และในขณะเดียวกัน เมื่อนำโปรเจ็กเตอร์
ตัวนี้ไปแขวนห้อยหัวอยู่บนเพดานก็จะช่วยให้มันไม่ห้อยลงมาต่ำมาก     
 
เซ็ตอัพ+ปรับแต่ง                                   
IN82 มีฟังก์ชัน IRIS ที่ช่วยหรี่รูปล่อยแสงของเลนส์ภาพมาให้ใช้สำหรับการควบคุมปริมาณไลต์เอาต์พุ ตของภาพ ซึ่งนอกจากจะทำให้ได้ความสว่างที่เหมาะสมกับขนาดของจอที่คุณใช้และเหมาะสม กับปริมาณความสว่างของพื้นที่ที่คุณใช้ชมแล้ว การปรับตั้งขนาดรูรับแสงของ IN82 ให้เหมาะสมนี้จะทำให้ได้คอนทราสต์ของภาพที่ถูกต้องกับปริมาณความสว่างในขณะ นั้นด้วย จากการเซ็ตอัพของทีมงานจากบริษัท แม็กเนท เทคโนโลยีส์ ที่มาอำนวยความสะดวกให้ถึงออฟฟิศของเรา พวกเขาได้จัดการปรับค่า IRIS ของ IN82 เอาไว้ที่ระดับปานกลางคือ 64 (ทางอินโฟกัสกำหนดสเกลของค่า IRIS ไว้ตั้งแต่ 0-100 โดยที่ 100 เป็นการเปิดรูปล่อยแสงมากสุด) ซึ่งทางทีมงานของแม็กเนทฯ แจ้งว่า ค่าไลต์เอาต์พุตที่เหมาะสมสำหรับจอภาพขนาดระหว่าง 92-100 นิ้ว (16:9) จะอยู่ที่ระดับของค่า IRIS ประมาณ 50 กว่าๆ ขึ้นไปโดยเกาะอยู่บริเวณช่วงกลางๆ ของค่า IRIS ซึ่งไม่น่าจะเกิน 50-70 ขึ้นอยู่กับตัวแปรสองอย่างคือเกนของจอกับสภาพแสงแอมเบี๊ยนต์ภายในห้อง
   
IN82 แบ่งเมนูการใช้งานเครื่องทั้งหมดเอาไว้เป็น 4 ระดับ โดยเอาหัวข้อเมนูย่อยที่เอาไว้ใช้ในการปรับแต่งภาพไปรวมไว้ในหัวข้อหลักที่ ชื่อว่า ‘Picture’ ซึ่งในนั้นจะมีหัวข้อย่อยที่ส่งผลสำคัญต่อการปรับแต่งภาพอยู่หลายตัว อย่างเช่น High Power ซึ่งเป็นการปรับเลือกระดับความสว่างของหลอดไฟว่าจะให้มันส่งความสว่างออกมา เต็มที่ (High Power : On) ซึ่งจะได้อัตราความสว่างออกมาเท่ากับ 1500 ANSI เหมาะกับการใช้งานในห้องที่มีปัญหาในการควบคุมแสงสว่าง หรือจะลดลงไปอยู่ที่ระดับ 1200 ANSI ซึ่งเป็นระดับความสว่างที่เหมาะกับการใช้งานในห้องที่ค่อนข้างมืดสนิท ซึ่งหากคุณเลือกผิด อย่างเช่นใช้งานในห้องที่ค่อนข้างมืดแต่เผลอไปเลือกตั้ง High Power เป็น On จะทำให้คุณปรับตั้งค่า white balance ได้ยาก ภาพที่ได้ก็จะมีลักษณะที่สูญเสียคอนทราสต์ของภาพและความหนาแน่นของเนื้อสีลง ไป และในทางกลับกันก็อาจจะทำให้คุณต้องทำการเพิ่มค่า Contrast และ Brightness ของโปรเจ็กเตอร์ขึ้นมามากจนทำให้ภาพมีเกรนหยาบได้และจะทำให้ความใสบริสุทธิ์ ของสีด้อยลง
   
ฟังก์ชัน Gamma ของ IN82 มีค่าสำเร็จให้เลือกใช้อยู่ 5 ค่า ตั้งชื่อไว้ตามลักษณะของสัญญาณต้นทางคือ CRT, Film, Video, PC และ Bright Room ซึ่ง CRT กับ Film จะเป็นสองค่าเหมาะกับการดูหนังกับแผ่นดีวีดีหรือบลู-เรย์ โดยที่ CRT นั้นจะลดความสว่างด้านบนๆ (บริเวณที่มีแสงมาก) ลงนิดหนึ่งในขณะที่ให้การเกลี่ยแสงบริเวณที่มีความสว่างปานกลางลงไปได้ราบ เรียบ มีผลให้ภาพที่ดูโดยใช้แกรมม่าค่านี้มีลักษณะที่นุ่มนวลต่อสายตา แต่โดยรวมก็มีความกระจ่างอยู่ในระดับที่น่าพอใจ ส่วน Film นั้นตรงส่วนของภาพบริเวณสว่างจะมีลักษณะเปิดกระจ่างมากกว่าหน่อย ส่วนในจุดที่มีความสว่างระดับปานกลางลงมาจะมีลักษณะคล้ายกับ CRT
   
อีก ฟังก์ชันที่มีผลต่อการปรับแต่งภาพของโปรเจ็กเตอร์ตัวนี้ นั่นคือ Color Temperature ซึ่งมีมาให้เลือกใช้อยู่ 4 ค่าได้แก่ 6500K, 7500K, 9300K และ Native ซึ่งจากการทดลองเลือก 6500K มาใช้กับสัญญาณภาพจากแผ่นดีวีดีและบลู-เรย์พบว่ามันเป็นค่าที่ปรับตั้งมา ค่อนข้างแม่น ให้สีขาวที่ขาวจริง สะอาดและบริสุทธิ์ ไม่อมเหลืองหรืออมฟ้า ในขณะที่สีอื่นๆ ก็มีเฉดที่เด่นชัด สดใส และถูกต้องใกล้เคียงกับธรรมชาติมาก แต่หากจอที่ใช้กับโปรเจ็กเตอร์ตัวนี้มีความเบี่ยงเบนทางด้านเฉดสีซึ่งทำให้ ค่า 6500K ที่โปรเจ็กเตอร์ตัวนี้ให้มามีสีสันที่ผิดเพี้ยนไปและที่ 7500K หรือ 9300K ก็ไม่สามารถทดแทนเพื่อแก้ปัญหาได้ ในกรณีนี้คุณก็สามารถปรับตั้งค่า white balance ขึ้นมาใหม่เพื่อให้ไปเฉลี่ยกับค่าความเบี่ยงเบนของจอเพื่อให้ได้ส่วนผสมของ โทนสีที่เป็นธรรมชาติมากที่สุดได้ด้วยการเข้าไปปรับค่า gain และ offset ของแม่สี RGB ได้จากหัวข้อเมนูที่ชื่อว่า ‘Color Control’ โดยอาศัยเครื่องมือวัดค่าสีมาช่วย (ขั้นตอนนี้แนะนำให้เรียกใช้บริการของตัวแทนจำหน่ายคือบริษัท แม็กเนทฯ มาช่วยดูแลให้ เพราะถ้าปรับโดยไม่ใช้เครื่องมือวัดมาช่วยมีสิทธิ์เละได้ง่ายๆ)    
 
ประสิทธิภาพของ IN82                            
ความ สว่าง (Ansi lumen) ที่ค่อนข้างสูงของ IN82 ส่งผลดีต่อคุณภาพของภาพอย่างมาก มันเป็นปริมาณของเอาต์พุตที่สูงมากพอที่จะทำให้ภาพที่ได้สามารถเปล่ง ‘พลัง’ ออกมาได้เต็มประสิทธิภาพ ให้ความรู้สึกและอารมณ์ของภาพออกมาได้ใกล้เคียงเหตุการณ์จริงมากขึ้น คือทำให้ฉากที่ถ่ายทำกลางแสงแดดธรรมชาติดูมีพลังของแสงแดดที่เร่าร้อนและปลด เปล่งรัศมีออกมาได้ใกล้เคียงตาเห็น และด้วยอัตราคอนทราสต์ของภาพที่ค่อนข้างสูง เมื่อทำการปรับแต่งภาพอย่างละเอียดลงตัวดีแล้ว มันก็สามารถแจกแจงรายละเอียดของภาพออกมาให้เห็นได้อย่างหมดจดชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของภาพที่อยู่ในระดับความสว่างสูง (high light) รายละเอียดของภาพในจุดที่ถูกแสงสว่างโลมเลียก็ไม่ได้สูญเสียไป อีกทั้งในจุดของภาพที่ถูกเงามืดครอบคลุมก็ไม่ได้มืดทึมทึบซะจนมองไม่เห็นราย ละเอียดที่แอบซ่อนอยู่ในเงามืดที่ว่านั้น
    
ความ สว่างของ IN82 ยังช่วยทำให้เฉดสีของภาพมีวรรณะที่เปล่งปลั่ง สดใส ไม่อึมครึมมัวซัว สีแต่ละสีมีพลังในตัวเอง มีมวลและมีเนื้อ และเมื่อเล่นด้วยแผ่นภาพฟอร์แมต HD อย่างบลู-เรย์ฯ ก็จะได้เฉดสีที่แตกตัวออกไปจากสีหลักอีกมากมาย ทำให้โทนของสีมีความใกล้เคียงธรรมชาติมากขึ้น การไล่อ่อน-แก่ของโทนสีก็มีความละเอียดมากขึ้น และที่น่าทึ่งก็คือว่ามันให้การไล่โทนของสีผสมระหว่างสีสองสีที่มีความ ละเอียดมากยิ่งขึ้น มีผลให้ได้ภาพรวมที่ดูเป็นธรรมชาติมากขึ้น ความเป็นการ์ตูนของสีลดน้อยลง
    
ชิ พ DNX ของ Pixelworks ทำงานร่วมกับสัญญาณอินพุต 1080p/24Hz จากแผ่นบลู-เรย์ที่เล่นด้วยเครื่องเล่นบลู-เรย์ของ Pioneer LX70A ออกมาได้สวยสดงดงามจริงๆ โดยเฉพาะโมชั่นที่ 24fps นั้นมันช่างไหลรื่นซะเหลือเกิน ให้อารมณ์ดุจดูจากฟิล์มในโรงภาพยนตร์นั่นเทียว ยอดเยี่ยมมากครับ.. ขอบอก!
 
สรุป                                                       
โป รเจ็กเตอร์ตัวนี้มีฟังก์ชัน 2.35:1 widescreen ที่ไว้ใช้กับเลนส์อะนา-มอร์ฟิกติดมาให้ด้วย ซึ่งถือว่าเป็นอีกหนึ่งจุดเด่นที่น่าสนใจมาก เพราะถ้าคุณต้องการปรับมุมการรับชมภาพยนตร์ในบ้านให้ใกล้เคียงประสบ- การณ์ในโรงภาพยนตร์ให้มากขึ้นด้วยการปรับสัดส่วนของจอเป็นซีนีมาสโคป 2.35:1 (21:9) แต่ถ้าโปรเจ็กเตอร์ที่ใช้ไม่มีฟังก์ชัน 2.35:1 widescreen เหมือน IN82 ตัวนี้ คุณจะต้องไปหาซื้อตัววิดีโอ-โปรเซสเซอร์ภายนอกมาใช้เพื่อทำอะนามอร์ฟิก 2.35:1 ซึ่งก็ไม่ใช่การลงทุนน้อยๆ เลย แต่ถ้าคุณใช้โปรเจ็กเตอร์ IN82 ตัวนี้ก็ไม่ต้องไปเสียเงินซื้อตัววิดีโอ-โปรเซสเซอร์ที่ว่านั้นอีก ช่วยประหยัดไปได้อีกหลายหมื่น..
   
รวม ความแล้ว IN82 ตัวนี้เป็นโปรเจ็กเตอร์ 1080p ที่สร้างความพึงพอใจให้ผมเป็นอย่างมากในการทดสอบมันครั้งนี้ ภาพ HD 1080p ที่ได้จากโปรเจ็กเตอร์ตัวนี้ถือว่าอยู่ในระดับอ้างอิงเป็นต้นแบบของภาพ HD ระดับสุดยอดได้เลยโดยไม่มีข้อกังขาแต่อย่างใดทั้งสิ้น หากอยากได้ข้อสรุปรวบยอดแบบสั้นๆ ผมยกให้..
   
Two Thumbs Up ครับ!  @
 
.....................................................................................

 คุณสมบัติสำคัญ                                       
ความละเอียด 1920x1080 pixels
สัดส่วนของภาพ widescreen 16:9
ความสว่างสูงสุด 1500 ANSI lumens
คอนทราสต์สูงสุด 4,000:1 (Native), 12,000:1 (Iris)

.....................................................................................
 
 ตัวแทนจำหน่าย                                          
บริษัท แม็กเนท เทคโนโลยีส์ จำกัด
โทร.0-2907-7923-5 ต่อ 55,64
ราคา :
259,800 บาท/ตัว

.....................................................................................
 
 อุปกรณ์ร่วมทดสอบ                                    
เครื่องเล่นบลู-เรย์ : Pioneer BDP-LX70A
เครื่องเล่นดีวีดี : Oppo DV-980H
เอวี-แอมป์ :  Marantz SR8002
ชุดลำโพงเซอร์ราวนด์ : Wharfedale  Evo2
จอภาพ :  Stewart FireHawk
สายสัญญาณภาพ : Furutech Alpha Process (HDMI), WireWizard (HDMI)
สายลำโพง : Kimber Kable 4 TC (single-wire)
สายไฟเอซี : Virtual Dynamic David 2.0
เอซี-ดิสตริบิวเตอร์ : Clef PowerBRIDGE-8
ชั้นวางเครื่อง : Rezet

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook