รีวิว Motorola L7

รีวิว Motorola L7

รีวิว Motorola L7
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สัดส่วนภายนอก ปัจจัยที่ทำให้ผมเลือกซื้อมือถือสักตัวนึงในตอนนี้คงเป็นเรื่องวัสดุภายนอกนี่แหละ ไม่เป็นโลหะแข็งไปเลย ก็ขอแบบเปลี่ยนหน้ากากได้ สำหรับรุ่นนี้เข้าข่ายแรกที่ผมตั้งเอาไว้จึงดึงความสนใจของผมไปไม่น้อย อย่างไรก็แล้วแต่ รู้สึกว่าส่วนที่เป็นโลหะจะอยู่ตรงฝาหลังที่เดียวเท่านั้น นอกนั้นไม่ว่าเป็นหน้ากากด้านหน้า หรือพื้นที่ตรงส่วนของลำโพงด้านหลังทำมาจากพลาสติกทั้งหมด การผสมผสานของวัสดุทั้งสองชนิดของ L7 ทำได้ยอดเยี่ยม แม้ตัวเครื่องจะบางเฟี้ยวแต่ก็ทำออกมาได้อย่างแข็งแรง ไม่ต้องกลัวหักกลางแน่นอน อีกอย่างที่ผมชอบมากคือ กระจกจอที่ดูเหมือนกับเป็นกระจกจริงๆ ไม่ใช่พลาสติกเหมือนรุ่นอื่น น่าจะกันรอยขีดข่วนได้ดีกว่าหลายเท่าตัวนัก ปุ่มกดของมันถ้ามองด้วยตาเพียงอย่างเดียวจะคิดเอาว่ามันเป็นโลหะเหมือนกัน ทว่าเมื่อได้ลองสัมผัสแล้วจะรู้ได้ว่าไม่ใช่ อาจจะเป็นไปได้ที่เป็นแผ่นโลหะซ้อนอยู่ด้านหลังและปิดทับด้วยพลาสติกใสอีกที แต่นี่ไม่ได้ทำให้ความสวยงามลดลงไปเลย สิ่งที่น่าเป็นห่วงมากกว่าคือขนาดของปุ่มที่เล็กจิ๋วมากกว่า วิธีการกดให้เล็งตัวเลขบนแผงให้ดีๆ เพราะมันจะนูนเป็นรอยขึ้นมา แล้วเอาปลายนิ้วออกแรงจิ้มนิดหน่อยก็พอจะกดได้ไม่ยาก ส่วนประกอบที่สำคัญรอบตัวเครื่องมีช่องเสียบไมโครเอสดีและรูเสียบสายชาร์จที่อยู่ด้านขวา ปุ่มปลดล็อคฝาหลังและเซ็นเซอร์เปิดปิดแบ็คไลท์อัตโนมัติอยู่ด้านบนสุด และเลนส์กล้องจะพบได้ที่ด้านหลังส่วนบนครับ ชำแหละเครื่องใน นอกจากโมโตโรล่าจะมีความพิถีพิถันในการประกอบของรุ่นนี้อย่างมากแล้ว ด้านฟังก์ชั่นก็เป็นอีกส่วนหลัี่ไม่ได้มองข้ามเลย จอแสดงผลของแบรนด์แบบทีเอฟทีสองแสนกว่าสียังคงถูกนำมาใช้ ทำให้เกิดความโดดเด่นทางด้านภาพเป็นที่สุด ความสว่างและสีสันถ้าจะเป็นรองก็แค่พวกจอคิววีจีเอเท่านั้นเอง ยี่ห้อนี้ก็ไม่เคยทำให้ผิดหวังเรื่องลำโพงเหมือนกัน ผมได้ลองเปิดไฟล์เอ็มพีสามมาฟังดูพบว่าเสียงค่อนข้างนุ่มนวลละมุนหู และมีความดังอยู่ในระดับที่ดีแม้จะวางไว้บนโต๊ะ ทั้งที่รุ่นอื่นของโมโตฯ ที่มีลำโพงอยู่ในตำแหน่งเดียวกันยังให้เสียงดังไม่ได้เท่านี้เลย นอกจากนั้น ลำโพงที่ว่ายังใช้เป็นสปีกเกอร์โฟนได้ด้วยนะ ต่อที่เรื่องกล้องกันหน่อย น่าแปลกใจมากที่โมโตโรล่าใส่กล้องมาให้กับรุ่นนี้เพียงขนาดวีจีเอเท่านั้น เพราะโดยปกติแล้วรุ่นหลังๆ มาน่าจะเป็นเมกะพิกเซลกันหมด แต่กระนั้นเอง จุดแข็งของมันกลายเป็นว่าสามารถเก็บรูปได้เป็นร้อยเป็นพัน เนื่องจากมีการเพิ่มหน่วยความจำด้วยไมโครเอสดีการ์ดมาให้แล้ว และมีการถ่ายวิดีโอซึ่งถือเป็นส่วนเติมเต็มให้กับกล้องด้วยครับ ในเครื่องผมเห็นมีโปรแกรมชื่อเซฟ (Safe) อยู่อันนึงที่เป็นจาวาแอพพลิเคชั่น ความสามารถของมันคือคอยเก็บพาสเวิร์ดให้กับผู้ใช้ ซึ่งผมชอบมากเพราะปกติแล้วโปรแกรมพวกนี้จะมีอยู่แต่ในสมาร์ทโฟนเท่านั้น นอกนั้นยังมีมีเดีย เพลเยอร์ลูกเล่นเพียบที่เอาไว้เล่นเพลงอีกด้วย การรับไฟล์เข้าและส่งไฟล์ออกเป็นหน้าที่ของบลูทูธที่อยู่ในเครื่องและสายดาต้า ซึ่งทำหน้าที่ได้ไม่ติดขัดอะไร รวมทั้งการเชื่อมต่อแบบผ่านระบบเครือข่ายที่มีจีพีอาร์เอสรองรับอยู่ โดยเบราเซอร์ที่เอาไว้เปิดหน้าแว็ปจะเป็นเวอร์ชั่น 2.0 ที่มีเอ็กซ์เอชทีเอ็มแอลเข้ามาเพิ่มความสวยงามให้ดยครับ กูรูฟันธง ต้องขอชมจากใจจริงเลยว่า L7 เป็นมือถือที่ออกแบบได้ลงตัวมากๆ และเป็นปกติของแบรนด์นี้ในระยะหลังเลยก็ว่าได้ ยังไงก็ตามขอให้มือถือมีหน้าตาดีไว้ก่อน เท่านี้ก็มีชัยไปกว่าครึ่งแล้ว การแก้ข้อเสียของวีสามโดยการใส่สล็อตเสียบการ์ดมาให้ และแปลงรูปแบบให้เป็นโทรศัพท์ทรงแท่งน่าจะจับกลุ่มลูกค้าอีกกลุ่มได้ไม่ยากเลย ถ้าคุณยังหลงใหลอยู่กับมือถือที่บางเฉียบของโมโตโรล่า รุ่นนี้ก็น่าจะเป็นอีกรุ่นที่จะไม่ทำให้คุณผิดหวังครับ ข้อดี ตัวเครื่องบางเฉียบแต่แฝงด้วยความแข็งแรง จอแสดงผลสวยสด ลำโพงด้านหลังให้เสียงที่นุ่มนวลไพเราะ มีช่องเสียบการ์ดชนิดไมโครเอสดี เชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นด้วยบลูทูธ โปรแกรม เซฟ ที่จำเป็นต่อการเก็บรหัสผ่าน ข้อเสีย ปุ่มกดตัวเลขมีขนาดเล็ก เก็บข้อความได้แต่ในซิม กล้องยังคงเป็นแบบสามแสนพิกเซลอยู่ ระบบออแกไนเซอร์ยังใช้งานได้ไม่เต็มที่ ราคาจำหน่าย 11,500 บาท
++ รายละเอียดคุณสมบัติของ Motorola L7

สนับสนุนเนื้อหาโดย

อัลบั้มภาพ 8 ภาพ

อัลบั้มภาพ 8 ภาพ ของ รีวิว Motorola L7

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook