อีกครั้งกับรีวิว Nokia 5800 XpressMusic แบบละเอียดยิบๆ

อีกครั้งกับรีวิว Nokia 5800 XpressMusic แบบละเอียดยิบๆ

อีกครั้งกับรีวิว  Nokia 5800 XpressMusic แบบละเอียดยิบๆ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
Nokia 5800 XpressMusic เปิดประเดิมรีวิวแรกของเวบ Nokia Gang ด้วย Nokia 5800 XpressMusic ที่มาแรงที่สุดส่งท้ายปี 2008 ด้วยความสดใหม่ของระบบปฏิบัติการ Symbian 9.3 บนหน้าจอแบบสัมผัสรุ่นที่ 3 ต่อจาก Nokia 7710 และ 6708 ทั้งสองรุ่นกลับไม่ได้รับความนิยมอย่างที่คาดไว้ แต่ถ้าเป็น Nokia 5800 XpressMusic คงจะตรงกันข้าม เพราะนับตั้งแต่เปิดตัวบนเวบไซต์ก็ได้รับเสียบตอบรับกันอย่างหนาหู อาจจะเป็นเพราะกระแสความแรงของหน้าจอระบบสัมผัสจาก iPhone ก็เป็นได้ที่ทำให้รุ่นนี้เป็นที่กล่าวถึงอย่างหนาหู Physical Overview หน้าจอแสดงผลแบบสัมผัสที่มีขนาดใหญ่ถึง 3.2 นิ้ว แสดงผลได้ 16.7 ล้านสี ความละเอียดอยู่ที่ 640 x 360 พิกเซล ซึ่งเป็นอัตราส่วน 16:9 เห็นตัวเลขนี้คงจะคุ้นๆ เพราะอัตราส่วนนี้มักจะใช้กับภาพยนต์แบบ Wide Screen การใช้งานสามารถใช้ได้ทั้งแนวตั้ง และแนวนอนโดยวางเครื่องในแนวนอน หน้าจอจะถูกปรับเปลี่ยนให้โดยอัตโนมัติ เหมาะสำหรับการดูหนัง หรือใช้พิมพ์ข้อความ ซึ่งจะทำได้สะดวกกว่า เพราะคีย์บอร์ดเสมือนจะมีขนาดใหญ่กว่าเมื่อใช้งานในแนวตั้ง เหนือจอแสดงผลมีช่องลำโพงสนทนา ให้เสียงที่ดังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ไม่ดัง และไม่เบาจนเกินไป ถัดมาเป็นเซ็นเซอร์ตรวจวัดแสง เมื่อแสงสว่างเพียงพอก็จะหรี่หน้าจอโดยอัตโนมัติ ใกล้ๆ กันเป็นเลนส์รับภาพของกล้องดิจิตอลสำหรับใช้งาน Video call ใช้ถ่ายภาพไม่ได้ ใต้เลนส์รับภาพยังมีปุ่ม Media bar แบบสัมผัส โดยมีไฟสีส่องสว่างสีขาวที่จะติดพร้อมกับหน้าจอ บริเวณด้านบนนี้ยังมีเซ็นเซอร์ตรวจจับระยะ หรือ Proximity Sensor เมื่อมีการใช้งานโทรศัพท์โดยนำไปแนบกับใบหู หน้าจอก็จะถูกปิด และเมื่อสนทนาเสร็จแล้วยกออกจากใบหู หน้าจอก็จะสว่างโดยอัตโนมัติ จึงช่วยประหยัดพลังงานจากแบตเตอรี่ไปได้อีกเล็กน้อย ใต้จอแสดงผลมีเพียงแค่ 3 ปุ่ม ปุ่มแรกคือปุ่มรับสาย ปุ่มกลางคือปุ่มเมนู และปุ่มขวาสุดเป็นปุ่มวางสาย ด้านข้างซ้ายมีช่องเสียบการ์ดหน่วยความจำแบบ microSD และช่องเสียบซิมการ์ด ช่องเสียบทั้งสองมีฝาปิดเป็นบานพับ สำหรับการใส่ซิมการ์ดนั้น หากรู้อยู่แล้วว่าต้องใส่ซิมการ์ดด้านใดก็เสียบเข้าไปได้ทันที แต่หากใช้งานครั้งแรก หรือยังจำไม่ได้ก็ควรจะเปิดฝาหลัง และถอดแบตเตอรี่ออก โดยจะมีวิธีการใส่ซิมการ์ดกำกับอยู่ ส่วนการถอดซิมการ์ดจำเป็นต้องถอดฝาหลัง และถอดซิมการ์ดออกมา จากนั้นก็นำเอาปลายปากกาสไตลัสดันมันออกมา ลำโพงของตัวเครื่องแบบสเตอริโอยังอยู่ที่ด้านข้างซ้ายนี้เช่นกัน ให้เสียงที่ค่อนข้างใส และมีมิติแยกซ้ายขวาชัดเจน อีกทั้งยังมีเสียงทุ้มออกมาอีกเล็กน้อย ส่วนความดังของเสียงนั้นทำได้ดังมากทีเดียว ด้านข้างขวามีปุ่มปรับระดับเสียงสนทนา ถัดลงมาเป็นสวิตซ์เลื่อนสำหรับล็อค/ปลดล็อคปุ่มกด และสุดท้ายกับปุ่มกล้อมชัตเตอร์แบบ 2 จังหวะสำหรับการถ่ายภาพด้วยระบบออโต้กัส ด้านบนของตัวเครื่องมีช่องเสียบสายดาต้าลิงค์แบบ micro USB ซึ่งเป็นพอร์ตมาตรฐานสำหรับการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ ถัดมาเป็นช่องเสียบชุดหูฟังขนาด 3.5 มม. และยังเป็นช่องเสียบสาย TV-Out อีกด้วยใกล้ๆ กันเป็นช่องเสียบสายชาร์จแบตเตอรี่ และสุดท้ายเป็นปุ่มเปิด/ปิดเครื่อง ช่องเสียบปากกาสไตลัสอยู่ที่ด้านล่างของตัวเครื่อง ตัวปากกาเป็นพลาสติกแข็ง ยาวประมาณ 9 ซม. เลนส์รับภาพกล้องดิจิตอลความละเอียด 3.2 ล้านพิกเซลอยู่ที่ด้านหลัง มีไฟช่วยส่องสว่างแบบ LED มาให้ 2 ดวงสำหรับถ่ายในที่มืด และยังเป็นไฟช่วยโฟกัสเมื่อมีแสงสว่างไม่เพียงพอด้วย Feature Wide Screen Touch Display แม้ว่าจะไม่ใช่รุ่นแรกของค่ายนี้ที่ใช้หน้าจอแสดงผลแบบสัมผัส แต่ก็เป็นรุ่นแรกของ Symbian 9.3 ที่ใช้หน้าจอแบบนี้ การสัมผัสหน้าจอของรุ่นนี้สามารถใช้ปลายนิ้วแตะสัมผัสได้โดยตรง เพราะไอคอนเมนู และเมนูย่อยต่างๆ มีขนาดค่อนข้างใหญ่ แตะใช้งานได้สะดวก แต่เมนูย่อยจะต้องแตะ 2 ครั้งเพื่อยืนยันการเข้าเมนู นอกจากนี้ยังใช้ปากกาสไตลัสที่อยู่ด้านล่างของตัวเครื่อง และ Plectrum ที่มีลักษณะเป็นพลาสติกสามเหลี่ยมคล้ายปิ๊กกีต้าร์ โดยมีสายคล้องกับตัวเครื่องมาให้ครบครัน แต่ละครั้งที่แตะสัมผัสหน้าจอ ตัวเครื่องก็จะสั่นเบาๆ ตอบสนองการสั่งงาน หรือจะเลือกไม่ให้เครื่องสั่นก็ทำได้เช่นกัน สำหรับการทดสอบใช้งานทั่วไปนั้นถือว่าทำออกมาได้น่าประทับใจ ถึงแม้จะไม่มีระบบ Transition ที่ตื่นตาตื่นใจเหมือน iPhone แต่ก็ให้ความรู้สึกแปลกใหม่ในการใช้ระบบปฏิบัติการ Symbian ในเมื่อไม่มีปุ่มกด มีหน้าจอสัมผัส การป้อนข้อความจึงต้องอาศัยหน้าจอเพียงอย่างเดียว มีให้เลือกทั้งในแบบปุ่มกด Multi Tap โดยกดจากปุ่มตัวเลขที่อยู่บนหน้าจอ หรือจะเลือกป้อนข้อความด้วยคีย์บอร์ดเสมือน QWERTY และยังอ่านลายมือได้ทั้งภาษาไทย และอังกฤษ New Generation of XpressMusic เหนือจอแสดงผลมีปุ่ม Media bar ซึ่งเป็นปุ่มแบสัมผัส เมื่อกดแล้วก็จะมี Drop down menu มาให้เลือก หนึ่งในเมนูนั้นมีเครื่องเล่นเพลงที่จะให้เปิดเพลงฟังได้อย่างรวดเร็ว เครื่องเล่นเพลงยังมีการแบ่งหมวดหมู่เพลงตามรายชื่อศิลปิน ชื่ออัลบั้ม ชื่อผู้แต่ง ประเภทของเพลง และยังเลือกเล่นจากรายการเพลงที่ถูกเลือกเล่นมากที่สุด (Most played), เพลงที่ถูกเลือกเล่นก่อนหน้า (Recently played) หรือเพลงที่ถูกเพิ่มเข้าไปในรายการ (Recently added) สำหรับการดาวน์โหลดเพลงก็ยังมี Nokia Music Store สำหรับเข้าไปดาวน์โหลดผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต แต่สำหรับบ้านเราคงต้องรอสักพัก เพราะได้ข่าวมาว่าจะเปิดให้บริการเร็วๆ นี้ มาดูหน้าตาของเครื่องเล่นเพลงกันบ้าง เมื่อเข้าสู่การเล่นเพลง หน้าจอขนาดใหญ่ก็จะแสดงภาพศิลปิน หรือปกอัลบั้มขณะเล่นเพลงขนาดค่อนข้างใหญ่ ดูได้เต็มตา การควบคุมเครื่องเล่นเพลงทำได้จากปุ่มกดแบบสัมผัสบนหน้าจอ หรือจะใช้รีโมทที่ติดมากับชุดหูฟังก็ได้เช่นกัน ซึ่งจะใช้งานได้สะดวกกว่า แต่เสียดายที่ไม่ได้มาทดสอบด้วย โหมดการเล่นเพลงแบบ Shuffle play หรือเล่นเพลงแบบสุ่มจากลำดับเพลงที่มีในเครื่องทั้งหมด โหมดเล่นเพลงแบบวนซ้ำเมื่อเล่นจบรายการเพลง สำหรับหน้าจอแสดงผลก็สามารถปรับแนวหน้าจอโดยอัตโนมัติ เมื่อวางเครื่องในแนวตั้ง หรือแนวนอน ก็แล้วแต่ผู้ใช้ว่าจะชอบหน้าจอแบบไหน การเลือกปรับโทนเสียงของเครื่องเล่นเพลงก็มีให้เลือกโทนเสียงแบบ Bass booster, Classical, Jazz, Pop, Rock และยังเลือกปรับแต่งเองได้จากอีควอไลเซอร์ 8 แบนด์ พร้อมทั้งบันทึกเป็นแบบเสียงของตัวเองได้อีกด้วย ส่วนการปรับแต่งอื่นๆ ก็มีให้เลือกปรับ Balance ซึ่งจะช่วยปรับความดังของเสียงซ้าย ขวาได้ตามต้องการ มี Bass booster สำหรับเพิ่มเสียงทุ้มให้กระหึ่มมากขึ้น และ Stereo widening สำหรับเพิ่มมิติของเสียงให้แยกซ้ายขวาชัดเจนยิ่งขึ้น โดยรวมแล้วเครื่องเล่นเพลงของ Nokia 5800 XpressMusic ก็ยังคงคล้ายกับ NSeries แต่รูปร่างหน้าตาของเครื่องเล่นเพลงจะเปลี่ยนเป็นหน้าจอแบบสัมผัส หากเคยใช้ NSeries มาก่อนก็ไม่ต้องปรับตัวมาก เพียงแค่ปรับเปลี่ยนมาใช้จอแบบสัมผัสเท่านั้นเอง FM Stereo Radio Receiver ที่ขาดไม่ได้ของ XpressMusic คงจะเป็นวิทยุ FM แบบสเตอริโอ ซึ่งยังต้องใช้ชุดหูฟังเป็นเสาอากาศรับสัญญาณ โดยจะเลือกฟังผ่านชุดหูฟัง หรือเปิดฟังผ่านลำโพงของเครื่องก็ได้เช่นกัน มีระบบสแกนหาคลื่น พร้อมทั้งบันทึกลงในหน่วยความจำโดยอัตโนมัติ สำหรับหน่วยความจำที่ใช้บันทึกสถานีมีมาให้ทั้งหมด 20 ช่อง 3.2 Mega Pixels Digital Camera, Carl Zeiss Optics ถึงแม้ว่าจะอยู่ในตระกูลของ XpressMusic แต่ก็มีกล้องดิจิตอลที่มีความละเอียดถึง 3.2 ล้านพิกเซล ระบบออโต้โฟกัส พร้อมทั้งเลนส์ Carl Zeiss ที่ใช้ในกล้องคุณภาพระดับมืออาชีพและยังใช้กับ NSeries หลายต่อหลายรุ่น การถ่ายภาพของรุ่นนี้ออกแบบมาให้ถ่ายภาพในแนวนอน โดยที่ปุ่มชัตเตอร์จะอยู่ตรงนิ้วชี้พอดี มีไฟช่วยส่องสว่างขณะถ่ายภาพแบบ LED สีขาว 2 ดวงสำหรับการถ่ายภาพในที่มืด หรือหากอยู่ในที่แสงสว่างไม่เพียงพอ เมื่อกดปุ่มชัตเตอร์เพื่อโฟกัสภาพ ไฟ LED นี้ก็จะส่องสว่างให้กล้องจับโฟกัสได้ง่ายขึ้น ความละเอียดของภาพมีให้เลือกเพียง 3 ระดับคือ 3, 2 และ 0.3 ล้านพิกเซล โหมดการถ่ายภาพ (Scene mode) ของ Nokia 5800 XpressMusic ก็มีให้เลือกอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น Automatic เหมาะสำหรับผู้ใช้ที่ต้องการถ่ายภาพอย่างเดียว หรือต้องการความรวดเร็วในการถ่ายภาพ ไม่จำเป็นต้องปรับแต่งอะไรมากนัก User Defined สำหรับผู้ใช้ที่ต้องการปรับแต่งการถ่ายภาพเองทั้งหมด โดยมีให้เลือกปรับการใช้ไฟช่วยส่องสว่าง, White balance, Exposure compensation, Colour tone, Light sensitivity, Sharpness, Contrast Close-up สำหรับใช้ถ่ายภาพในระยะใกล้ตั้งแต่ 10-60 ซม. Portrait สำหรับถ่ายภาพบุคคลในระยะ 1-3 เมตร Landscape ในโหมดนี้ระบบออโต้โฟกัสจะไม่ทำงาน เหมาะสำหรับการถ่ายภาพในระยะตั้งแต่ 10 เมตรไปจนถึงระยะอนันต์ ข้อดีของการถ่ายภาพในโหมดนี้คือไม่ต้องเสียเวลาในการโฟกัสภาพ กดปุ๊บก็ถ่ายภาพได้ทันที Sports การถ่ายภาพในโหมดนี้จะเหมาะกับการบันทึกภาพวัตถุที่เคลื่อนที่เร็ว อย่างเช่นคนกำลังวิ่ง รถยนต์ที่กำลังแล่นด้วยความเร็ว เป็นต้น Night เมื่อเลือกถ่ายภาพในโหมดนี้ ไฟช่วยส่องสว่างจะไม่ทำงาน แต่ชัตเตอร์ของกล้องจะเปิดนานขึ้น ซึ่งจะช่วยให้รับแสงได้ จึงจำเป็นต้องหาที่ยึด หรือวางกล้องนิ่งๆ จะช่วยลดการสั่นไหวของภาพ Night portrait เป็นการถ่ายภาพบุคคลตอนกลางคืน ส่วนการตั้งค่าถ่ายภาพอื่นก็มีให้เลือกตั้งเวลาถ่ายภาพตั้งแต่ 2, 10 หรือ 20 วินาที มีโทนสีให้เลือกแบบ Sepia, Black & white, Vivid และ Negative เลือกปรับ White balance แบบอัตโนมัติ หรือจะเลือกปรับแบบ Sunny (แดดจ้า), Coludy (แสงแบบฟ้าหลัว), Incandescent (แสงจากหลอดไส้) หรือ Fluorescent (แสงจากหลอดไฟลูออเรสเซนต์) เลือกปรับ Light sensitivity หรือค่า ISO แบบ Low, Medium, High มีเสียงชัตเตเอร์ 4 แบบ แต่เลือกปิดไม่ได้ การถ่ายคลิปวิดีโอก็เลือกถ่ายได้ที่ความละเอียดหลายแบบ เริ่มจาก TV high quality เป็นความละเอียดสูงสุดของภาพที่ถ่ายได้ โดยมีความละเอียด 640 x 480 พิกเซล 30 เฟรมต่อวินาที รูปแบบไฟล์วิดีโอจะออกมาเป็นแบบ MPEG4 Wide screen high quality เป็นการถ่ายวิดีโอในรูปแบบของ Wide screen เต็มหน้าจอ 640 x 360 พิกเซล 30 เฟรมต่อวินาที ในรูปแบบของ MPEG4 E-mail high quality เหมาะสำหรับการถ่ายคลิปวิดีโอความละเอียดสูงสำหรับใช้ส่งแนบไปกับอีเมล์ในรูปแบบของไฟล์ MPEG4 E-mail normal quality สำหรับใช้ส่งแนบไปกับอีเมล์คุณภาพในระดับปานกลาง ซึ่งเหมาะสำหรับส่งอีเมล์ไปยังโทรศัพท์มือถือเครื่องอื่นๆ Sharing quality เหมาะสำหรับใช้ส่งเป็นข้อความ MMS โดยรูปแบบของไฟล์จะเป็นแบบ 3GP การเลือกความละเอียดของการถ่ายคลิปวิดีโอให้เหมาะสมก็จะช่วยให้ใช้พื้นที่หน่วยความจำได้เต็มที่ เพราะหากถ่ายที่ความละเอียดสูงก็จะต้องใช้พื้นที่หน่วยความจำค่อนข้างสูง โดยสังเกตได้จากเมนูการเลือกความละเอียด ซึ่งจะมีระยะเวลาที่ถ่ายได้บอกอยู่ สำหรับกล้องดิจิตอลรุ่นนี้นับว่าให้ลูกเล่น และความสามารถมาให้เกินตัวจริงๆ GPS Navigator & Nokia Maps 2.0 ภายในเครื่องยังมีภาครับสัญญาณดาวเทียม GPS สำหรับใช้ระบุตำแหน่ง และใช้นำทางร่วมกับแผนที่อิเล็กทรอนิกส์ ในเครื่องยังมีโปรแกรม Nokia Maps เวอร์ชั่น 2.0 ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นใหม่ล่าสุด การใช้งานก็เพียงแค่เปิดโปรแกรมขึ้นมา โดยตัวโปรแกรมจะทำการเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต หากดาวน์โหลดแผนที่มาเก็บไว้ในเครื่องแล้วก็ใช้งานได้ทันที แต่หากยังไม่เคยดาวน์โหลด ตัวโปรแกรมจะทำการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตเพื่อดาวน์โหลดแผนที่โดยอัตโนมัติ สามารถเลือกให้เครื่องแสดงผลเป็นภาพแผนที่ หรือเป็นภาพถ่ายดาวเทียม ซึ่งจะเห็นเป็นถนนหนทาง สิ่งปลูกสร้าง ไปจนถึงหลังคาบ้านเลยทีเดียว โปรแกรม Nokia maps ยังมีระบบค้นหาสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นชื่อเมือ สถานที่สำคัญ ร้านอาหาร โรงแรม และยังสามารถนำทางไปยังสถานที่ที่ค้นหาได้ แต่จะต้องสั่งซื้อระบบนำทางเพิ่ม แต่หากไม่สั่งซื้อก็จะใช้ระบุตำแหน่งได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น นอกจากนี้ยังนำโปรแกรมระบบนำทางอื่นๆ มาติดตั้งบนตัวเครื่องเพื่อใช้งานได้ อย่างเช่นโปรแกรม Garmin MobileXT เป็นต้น Connectivity ระบบการเชื่อมต่อทั้งแบบใช้สาย และไร้สายของรุ่นนี้ก็มีมาให้อย่างครบครัน ทั้งการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วย GPRS หรือ EDGE บนเครือข่าย GSM หรือจะใช้งานระบบ 3.5G ก็ทำได้ด้วยเทคโนโลยี HSDPA บนเครือข่าย WCDMA ความถี่ 900 และ 2100 MHz ความเร็วสูงสุดถึง 3.6 mbps เลยทีเดียว ส่วนการเชื่อมต่อไร้สายในระยะใกล้ก็มีทั้งบลูทูธที่รองรับโปรไฟล์ A2DP ใช้งานได้ทั้งชุดหูฟังบลูทูธไร้สายธรรมดา หรือชุดหูฟังบลูทูธแบบสเตอริโอ รวมไปถึงการรับส่งไฟล์ การใช้งานตัวเครื่องเป็นโมเด็มไร้สายเพื่อใช้งานอินเตอร์เน็ตบนคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค นอกจากนี้ยังเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่าน Wi-Fi ได้อีกด้วย เบราเซอร์ของเครื่องยังรองรับการเปิดเวบเพจได้เต็มจอทั้งแนวตั้ง และแนวนอน ซึ่งหากเปิดในแนวนอนก็จะแสดงเวบเพจได้ค่อนข้างสวยงามเหมือนกับในคอมพิวเตอร์ อีกทั้งยังรองรับ Flash Player ซึ่งเวบไซต์ส่วนมากจะแสดงผลรูปภาพเคลื่อนไหวในรูปแบบของ Flash ด้วย หากต้องการขยายหน้าเวบเพจก็เพียงแค่แตะบริเวณที่ต้องการ 2 ครั้ง เวบเพจก็จะถูกขยายให้ใหญ่ขึ้นเพื่อให้ดูได้สะดวก สายดาต้าลิงค์แบบ micro USB ก็ใช้งานได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานร่วมกับโปรแกรม PC Suite หรือจะใช้การ์ดหน่วยความจำเป็น Mass storage เพื่อให้คอมพิวเตอร์เห็นเป็นไดร์ฟสำหรับจัดเก็บข้อมูล และยังใช้สายดาต้าลิงค์เพื่อเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์เป็นโมเด็มก็ได้เช่นกัน Games & Other Applications เซ็นเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหว หรือ Accelerometer meter ที่มีในเครื่องยังถูกนำไปใช้กับเกมส์ด้วย อย่างในเกมส์ Global Race Raging Thunder ซึ่งเป็นเกมส์ขับรถแข่ง การบังคับรถจะอาศัยเซ็นเซอร์ เมื่อเอียงเครื่องซ้าย หรือทางขวาก็เสมือนกับหักพวงมาลัย ให้อารมณ์การเล่นเกมส์บนโทรศัพท์มือถือที่แปลกใหม่ และยังเล่นแบบ Multiplayer ผ่านบลูทูธไร้สายได้ด้วย ส่วนเกมส์ Bounce ที่มีมาตั้งแต่โทรศัพท์มือถือ Nokia เป็นจอสีก็มีมาให้ในเครื่องนี้ด้วย แต่จะอยู่ในรูปแบบของการใช้ปากกา โดยจิ้มไปที่ลูกบอลเพื่อบังคับไปยังตำแหน่งต่างๆ ที่ต้องการ ส่วนเกมส์อื่นๆ ก็รองรับเกมส์ทั้งเกมส์แบบ Symbian และ Java สำหรับฟังก์ชั่นในหมวดออร์กาไนเซอร์ก็มีเครื่องคิดเลขพื้นฐาน, โปรแกรมแปลงหน่วย บันทึกเสียงได้ครั้งละ 1 ชั่วโมง, บันทึกโน้ตย่อ Final Opinion & Conclusion จะว่าไปแล้ว Nokia 5800 XpressMusic เป็นโทรศัพท์มือถือหน้าจอแบบสัมผัสที่ค่อนข้างสมบูรณ์แบบ ทั้งในเรื่องของการแสดงผล อินเตอร์เฟสที่ใช้ง่าย เมนูไม่ซับซ้อน หากใช้ Symbian มาก่อนก็ไม่จำเป็นต้องปรับตัวมากนัก ในแพ็คเก็จยังมีการ์ดหน่วยความจำมาให้มากถึง 8 GB จุเพลง ภาพถ่าย คลิปวิดีโอความละเอียดสูง หรือไฟล์ภาพยนต์ก็ได้อย่างเหลือเฟือ การเปิดตัวโทรศัพท์มือถือหน้าจอสัมผัสของ Nokia รุ่นนี้นับว่าทำได้ดีเกินคาด อีกทั้งยังมีลูกเล่นต่างๆ มาให้อย่างครบครัน นับเป็นอีกรุ่นที่น่าจับตามอง และคงจะได้เห็นโทรศัพท์มือถือหน้าจอแบบสัมผัสใน NSeries เร็วๆ นี้อย่างแน่นอน Strength ระบบปฏิบัติการ Symbian 9.3 กับหน้าจอสัมผัส เครื่องเล่นเพลง XpressMusic พร้อม microSD 8 GB วิทยุ FM และลำโพงคู่แบบสเตอริโอในตัว กล้องดิจิตอลความละเอียด 3.2 ล้านพิกเซล เลนส์ Carl Zeiss ถ่ายวิดีโอแบบ Wide Screen ความละเอียดสูง 30 เฟรมต่อวินาที ภาครับสัญญาณดาวเทียม GPS พร้อมแผนที่ Nokia Maps มีช่องเสียบชุดหูฟังขนาด 3.5 มม. เชื่อมต่อไร้สายผ่านบลูทูธ (A2DP) และ Wi-Fi รองรับ HSDPA 3.6 mbps บนเครือข่าย WCDMA เซ็นเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหว (Accelerometer meter) สำหรับปรับหน้าจอ และใช้เล่นเกมส์ได้ มีเซ็นเซอร์ตรวจจับระยะ (Proximity Sensor) สำหรับปิดหน้าจอเมื่อใช้งานโทรศัพท์ ต่อภาพไปยังหน้าจอทีวี หรือโปรเจ็คเตอร์ผ่านสาย TV-Out ได้ คลิกเพื่อดู Specification เพิ่มเติ่มได้ ที่นี่

ข้อมูลโดย...

อัลบั้มภาพ 40 ภาพ

อัลบั้มภาพ 40 ภาพ ของ อีกครั้งกับรีวิว Nokia 5800 XpressMusic แบบละเอียดยิบๆ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook