รีวิว Nokia 6151

รีวิว Nokia 6151

รีวิว Nokia 6151
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
นับจากที่ยี่ห้ออย่าง Nokia ได้ถือกำเนิดขึ้นบนโลกใบนี้ ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์แห่งวงการโทรคมนาคมโลกเลยก็ว่าได้ อันเนื่องมาจากปัจจัยทางด้านเทคโนโลยี และบุคลากรที่มีการคัดสรรและพัฒนาที่ค่อนข้างหลากหลายและครอบคลุมในทุกๆ ด้านที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสาร แบบไร้สายด้วยรูปแบบของโทรศัพท์มือถืออย่างแท้จริง ในทุกวันนี้จะเรียกว่าเป็นผู้นำแห่งการสื่อสารไร้สายก็คงจะไม่ผิดนัก เฉกเช่นเดียวกับเจ้า Nokia 6151 ซึ่งเป็นโทรศัพท์มือถือที่มีความหลากหลาย ทั้งทางด้านมัลติมีเดียและทางด้านการสื่อสารที่ครบถ้วน อย่างเครื่องมีเดียก็มีทั้งกล้องถ่ายรูปที่อยู่ในระดับล้านพิกเซลที่รองรับได้ทั้งการถ่ายภาพนิ่ง และบันทึกภาพวิดีโอ รวมถึงเครื่องเล่นเพลง MP3 วิทยุ FM ที่รองรับ VisualRadio รวมถึงเครื่องบันทึกเสียงอย่างครบครัน ส่วนทางด้านการติดต่อสื่อสารแบบไร้สายนั้นก็ครบถ้วนด้วยระบบสนทนา Push to Talk, WAP Browser, Blutooth, Email และที่สำคัญสามารถใช้งานบนเครือข่าย 3G ได้อย่างเต็มตัวซะด้วย เพียงเท่านี้ยังไม่พอเพียงกับการกล่าวอ้างถึง Nokia 6151 ได้ครบทุกอย่างหรอกนะครับ ท่าจะให้ครบถ้วนเราต้องเข้าไปแกะกล่องลองเครื่องกัน ถึงจะรู้ว่ามันน่าสนใจอย่างไรบ้างเราไปดูกันเลยดีกว่าครับ พูดมากเดี๋ยวจะหาว่าคุยเกินไป แกะกล่องลองเครื่อง สัมผัสแรก ความรู้สึกเมื่อแรกที่ได้เห็นเจ้า Nokia 6151เครื่องนี้แล้ว ต้องบอกว่ามันให้ความรู้สึกได้ถึงความแข็งแรงทนทานด้วยวัสดุตัวเครื่องที่มีการนำเอายางที่มีความยืดหยุ่นต่อแรงกระแทกสูง มาเป็นวัสดุประกอบตัวเครื่องทั้งที่ขอบด้านข้าง ด้านหน้า และด้านหลัง ซึ่งนอกจากจะให้ความทนทาน และกันกระแทก หรือรอยขีดข่วนได้ดีแล้วยังสามารถเพิ่มความสวยงามให้กับตัวเครื่องได้ดีอีกด้วย โดยลักษณะของการใช้สีสันนั้นจะเป็นสีดำเข้ม สลับกับการตัดขอบด้วยสีโครเมียมที่กรอบด้านหน้า กับสีบรอนซ์เงินที่ด้านข้าง ทำให้ดูทันสมัยดีทีเดียว ส่วนรูปทรงของเครื่องนั้นจะมีมิติที่ขนาด 108 x 47 x 19 มิลลิเมตร น้ำหนัก 98 กรัมแบบทรง Bar-Type ด้านหน้า รูปแบบของการจัดวาง รวมถึงการออกแบบด้านหน้านั้นยังคงรูปลักษณ์เดิมของโนเกียไว้อย่างเหนียวแน่นครับ เรียกว่าเห็นไกลๆ แล้วยังสามารถรู้ได้เลยว่านี่คือโทรศัพท์มือถือโนเกีย ทั้งนี้การจัดวาง และการออกแบบลักษณะของชุดแผงปุ่มกดนั้น จะต่างจากรุ่นอื่นๆ เล็กน้อยตรงที่ปุ่มกดจะเน้นรูปทรงสี่เหลี่ยมทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ปุ่มเมนูแบบ 5 ทิศทาง ปุ่มซ็อพท์คีย์ และชุดปุ่มกดตัวเลขและตัวอักษรที่มาพร้อมกับไฟปุ่มกด (Keypad back-light) ส่องสว่างด้วย โดยจะมีหน้าจอขนาดใหญ่ 2.0 นิ้ว และช่องลำโพงเสริมกรอบโครเมี่ยมดูสวยงาม ที่อยู่ถัดขึ้นไปด้านบนนั่นด้วย จึงช่วยให้ส่วนของด้านหน้านี้มีความสมบูรณ์แบบ และสวยงามน่าใช้ดีทีเดียว ด้านหลัง เมื่อพลิกมาดูส่วนของด้านหลังนั้น ส่วนที่ดึงดูดสายตาได้มากที่สุดก็คือส่วนของกล้องถ่ายรูปที่ถูกแบ่งพื้นที่ไว้ด้วยสีบรอนซ์บนตัวฝาหลัง พร้อมกับการเสริมวัสดุสะท้อนเงา สำหรับใช้ถ่ายภาพตัวเอง ที่อยู่ใกล้ๆ หน้ากล้องนั่นด้วย นอกจากนี้แล้ว ในส่วนของฝาหลังนั้นจะเป็นฝาหลังทั้งแผ่นซึ่งหากถอดตัวฝาหลังออก ส่วนของฝาครอบกล้องก็จะหลุดออกด้วย และตัวของฝาหลังนั้นยังมีการเคลือบด้วยยางที่สามารถช่วยกันรอยขีดข่วน และช่วยซับแรงกระแทกได้ดีอีกด้วย ด้านข้าง (ซ้ายมือ) จะมีปุ่มกดสำหรับเข้าใช้งาน Push to Talk (PTT) ถัดลงมาหน่อยก็จะเป็นช่องลำโพง Speaker พร้อมกันนี้ยังได้มีการติดตั้งช่องรองรับการ์ดความจำจากภายนอกแบบ microSD พร้อมฝาปิดกันฝุ่นไว้ให้ด้วย แล้วก็ยังไม่ลืมที่ห้อยสายคล้องคอที่อยู่แปลกที่กว่าเดิม จากที่อยู่ด้านบน กลับลงมาอยู่ด้านล่างก็แปลกไปอีกแบบ ด้านข้าง (ขวา) จะมีทั้งปุ่ม กด +/- สำหรับควบคุม Volume ของเสียงลำโพง ถัดลงมาจะเป็นช่องอินฟราเรด (IrDA Port) และปุ่มชัตเตอร์กล้องถ่ายรูปที่อยู่ล่างสุดด้วย ด้านบนและด้านล่าง ซึ่งด้านบนจะเห็นว่ามีปุ่มกดเปิด-ปิดเครื่อง (Power-Switch) เท่านั้น ส่วนด้านล่างก็ยังคงเป็นที่สำหรับติดตั้งทั้งช่องต่อสายหูฟัง รวมถึงสายดาต้าสำหรับโอนถ่ายข้อมูลแบบ Pop-Port และใกล้ๆ กันทางซ้ายมือจะมีช่องสำหรับเสียบต่อสายชาร์จแบตเตอรี่มาตรฐานแบบโนเกีย เปิดฝาหลัง/ใส่ซิมการ์ด ทำได้ง่ายๆ เพียงใช้นิ้วมือที่ถนัดดันตัวฝาหลังลงด้านล่างแต่เพียงเบามือ ฝาหลังก็จะหลุดออกมาได้ง่าย หลังจากนั้นก็จะเห็นตัวแบตเตอรี่อยู่ด้านใน ส่วนช่องใส่ซิมการ์ด (SIM) จะอยู่ใต้ตัวแบตเตอรี่ ซึ่งเป็นช่องรองรับตัวซิมการ์ดโดยมีฝาเหล็กแบบคลิปสำหรับดึงเพื่อเปิด-ปิด หากต้องการถอดเปลี่ยนซิมการ์ด ก็ต้องถอดแบตเตอรี่ออกก่อนด้วย แล้วก็อย่าลืมปิดเครื่องก่อนถอดแบตเตอรี่ด้วยนะครับอันนี้สำคัญ ทดสอบการใช้งาน เริ่มการใช้งาน โดยการกดไปที่ปุ่มพาวเวอร์สวิทช์ที่อยูด้านบนหัวเครื่องกดค้างไว้สักครู่เครื่องก็จะเริ่มทำงานโดยแสดงชื่อ Nokia หลังจากนั้นก็จะมีภาพเคลื่อนไหวเป็นโลโก้มาตรฐาน พร้อมเสียงเพลงเปิดเครื่องของโนเกีย (Start-up tone) รวมถึงข้อความต้อนรับ (Wellcome note) และถามเพื่อยืนยันเปิดโหมดเครื่องบิน (Flight query) (สามารถตั้งค่าเปิด-ปิดการใช้งานเหล่านี้ได้ในเมนูตั้งค่าโทรศัพท์ Phone settings) หลังจากนั้นสักครู่ก็จะเข้าสู่หน้าจอหลักปกติ โดยทั้งหมดนี้จะกินเวลาประมาณ 10 วินาทีในขั้นตอนนี้ หน้าจอ เป็นจอสีระดับ TFT-LCD 262,144 สี ความละเอียด 128 x 160 พิกเซล หรือขนาด 2.0 นิ้ว ซึ่งถือว่าเป็นจอแสดงผลที่มีขนาดใหญ่ใช้ได้ทีเดียว โดยสามารถตอบสนองต่อการแสดงภาพและข้อมูลต่างๆได้ชัดเจนและคมชัดทีเดียว นอกจากนี้แล้วส่วนของการปรับตั้งค่าการใช้งานหน้าจอนั้นจะมีทั้งการตั้งค่าโหมดสแตนด์บาย (Standby mode settings) สำหรับการเลือกตั้งค่าพวก สแตนด์บายแบบพิเศษ (Active standby) สำหรับการตั้งเมนูสแตนด์บายบนหน้าจอปกติ, ตั้งค่าภาพพื้นหลังแบบสี (Wallpaper), สีแบบอักษรสแตนด์บาย (Standby font colour), ไอคอนปุ่มสำรวจ (Navigation key icons), โลโก้ระบบ (เครือข่าย) (Operator logo), แสดงข้อมูลระบบ (เครือข่าย) (Cell info display) หรือจะเลือกตั้งภาพพักหน้าจอ (Screen saver), ตั้งโหมดประหยัดพลังงาน (Power saver), โหมดนอนหลับ (Sleep mode), ขนาดอักษร (Font size) เปิด-ปิดข้อความต้อนรับ หรือ Welcome note (ตั้งค่าได้ใน Phone settings), เลือกแสดงเวลาและวันที่ (Time and date/autotime update) รวมไปถึงการตั้งค่าเลือกรูปแบบการแสดงเมนู (Main menu view) ได้หลายแบบและยังสามารถให้เราได้เลือกลักษณะ (Themes) แบบต่างๆ ได้ด้วยมากมายหลายแบบ (สามารถเลือกดาวน์โหลดเพิ่มได้ด้วย) นอกจากนี้แล้ว Nokia 6131 ยังมีการใส่ระบบ Demo mode สำหรับการใช้งานเครื่องโดยไม่ต้องใส่ ซิมการ์ด (SIM) ได้ด้วย รูปแบบเมนู สำหรับรูปแบบเมนูใน 6151 นั้นก็ยังคงเป็นรูปแบบของ Series 40 UI ซึ่งก็ถือว่าเป็นรูปแบบเมนูที่ใช้งานได้สะดวกกับการจัดเรียงเมนูที่ตอบสนองต่อการสั่งงานเมนูได้อย่างดีทั้งยังมีความสวยงาม ด้วยไอคอนสวยๆ อีกเช่นเดิม หรือผู้ใช้จะไปหาดาวน์โหลดธีมเมนูเจ๋งๆ มาลงเพิ่มเติมก็ยังได้ พร้อมไปกับความสะดวก ด้วยระบบสแตนด์บาย (Active Sandby menu) แบบพิเศษด้วยแถบบาร์เมนูที่สามารถให้ผู้ใช้สามารถเรียกใช้เมนูหลักได้โดยไม่ต้องกดปุ่มเข้าเมนูหลัก และยังสามารถให้ผู้ใช้ได้เลือกตั้งค่าการแสดงเองได้ด้วย มีภาษาเมนูให้เลือกทั้งไทย, อัตโนมัติ(ภาษาไทย), อังกฤษ และจีนสองแบบ โดยเลือกเข้าตั้งค่าที่ เมนู (Menu) > การตั้งค่า (Settings) > โทรศัพท์ (Phone) > แล้วเลือกการตั้งค่าภาษา (Language settings) ที่มีภาษาในเครื่อง (Phone language), ภาษาที่ใช้ในซิม (SIM language), ภาษาในการเล่นเสียง () หรือจะเลือกรูปแบบการแสดงเมนูแบบต่างๆ ก็สามารถทำได้ทั้งแบบแสดงเป็นแบบรายการ (List), แบบตาราง (Grid) โดยเข้าที่ เมนู (Menu) > ตัวเลือก (Options) > มุมมองเมนูหลัก (Main menu view )และหากต้องการจะเลือกจัดการเรียบเรียงลำดับเมนูหลักใหม่ก็สามารถทำได้เช่นกัน โดยเลือกที่ เรียบเรียง (Organise) > กดย้าย (Move) เพื่อเลือกเมนูที่ต้องการแล้วเลือกวางได้ตามใจชอบแล้วกดตกลง (OK) ครับ ส่วนเมนูหลักๆ นั้นก็จะมีทั้ง - Messaging เมนูข้อความ เป็นเมนูสำหรับการใช้งานจัดการเกี่ยวกับข้อความต่างๆ โดยจะมีมีนูย่อยๆด้านในทั้ง สร้างข้อความ (Create message), ถาดเข้า (Inbox), แบบร่าง (Draft), ถาดออก (Outbox), รายการที่ส่ง (Sent items), รายการที่จัดเก็บ (Saved items), รายงานการส่ง (Delivery reports), อีเมล์ (E-mail), สนทนาทันใจ (Instant messages), ข้อความเสียง (Voice messages), ข้อความข้อมูล (Info messages), คำสั่งขอใช้บริการ (Service command), ลบข้อความ (Delete messages) และการตั้งค่าข้อความ (Message settings) - Contacts เมนูรายชื่อ สำหรับการเลือกใช้สมุดบันทึกเบอร์โทร ที่มีตั้งแต่ ชื่อ (Names), การตั้งค่า (Settings), กลุ่ม (Groups), โทรด่วน (Speed dials), ซิงโครไนส์ทั้งหมด (Syncronise all), ลบรายชื่อทั้งหมด (Delete all contacts), ย้ายรายชื่อ (Move contacts), คัดลอกรายชื่อ (Copy contacts) - Log เมนู บันทึก สำหรับการเลือกดูรายการใช้สายต่างๆ ตั้งแต่ บันทึกการโทร (Call log), เบอร์ที่ไม่ได้รับสาย (Missed call), เบอร์ที่ได้รับสาย (Recived call), เบอร์ที่โทรออก (Dialled numbers), ผู้รับข้อความ (Message recipients), ลบรายการบันทึก (Clear log lists), เวลาการโทร (Call duration), ตัวนับข้อมูลแพคเก็ต (Packet data counter), ตัวจับเวลาต่อแพคเก็ต (Packet data conn.timer), บันทึกข้อความ (Message log) - Settings การตั้งค่าสำหรับตั้งค่าในเครื่องไม่ว่าจะเป็นการเลือกรูปแบบ (Profiles), ลักษณะ (Themes), แบบเสียง (Tones), จอแสดงผล (Display), วันและเวลา (Time and date), ทางลัดส่วนตัว (My shortcut), การเชื่อมต่อ (Connectivity), โทรออก (Call), โทรศัพท์ (Phone), อุปกรณ์เพิ่มพิเศษ (Enhancement), การตั้งกำหนดค่า (Configuration), ความปลอดภัย (Security), เรียกคืนค่าตั้งเดิม (Restore factory sett.) - Gallery เมนูคลังภาพสำหรับการเลือกเข้าดู รูปถ่าย (Images), วิดีโอคลิป (Video clips), ไฟล์เพลง (Music files), ลักษณะ (Themes), กราฟฟิก (Graphics), โทนสียง (Tones), เสียงบันทึก (Recordings), ไฟล์ที่ได้รับ (Recived files) - Media เมนูสื่อสำหรับการใช้งานกล้อง (Camera), วิดีโอ (Video), เครื่องเล่นสื่อ (Media player), เครื่องเล่นเพลง (Music player), วิทยุ (Radio), เครื่องบันทึก (Recorder) สำหรับบันทึกเสียง, อีควอไลเซอร์ (Equaliser) - Organizer เมนูนัดหมายสำหรับการใช้งาน นาฬิกาปลุก (Alarm clock), ปฏิทิน (Calendar), สิ่งที่ต้องทำ (To-do list), บันทึก (Notes), เครื่องคิดเลข (Calculator), ตัวตั้งนับเวลาแบบถอยหลัง (Timer), นาฬิกาจับเวลา (Stopwatch) - Push to talk เมนูสนทนาสำหรับการใช้งานระบบ Push to Talk (PTT) อย่างการตั้งค่าเปิดสนทนา (Switch PTT on), ถาดเข้าโทรกลับ (Callback inbox), รายการช่อง (Channel list), รายการรายชื่อ (Contact list), เพิ่มช่อง (Add channel), การตั้งค่าสนทนา (Push to talk settings), การกำหนดค่า (Configuration sett.), เว็บ (Web) - Apps. เมนูแอปพลิเคชั่น สำหรับการเลือกเข้าใช้งานเกมส์ (Games/3D games) และแอปพลิเคชั่นต่างๆ และ Collection ที่ดาวน์โหลดรูปแบบ Java MIDP 2.0 - Web เมนูเว็บสำหรับการเข้าใช้งานเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตบนมือถืออย่าง Nokia.com, โฮม (Home), บุ๊คมาร์ค (Bookmarks), ที่อยู่เว็บล่าสุด (Last web address), ถาดรับบริการ (Service inbox), การตั้งค่า (Settings), ไปที่ที่อยู่ (Go to address), ลบข้อมูลในแคช (Clear the cache) * นอกจากนี้แล้วยังจะมีเมนูเสริมเพิ่มเติมจาก ทางผู้จัดจำหน่ายและจากทางผู้ให้บริการเฉพาะรายมาให้ด้วย อย่างในเครื่องที่เรามาทดสอบก็จะมีเมนู Cheer จาก Mlink และ Menu ซึ่งเมนูเสริมใน SIM จากผู้ให้บริการอย่าง True Move เสียงเรียกเข้า รองรับเสียงเรียกเข้าได้แบบ MIDI, MP3 และ AAC ในระดับ 64 โพลีโฟนิกอีกด้วยนอกจากนี้ยังสามารถเลือกรูปแบบการเตือนต่างๆ ได้มากมาย ทั้งการตั้งเสียงเตือนโทรเข้า (Incoming call alert) ทั้งแบบดังต่อเนื่อง/ดังขึ้นเรื่อยๆ/ดังหนึ่งครั้ง/ดังสั้นหนึ่งครั้งเป็นต้น, เลือกตั้งเพลงเสียงเรียกเข้า (Ringing tone), ตั้งระดับเสียงกริ่ง (Ringging volume), ตั้งภาพวิดีโอโทรเข้า (Incomming call video) เลือกการสั่นเตือน (Vibrating alaert), เลือกเสียงสนทนาระบบ PTT (PTT voice opt.) ทั้งแบบสนทนาผ่านลำโพง/ชุดหูฟัง/ห้ามรบกวนเพื่อปิดการสนทนา, ตั้งเสียงแจ้งสนทนา (PTT notif.tone), เสียงสนทนาโทรกลับ (PTT callb. tone), เสียงข้อความเข้า (Msg. alert tone), เสียงเตือนสนทนา IM (IM alert tone) แบบให้เลือกปิด/มาตรฐาน/แบบเสียงกริ่ง, ตั้งค่าเลือกเสียงปุ่มกด (Keypad tones), เลือกการเตือนสำหรับทุกสาย (Other tone), เสียงแอปพลิเคชั่น (App. tone) โดยการตั้งค่าเหล่านี้สามารถเข้าตั้งค่าการใช้งานได้ที่เมนูแบบเสียง (Tones) รวมถึงการเลือกรูปแบบการเตือน (Profile) ได้หลายสถานะด้วย สมุดโทรศัพท์ หรือใน Contact นั้นสามารถลงบันทึกรายการเพิ่มเบอร์และเลขหมายโทรศัพท์ได้ทั้งในตัวโทรศัพท์ (1,000 รายการ) หรือจะเลือกบันทึกลงในซิมการ์ด (SIM) ก็ได้ รวมถึงเลือก Copy ข้อมูลทั้งหมดในซิมลงเครื่องก็ได้ด้วย ส่วนการบันทึกลงรายการเบอร์โทรใหม่ลงเครื่อง (Add new contact) นั้นสามารถลงได้ทั้ง ชื่อ, นามสกุล, ชื่อเล่น, บริษัท, ตำแหน่ง หรือหน้าที่การงาน,เบอร์มือถือ, เบอร์บ้าน, ใส่ภาพถ่ายหรือภาพวีดีโอเรียกเข้า (Video ringing tone), ลง Internet telephone, Fax, Email เป็นต้นโดยการเลือกเพิ่มรายการบันทึกได้ด้วยการเข้า Option > Add detail (15 fields ใน 1 รายการ) ทั้งนี้แต่ละรายการสามารถตั้งกลุ่ม (Groups) และเสียงเรียกเข้าเฉพาะบุคคลได้ด้วย รวมไปถึงตั้งการโทรด่วน (Speed dials) ก็สามารถทำได้ ส่วนการเลือกภาษาในการพิมพ์นั้นก็สามารถเลือกได้ทั้ง ไทยและอังกฤษครับ การเชื่อมต่อ มีระบบเชื่อมต่อการโอนถ่ายข้อมูลได้หลายรูปแบบตั้งแต่การเชื่อมต่อโอนถ่ายข้อมูลไร้สาย ผ่านอินฟราเรด (IrDA) และ บลูทูธ (Bluetooth) เวอร์ชั่น 2.0 ที่รองรับการใช้งานหูฟังแบบสเตอรีโอ, การโอนถ่ายข้อมูลแอ็ปพลิเคชั่น, ใช้เชื่อมต่อระบบ Dial-up กับเครือข่าย หรือใช้กับระบบ SIM Access ต่างๆ ได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์แบบ ซึ่งนอกจากจะเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ ด้วยระบบไร้สายแล้ว ยังสามารถเชื่อมต่อด้วยสาย Data Cable (Pop Port Interface) ผ่านช่อง USB เวอร์ชั่น 2.0 สำหรับการ Sync ข้อมูลกับเครื่องคอมพิวเตอร์ (รองรับ Local/remote SyncML) ก็ได้ด้วยเช่นกัน แถมหากต้องการจะเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตก็สามารถทำได้ด้วยด้วยระบบ Browsing WAP 2.0/xHTML พร้อมระบบ OMA DRM 1.0 ผ่าน EDGE (EGPRS) class 10/GPRS Class 10 รองรับการรับ-ส่งข้อความ ทั้งแบบ SMS, MMS, Email (POP3/IMAP4) พร้อมไปกับการ Attach เพื่อแนบไฟล์ต่างๆ ไปได้ด้วย รวมถึงการสนทนาข้อความทันใจแบบ Chat IM หรือแม้กระทั่งการสื่อสารสนทนาด้วยเสียงแบบกดแล้วพูดในระบบ PTT ก็สามารถทำได้โดยทั้งหมดนี้จะทำงานผ่าน EDGE (EGPRS) class 10/GPRS Class 10 กล้องถ่ายรูป ระดับ 1.3 ล้านพิกเซล ที่ให้ขนาดภาพสูงสุดที่ 1280 x 1024 พิกเซล บันทึกภาพได้ทั้งแบบภาพนิ่ง (Image) และภาพวีดีโอเคลื่อนไหวพร้อมเสียง (MPEG4/3GPP/H.263) มีการติดตั้งระบบการซูมภาพดิจิตอล 4 เท่า (สามารถใช้ปุ่ม +/- ด้านข้างเครื่องควบคุมได้) รวมถึงมีช่องมองภาพ (View Finder) ที่ใช้การจับถือกล้องในแบบแนวนอนที่ให้ภาพลักษณะมุมกว้าง (Landscape) ส่วนการปรับตั้งหน้ากล้องถ่ายภาพนิ่งนั้นก็มีการเลือกใช้งานด้วยการกดเข้าที่ ตัวเลือก (Options) แล้วก็จะมีการตั้งค่ากล้องมาให้เลือกทั้งการเลือกโหมดกลางคืน (Night mode), ตัวตั้งเวลา (Self-timer), ถ่ายภาพต่อเนื่อง (Img.Sequence), เอฟเฟกต์ (Effect) แบบปกติ/สีลวงตา (False colours)/เฉดสีเทา (Greyscle)/ซีเปีย/เนกาทีฟ/โซลาไรส์, ตั้งค่าสมดุลแสงสีขาว (White balance) แบบอัตโนมัติ/แสงแดด/ทังสเตน/นีออน/แนวนอน, เลือกคุณภาพ (Img.quality) แบบธรรมดา/ปกติ/สูง, เลือกขนาดภาพ (Img. Size) ตั้งแต่160x120/320x240/640x480/800x600/1280x960 ส่วนกล้องวิดีโอนั้นจะมีค่าการใช้งานให้เลือก ทั้งการเปิด-ปิดเสียง (ขณะบันทึกภาพ), ใส่เอฟเฟกต์ภาพ (มีเหมือนการถ่ายภาพนิ่ง) ส่วนของการตั้งค่า นั้นจะเลือกการตั้งค่ากล้องทั้งสองโหมดทั้งแบบภาพนิ่ง และภาพวิดีโอเคลื่อนไหวพร้อมเสียงที่มีให้เลือกเลยก็คือ การตั้งเลือกคุณภาพของภาพ ปกติ/สูง/ธรรมดา, เลือกความยาววิดีโอคลิป (Video clip length) แบบค่าที่ตั้งมา/ค่าสูงสุด, เลือกคุณภาพวิดีโอคลิป (Video clip quality) แบบ สูง/ปกติ/ธรรมดา, ความละเอียดวิดีโอ (Video resolution) ตั้งแต่ 128x96/176x144, ตั้งเวลาแสดงภาพตัวอย่าง (Image preview time) ตั้งแต่ 3/5/10 วินาทีหรือเลือกไม่แสดงตัวอย่าง และจบแล้วดูตัวอย่างด้วยตัวเอง (ถ่ายแล้วตัวตัวอย่างภาพก่อนแบบอัตโนมัติ) ก็ได้, เปิด-ปิดเสียงกล้องถ่ายรูป (Camera sounds), ชื่อที่ตั้งไว้ (สำหรับการตั้งค่าชื่อหลักของภาพที่ถ่าย), เลือกที่เก็บภาพและวิดีโอใน ความจำเครื่อง/การ์ดความจำ/แฟ้มข้อมูลอื่นๆ (ใช้เลือกโฟลเดอร์สำหรับเก็บภาพ) โดยปุ่มกดที่ต้องเกี่ยวข้องกับการใช้งานกล้องนั้นจะมีปุ่มควบคุมเมนู (Navi-keys) กดขึ้น-ลง สำหรับการปรับซูมภาพ, กดซ้าย-ขวาสำหรับเปลี่ยนโหมดกล้องแบบถ่ายภาพนิ่งและภาพวิดีโอ กดตรงกลางสำหรับจับภาพ หรือจะใช้ปุ่มชัตเตอร์ด้านข้างเครื่องก็ได้แล้วแต่สะดวก ส่วนการเลือกเข้าใช้งานกล้องนั้นทำได้โดยเลือกเข้าไปที่ เมนู (Menu) > สื่อ (Media) > กล้อง (Camera) หรือจะกดที่ปุ่มด้านข้างก็ทำได้แบบทันใจดีครับ เครื่องเล่นเพลง จะเป็นเครื่องเล่นเพลงที่มีหน้าตาการใช้งานที่ใช้ง่ายโดยจะแสดง ลำดับเพลง, ชื่อเพลง, ชื่อศิลปิน, โหมดอีควอไลเซอร์, ปุ่มควบคุมการเล่นเพลง และแสดงเวลาเล่นเพลง รวมถึงสถานการณ์เล่นต่างๆ บนหน้าจอ ส่วนการเลือกปรับตั้งการเล่นนั้น มีทั้งการเข้าดูรายการชื่อเพลง, ตัวเลือกการเล่นแบบ สุ่มเพลง/เล่นซ้ำ/แหล่งเสียง (สำหรับเลือกโฟลเดอร์หรือไฟล์เพลงที่จะเล่น), เลือกปรับรูปแบบเสียงด้วยอีควอไลเซอร์ที่มีให้เลือกทั้งแบบ ปกติ/ป๊อป/ร็อค/แจ๊ส/คลาสสิค/ชุด1และชุด2 (สำหรับให้ผูใช้เลือกตั้งค่าชื่อและอีควอไลเซอร์แบบละเอียดแล้วบันทึกค่าได้เองตามชอบใจ) นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มระบบขยายเสียงสเตอรีโอไว้ให้เลือกใช้งานด้วย โดยการตั้งค่านั้นให้เลือกเข้าที่ ตัวเลือก (Option) ได้เลยครับ ทั้งนี้เครื่องเล่นเพลงนี้สามารถรองรับไฟล์ประเภท MP3, AAC, AAC+, eAAC+, WMA ได้อย่างหลากหลายทีเดียว และที่สำคัญยังมีวิทยุ FM radio ที่สามารถรองรับรูปแบบ Visual Radio แถมมาให้สำหรับการเลือกฟังเพลงตามสถานีวิทยุได้ด้วย เครื่องมือผู้ช่วยและงานด้านเอกสาร สามารถรองรับการอ่านเอกสารของ Microsoft ต่างๆ ทั้ง Microsoft Outlook 98, 2000, 2002 and 2003, Microsoft Outlook Express รวมถึง Lotus Notes 5.0 and 6.0, Lotus Organizer 5.0 and 6.0 อีกทั้งยังสามารถลงบันทึกรายการใน ปฏิทิน (Calendar) ได้ถึง 900 รายการ และในสิ่งที่ต้องทำ (To Do List) ได้อีก 30 รายการ หน่วยความจำรองรับ มีรองรับในเครื่องด้วยขนาด 30 MB สำหรับการจัดเก็บข้อมูลทางด้านภาพ และเสียงแบบเล็กน้อย หรือหากกลัวว่าอาจจะยังไม่เพียงพอก็สามารถเพิ่มพื้นที่หน่วยความจำด้วยการ์ดความจำจากภายนอกแบบ microSD ได้สูงสุดถึง 2 GB เลยทีเดียว ข้อสังเกต ถึงแม้ว่าตัวเครื่องจะรองรับการใช้งานด้วยฟังก์ชั่นที่หลากหลายก็จริง แต่สิ่งหนึ่งที่น่าจะทำได้ดีกว่านี้ก็คือ การออกแบบที่ยังดูกั๊กๆ อยู่ว่าจะให้ตัวเครื่องดูหรูหราหรือเรียบง่าย โดยในแง่ของวัสดุประกอบเครื่องแล้วถือว่าค่อนข้างทำได้ดีอยู่แล้ว ด้วยการใช้ชุดกรอบ หรือหน้ากากที่เป็นการเคลือบสียาง ซึ่งให้ความทนทาน ป้องกันรอยขีดข่วน และซับแรงกระแทกได้เป็นอย่างดี ซึ่งก็ถือว่าทำใช้ได้ทีเดียว แต่เมื่อมาดูตรงส่วนของปุ่มกดแล้วถือว่าผิดหวังเอามากๆ ที่ใช้เป็นปุ่มกดซึ่งเป็นพลาสติก สีดำทรงเหลี่ยมธรรมดาๆ ทำให้เสน่ห์ของตัวเครื่องขาดหายไป แทนที่จะดูหรูหราน่าสัมผัสด้วยปุ่มกดที่เป็นโลหะปัดเงา หรือเป็นวัสดุชุบโครเมี่ยมก็ยังดีกว่านี้นอกจากนี้ในส่วนของงานประกอบเครื่องนั้นก็ยังดูไม่ค่อยแน่นหนาเท่าที่ควร ทั้งที่วัสดุตัวเครื่องก็ดีอยู่แล้ว แต่หากพูดถึงในแง่ของฟังก์ชั่นเครื่องแล้วเราถือว่ามันก็สามารถทำได้ดีค่อนข้างจะครบถ้วนอยู่แล้ว ทั้งทางด้านมีเดีย และทางด้านการเชื่อมต่อ สื่อสารแบบไร้สายต่างๆ ซึ่งก็รวมไปถึงเครื่องมือผู้ช่วยที่เอื้ออำนวยต่องานธุรกิจ หรือธุรกรรมต่างๆ ได้มากมายทีเดียวจะเรียกว่าเป็นจุดเด่นก็คงไม่ผิดนัก สรุปผลการทดสอบ หากในแง่ของความน่าสนใจแล้วเจ้า Nokia 6151 นั้นมีความโดดเด่นในเรื่องของความหลากหลายของฟังก์ชั่นเครื่องที่ค่อนข้างครบถ้วนที่สำคัญมันยังสามารถรองรับเครือข่าย 3G ได้ซะด้วย น่าสนใจทีเดียวสำหรับโทรศัพท์มือถือที่มีราคาระดับนี้ ส่วนของการออกแบบนั้นยังถือว่าอยู่ในระดับปานกลาง คือยังไม่โดดเด่นเท่าใดนัก จนบางครั้งพอดูไปนานๆ แล้วมันจะออกธรรมดาไปซะด้วยซ้ำ ซึ่งการออกแบบนั้นยังไม่ถือว่าเข้าตาเท่าที่ควร ส่วนเรื่องของการใช้งานนั้นแน่นอนว่ามีอะไรๆ ให้คุณได้เลือกใช้เยอะแยะมากมายตามที่คุณต้องการอย่างแน่นอนรับรองไม่ผิดหวัง ส่วนด้านประสิทธิภาพนั้นยังคงอยู่ในมาตรฐานของโทรศัพท์มือถือแบรนด์ Nokia อย่างครบถ้วน ที่สำคัญจากการใช้งานข้างต้นในเมนูต่างๆ นั้นรับรองว่าคุณจะไม่เจออาการแฮงค์หรือ อาการหน่วงในขณะใช้งานเครื่องอย่างแน่นอน แล้วยิ่งเมื่อดูเรื่องราคาขายประกอบกับคุณสมบัติเครื่องเข้าไปด้วยแล้วเราเองก็คิดว่าเจ้า Nokia 6151 ตัวนี้ชนะใจเราด้วยคุณสมบัติในเครื่องกับราคาที่ไม่ถึงหมื่นเช่นนี้ ซึ่งก็นับว่าคุ้มค่าทีเดียวครับ เอื้อเฟื้อเครื่องทดสอบ :บริษัท เอ็ม ลิ้งค์ เอเชีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

สนับสนุนเนื้อหาโดย

อัลบั้มภาพ 14 ภาพ

อัลบั้มภาพ 14 ภาพ ของ รีวิว Nokia 6151

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook