รีวิว Nokia 2310

รีวิว Nokia 2310

รีวิว Nokia 2310
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
โดยทั่วไปแล้วโทรศัพท์มือถือนั้นก็คืออุปกรณ์สำหรับใช้เพื่อการติดต่อสื่อสารในแบบเคลื่อนที่ หรือแบบไร้สายเป็นวัตถุประสงค์หลักที่ถูกสร้างสรรค์มาตั้งแต่แรกเริ่ม แต่ดูเหมือนว่าระยะหลังมานี้โทรศัพท์ได้ถูกพัฒนาให้มีความสามารถมากขึ้น ทันสมัยมากขึ้น สวยงามมากขึ้น รวมถึงขนาดตัวเครื่องที่นับวันดูจะเล็กและบางลง ด้วยปัจจัยในเรื่องความต้องการความสะดวกรวดเร็วในการติดต่อสื่อสารแบบเคลื่อนที่นี้เองที่เป็นส่วนผลักดันให้โทรศัพท์มือถือที่จากเดิมใช้เพียงแค่การโทรพูดคุย มาวันนี้กลับกลายเป็นว่ามันสามารถทำอย่างอื่นได้ด้วย อย่าง Nokia 2310 มือถือทรงบาร์ไทป์ (BarType) ที่มีหน้าตาแสนธรรมดาเครื่องนี้ ก็ถูกออกแบบมาเพื่อให้มีความสามารถที่นอกเหนือไปจากการใช้โทรพูดคุยด้วยการใส่ฟังก์ชั่นเสริมลงไป ไม่ว่าจะเป็น วิทยุ FM radio พร้อมลำโพง Speaker ติดตั้งในตัว, เครื่องมือผู้ช่วยอย่าง Reminder เป็นต้น ส่วนของตัวเครื่องนั้นจะมีหน้ากาก และฝาหลังที่ถูกออกแบบให้เป็นสีฟ้า (สำหรับเครื่องที่นำมาทดสอบ) ตัดกับโครงสร้างของตัวโทรศัพท์เองที่เป็นสีเทาอ่อน แถมด้วยการให้กรอบหน้าจอเป็นสีดำเพื่อความเข้ากันได้ของโทนสีที่แตกต่างกันสุดขั้วเช่นนี้ นอกจากนี้แล้วยังมีการติดตั้งช่องลำโพงพร้อมตาข่ายโลหะแบบชุบโครเมี่ยมอยู่ส่วนบนของหัวเครื่อง ส่วนด้านล่างนั้นจะมีช่องเสียบต่อสายชาร์จแบตเตอรี่แบบมาตรฐานดั้งเดิมของทางโนเกีย พร้อมกับช่อง mini-Jack สำหรับใช้เสียบต่อหูฟังแบบสเตอรีโอ (Headset Stereo) อีกด้วย หน้าจอ ส่วนของจอแสดงผลนั้นจะใช้แบบ CSTN-LCD 65,536 สีขนาด 96 x 68 พิกเซล หรือประมาณ 1.5 นิ้ว (แสดงตัวอักษร 5 บรรทัด) ซึ่งสามารถแสดงรายละเอียดการทำงานของโทรศัพท์ได้มากมายทั้ง แสดงเบอร์โทรเข้า, ระดับสัญญาณเครือข่าย, ระดับแบตเตอรี่, วันที่และเวลา แถมยังสามารถเลือกตั้งค่าสีเมนู (Theme) ได้ 12 เฉดสี, ตั้งค่าโครงสร้างสี (Colour shemes), นาฬิการักษาพลัง (Power saver clock), แสดงข้อมูลระบบเครือข่าย (Cell infodisplay), เวลาไฟพื้นหลัง (Backlight time), ความสว่างจอ (Brightness) 10 ระดับ, ภาพพักหน้าจอ (Screen saver) รูปแบบเมนู จะเป็นเมนูแบบ Graphics Icon โดยจะเป็นเมนูที่ใช้การเลื่อนแบบซ้าย-ขวา ทั้งนี้เมนูที่ถูกเลือกจะขึ้นโชว์อยู่ทางซ้ายมือพร้อมตัวอักษรบอกชื่อเมนูด้านบน ส่วนรูปเมนูที่อยู่ในช่องเล็กๆ ทางด้านขวามือนั้นคือเมนูถัด ซึ่งจะแสดงเมนูถัดไปแบบแสดงสองเมนู ซึ่งการแสดงการเลื่อนเมนูแบบนี้อาจจะสร้างความสับสนบ้างกับผู้ไม่คุ้นเคยนัก และสำหรับภาษาเมนูแล้วจะมีมาให้เลือกใช้ทั้ง เมนูภาษาไทย, อังกฤษ, อัตโนมัติ (อังกฤษ) และ จีน (2 แบบ) โดยสามารถเข้าไปตั้งค่าภาษาเมนูได้โดยการเลือกเข้าที่ Menu > Settings > Phone settings > Language มีเมนูหลัก ทั้งหมด 9 เมนูด้วยกันได้แก่
- Messaging เมนูข้อความ เป็นเมนูสำหรับการใช้งานจัดการเกี่ยวกับข้อความต่างๆดดยจะมีเมนูย่อยๆด้านในทั้ง สร้างข้อความ (Create message), ถาดเข้า (Inbox), ฉบับร่าง (Draft), รายการที่ส่ง (Sent items), สนทนา (Chat), ข้อความภาพ (Picture messages), กลุ่มรายชื่อ (Distribution lists), ข้อความที่ถูกเลือกออก (Screened messages), ลบข้อความ (Delete messages), ตัวนับจำนวนข้อความ (Message counter), การตั้งค่า (Message settings), เขียนคำสั่งการใช้บริการ (Service com.editor) - Contact เมนูรายชื่อ สำหรับการเลือกใช้สมุดบันทึกเบอร์โทร ที่มีตั้งแต่ การค้นหา (Search), เพิ่มรายชื่อ (Add contact), ลบ (Delete), คัดลอก (Copy), การตั้งค่า (Settings), โทรด่วน (Speed dials), เบอร์ผู้ใช้ (My numbers), เลือกเบอร์ออก (No.screening) - Call register เมนูข้อมูลการใช้ สำหรับเรียกดูข้อมูลใช้สายต่างๆ ตั้งแต่ เบอร์ที่ไม่ได้รับสาย (Missed calls), เบอร์ที่รับสาย (Recived calls), เบอร์ที่โทรออก (Dialled numbers), ลบเบอร์ในรายการโทร (Delete recent call list), แสดงเวลา (Call duration), ตัวนับจำนวนข้อความ (Message counter) - Settings เมนู การตั้งค่าสำหรับการเลือกตั้งค่าต่างๆ ในเครื่องทั้ง ตั้งค่าแบบเสียง (Tone settings), ตั่งค่าจอแสดงผล (Display settings), รูปแบบ (Profiles), ตั้งเวลา (Time settings), ตั้งค่าการโทร (Call settings), ตั้งค่าโทรศัพท์ (Phone settings), การตั้งค่าควบคุมค่าโทรศัพท์ (Cost settings), ตั้งค่าอุปกรณ์เพิ่มฯ (Enhancement settings), ตั้งค่าระบบความปลอดภัย (Security settings), การตั้งค่าปุ่มเลือกขวา (Right selection key settings), ตั้งค่าใช้งานกลับตามเดิม (Restore factory settings) - Alarm clock เมนู นาฬิกาปลุกสำหรับตั้งค่าเวลาปลุกเตือน (Alarm time), เสียงปลุกมาตรฐาน/วิทยุ/เสียงกริ่ง (Alarm tone), ปลุกซ้ำปลุก/ครั้งเดียว (Repeat alarm) - Radio เมนูวิทยุ สำหรับการฟังเพลงต่างๆ แบบวิทยุ FM ซึ่งต้องใช้การต่อหูฟังเพื่อการใช้งานได้ พร้อมไปกับการเลือกแสดงเสียงผ่านลำโพงในตัวได้ด้วย - Reminders เมนู เตือนความจำสำหรับการใช้เพิ่มบันทึกใหม่ (Add new), ปฏิทิน (Calendar), เสียงเตือน (Alarm tone), ประเภทปฏิทิน (Calendar type) แบบอัตโนมัติ/ Western/ไทย - Games เมนู เกมสำหรับการเลือกใช้งานเพื่อเข้าเล่นเกมต่างๆ ที่มีในเครื่องมากมาย - Extras เมนู คุณสมบัติพิเศษสำหรับการเข้าใช้งานเครื่องมือผู้ช่วยอย่าง เครื่องคิดเลข (Calculator), ตัวแปลงค่า (Converter), ตัวนับถอยหลัง (Countd.tim.), ปฏิทิน (Calendar), นาฬิกา จับเวลา (Stopwatch), แต่งเสียงเรียกเข้า (Composer), ปฏิทินจันทรคติจีน (Chainese lunar calendar) เสียงเรียกเข้า ให้เสียงเพลงคุณภาพในระดับ MP3 แบบ 40 โพลีโฟนิก สามารถเลือกเพลงที่มีในเครื่อง หรือแต่งเสียงเรียกเข้าด้วยเครื่องมือแต่งเพลง (Composer) ในเครื่องได้ด้วยตัวเองมาพร้อมกับการให้เลือกปรับตั้งเสียงเตือนรูปแบบต่างๆ ได้มากมาย ทั้งตั้งรูปแบบเสียงของปุ่มกด, เสียงเตือนสายเข้า, ระดับความดังของเสียงเตือน, เลือกรูปแบบสั่น, เสียงเตือนข้อความ, เสียงเตือนอื่นๆ รวมถึงการเลือกไฟกระพริบเตือนในจังหวะต่างๆแล้ว ยังสามารถเลือก รูปแบบ (Profiles) การเตือนได้ทั้งแบบ ทั่วไป (General)/ ไม่มีเสียง (Silent)/เสียงเบา (Discreet)/เสียงดัง (Loud)/เฉพาะไฟเท่านั้น (Lights only)/แบบส่วนตัว (My style) สมุดโทรศัพท์ สามารถลงบันทึกรายการเพิ่มเบอร์และเลขหมายโทรศัพท์ (Contact) ได้ทั้งในตัวโทรศัพท์ (บันทึกได้ 200 เบอร์โทร) หรือจะเลือกบันทึกลงในซิมการ์ด (SIM) ก็ได้ รวมถึงการเลือกแสดงเบอร์ได้แบบในตัวเครื่อง และในซิมการ์ดอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น ตามแต่ที่ผู้ใช้ถนัด การบันทึกเบอร์ใหม่ (Add new) ลงเครื่องนั้นสามารถเลือกบันทึกแยกลงรายการบันทึกได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็น การลงบันทึก เป็นเบอร์ทั่วไป, เบอร์บ้าน, ที่ทำงาน, มือถือ, แฟกซ์, ใส่ภาพแสดงประจำเบอร์โทร, ตั้งกลุ่มผู้โทร, กำหนดเสียงประจำเบอร์โทร, ตั้งค่าเลือกเบอร์แบบ Call screenings ได้ และสามารถให้เราตั้งค่าโทรด่วน หรือ Speed dial ได้บนปุ่มกดเลข 2-9 พร้อมทั้งสามารถเรียกดูเบอร์ผู้ใช้ได้ในเมนูนี้ด้วย รองรับข้อความ รูปแบบ SMS และ Picture messaging สามารถรองรับการเก็บข้อความ SMS ได้มากถึง 60 ข้อความในเครื่อง และอีก 60 ข้อความในซิมการ์ด มีระบบส่งข้อความด่วน (Speed dialing for SMS sending) สามารถรองรับการส่งเพลง (Ringing) พร้อมแนบภาพโลโก้บน SMS ได้ด้วย เมนูหรือเครื่องมือเสริมพิเศษ มีมาให้ใช้งานอย่างครบมือทั้งนาฬิกาปลุก, นาฬิกาจับเวลาแบบ StopWatch, เครื่องคิดเลข, บันทึกเตือนความจำ และปฏิทิน แล้วก็ยังมีการติดตั้งวิทยุ FM พร้อมกับระบบเสียงแบบ Sound Visualize ที่ให้เสียงผ่านลำโพง Speaker built-in ในตัวได้อย่างชัดเจน หน่วยความจำ ภายในตัวมีพื้นที่หน่วยความจำรองรับขนาด 4 MB แบบใช้ร่วมกัน (Share Memory) ซึ่งเพียงพอสำหรับการจัดเก็บข้อมูลแบบพื้นฐานเล็กๆ น้อยได้แบบไม่มากมายนัก ซึ่งก็เพียงพอสำหรับความสามารถของเครื่องที่มีแบบพอดีตัว โดยรวมแล้วถือว่า Nokia 2310 เครื่องนี้นั้นยังคงความเป็นมาตรฐานของโทรศัพท์มือถือไว้ได้อย่างตรงไปตรงมา โดยเน้นการใช้งานเครื่องในแบบพื้นฐานคือการใช้โทรเข้า-ออกเพื่อการสนทนาพูดคุย พร้อมกับการรับ-ส่งข้อความแบบ SMS ที่เป็นมาตรฐานอยู่แล้ว แต่สิ่งที่ขาดไม่ได้และถือว่าเป็นสีสันหน้าตาของ 2310 เครื่องนี้เลยก็คือลูกเล่นที่ถูกเพิ่มเข้ามาเพื่อสร้างจุดขายอย่าง ตัวเครื่องที่ดูเรียบง่ายแต่เน้นสีสันให้สดใส พร้อมกับหน้าจอแสดงผลสีระดับ 65K สีที่ตอบสนองต่อการแสดงผลได้ทุกรูปแบบ ที่สำคัญที่สุดก็คือการที่จับเอาเครื่องรับวิทยุ FM Radio มาใส่ไว้ในเครื่องนั้นก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ช่วยตอบสนองด้านความบันเทิงเล็กๆ น้อยๆ ให้กับผู้ใช้ได้อย่างดี เรียกว่าถึงแม้ว่า Nokia 2310 จะเป็นโทรศัพท์มือถือที่เน้นการใช้งานอย่างโทรศัพท์ก็ตาม แต่ก็ยังไม่ลืมที่จะสอดแทรกความต้องการของผู้ใช้เล็กๆ น้อยๆ ของผู้ใช้ที่ชอบโทรศัพท์มือถือที่ใช้งานง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน และสามารถฟังเพลงด้วยวิทยุ FM Radio ได้ ที่สำคัญยังสามารถเป็นผู้ช่วยทางด้านบันทึกเตือนความจำที่มาพร้อมกับเครื่องมือทางด้านงานออฟฟิศอย่างพอประมาณตามความจำเป็นสำหรับผู้ใช้อย่างแท้จริง ราคาโดยประมาณ 3,030 บาท

สนับสนุนเนื้อหาโดย

อัลบั้มภาพ 19 ภาพ

อัลบั้มภาพ 19 ภาพ ของ รีวิว Nokia 2310

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook