รีวิว Samsung SGH-J700

รีวิว Samsung SGH-J700

รีวิว Samsung SGH-J700
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ด้านหน้า - จอแสดงผลได้รับการปกป้องจากกรอบโปร่งแสงมีพื้นผิวสะท้อนเงา ครอบคลุมลงไปถึงปุ่มซอฟต์คีย์ เมื่อเลื่อนฝาสไลด์ขึ้น ก็เผยให้เห็นแผงปุ่มกดตัวเลข วางราบไปกับตัวเครื่อง และซ่อนรูไมโครโฟนไว้ใต้แผงปุ่มกด ด้านหลัง - ให้ฝาครอบแบตเตอรี่ถูกติดตั้งอยู่ส่วนบน วิธีการถอดออก ให้ใช้นิ้วกดที่ใต้ตัวอักษร SAMSUNG พร้อมกับเลื่อนขึ้นด้านบน แต่ทำได้ค่อนข้างยากเล็กน้อย เพราะพื้นผิวด้านหลังมีความลื่นอยู่มาก ดังนั้นจึงใช้พลังในการกดและเลื่อนฝาครอบแบตเตอรี่พอสมควร เมื่อถอดฝาครอบแบตเตอรี่ออก จะพบช่องวางแบตเตอรี่ ส่วนช่องเสียบซิมการ์ดอยู่มุมล่าง เมื่อเลื่อนฝาสไลด์ขึ้นจะเผยให้เห็นเลนส์กล้องดิจิตอล และกระจกเงา ช่วยในการบันทึกภาพตนเอง ด้านซ้ายของตัวเครื่อง - มีช่องเสียบอุปกรณ์ภายนอก สำหรับหูฟัง, สายชาร์จแบตเตอรี่ และ สายดาต้าลิ้งค์ ซึ่งมีที่ปิดกันฝุ่น ด้านขวาของตัวเครื่อง - มีปุ่มปรับระดับเสียง (เพิ่ม/ลด) ส่วนล่างมีช่องเสียบการ์ดหน่วยความจำ MicroSD ซึ่งมีที่ปิดกันฝุ่น ด้านบน - มีรูร้อยสายคล้องคออยู่ตรงมุมเครื่อง Samsung J700 เพิ่มความแปลกใหม่ในการเข้าสู่แต่ละเมนู ด้วยการเปลี่ยนภาพหน้าจอ ในรูปแบบ Menu Transition Effect มีให้เลือก 2 แบบ คือ Slide กับ Door ในแบบ Slide หน้าจอใหม่จะเลื่อนมาจากด้านข้างแทนหน้าจอเดิม ส่วนแบบ Door หน้าจอเดิมจะแยกออกไปจากกลางภาพ พร้อมกับเผยให้เห็นหน้าจอใหม่ที่เลือก ถ้านึกภาพไม่ออกแนะนำให้ชมวีดีโอสาธิตด้านล่าง โทนสีหรือธีมของเมนู เลือกการใช้งานได้ 2 สี (สีขาว กับ สีดำ) เมนูหลักจัดวางในรูปแบบตาราง 3 แถม 3 คอลัมน์ รวมทั้งหมด 9 เมนู บันทึกข้อมูลการใช้ (Call log) - เมนูบันทึกรายการโทรทั้งหมด (โทรออก/รับสาย/ไม่ได้รับ) ลบรายการโทร เวลาโทร ค่าโทร และ ปฏิเสธสาย สมุดโทรศัพท์ (Phonebook) - เมนูจัดการรายชื่อในสมุดโทรศัพท์ แอพพลิเคชั่น (Applications) - รวมโปรแกรมเครื่องเล่นเพลง, บันทึกเสียง, วิทยุ FM, แก้ไขรูปภาพ และ การเชื่อมต่อบลูทูธ บราวเซอร์ (Browser) - เมนูใช้งานอินเตอร์เน็ต และ ตั้งค่าจุดเชื่อมต่อ ข้อความ (Messages) - เมนูรับ-ส่งข้อความรูปแบบ Email, MMS, SMS รวมไปถึงการตั้งค่าข้อความ ไฟล์ส่วนตัว (My files) - เมนูจัดการข้อมูลหรือไฟล์ต่างๆ ที่บันทึกไว้ในหน่วยความจำเครื่อง และเมมโมรี่การ์ด การวางแผน (Planner) - ฟังก์ชั่นนาฬิกาปลุก, ปฏิทิน, จดบันทึก, นาฬิกาโลก, เครื่องคิดเลข, ตัวแปลงหน่วย, จับเวลา และ หยุดเวลา กล้องถ่ายรูป (Camera) - เข้าสู่โหมดถ่ายภาพหรือบันทึกวีดีโอ การตั้งค่า (Settings) - เมนูตั้งค่าโทรศัพท์, ตั้งค่าแสงไฟ, ตั้งค่าจอแสดงผล, ตั้งค่าข้อความ, ตั้งค่าการโทร, ตั้งค่าสมุดโทรศัพท์, ตั้งค่าปฏิทิน, ตั้งค่าบราวเซอร์, ตั้งค่าเครื่องเล่นเพลง, ตั้งค่าเครือข่าย, ตั้งค่าความปลอดภัย, ตัวช่วยการตั้งค่า, ตั้งค่าหน่วยความจำ และ กลับไปตั้งค่าเดิม สมุดโทรศัพท์ (Phonebook) ในสมุดโทรศัพท์ มีเมนูตั้งค่ากลุ่มผู้โทร มีให้เลือกใช้ 4 กลุ่ม กำหนดหมายเลขโทรด่วน ได้ 8 เลขหมาย ทำนามบัตรส่วนตัว ค้นหา และ สร้างรายชื่อ ถ้าจัดเก็บรายชื่อไว้ในโทรศัพท์ สามารถใส่รายละเอียดได้ 13 รายการ คือ ชื่อ, นามสกุล, เบอร์มือถือ, เบอร์บ้าน, เบอร์ที่ทำงาน, เบอร์แฟกซ์, เบอร์อื่นๆ , อีเมล์, ภาพผู้โทร, เสียงเรียกเข้า, กลุ่มผู้โทร, ครบรอบวันเกิด และ บันทึกเพิ่มเติม ข้อความ (Messages) รับ-ส่งข้อความในรูปแบบ Email, MMS, SMS ในการส่ง SMS สามารถป้อนข้อความภาษาอังกฤษได้ 160 ตัวอักษร และสามารถแทรกรูปไอคอน เสียงเพลง ลงในข้อความได้ โดยจะกลายเป็นข้อความ EMS ทันที ในการส่ง MMS ทำได้สะดวกยิ่งขึ้น เพราะแบ่งเมนูในการแทรกข้อความมาให้ 4 เมนู คือ Subject (สำหรับใส่ชื่อเรื่อง), Image or video (สำหรับแทรกรูปภาพหรือวีดีโอ), Music or sound (สำหรับแทรกเพลงหรือคลิปเสียง) และ Text (สำหรับใส่ข้อควาที่ต้องการส่ง) สำหรับการส่ง Email ในครั้งแรก จะเข้าสู่การตั้งค่า Email ซึ่งมีขั้นตอนการตั้งค่าตาม Setup Wizard ขั้นตอนแรกคือการตั้งชื่อ กล่องข้อความ (กำหนดเองได้) ต่อไปเลือกรูปแบบ POP3 หรือ IMAP4 หน้าจอถัดไปให้กรอกชื่ออีเมล์ที่ใช้, ชื่อผู้ใช้ (ขึ้นมาเองเมื่อกรอกชื่ออีเมล์) และ รหัส จากนั้นกด Next มาป้อน Server ในการรับอีเมล์เข้า หน้าจอถัดไปกรอก Server ที่ใช้ส่งอีเมล์ เป็นอันเสร็จขั้นตอนการตั้งค่า จากนั้นต้องเข้าไปตั้งค่า Profile ก่อนจึงจะสามารถรับ-ส่งอีเมลืได้สมบูรณ์แบบ ซึ่งในการส่งอีเมล์สามารถแนบไฟล์ำได้ทั้งรูปภาพ เพลง วีดีโอ และ งานเอกสาร กรอกข้อความภาษาอังกฤษได้ 1,000 ตัวอักษร ส่วนชื่อเรื่องป้อนได้ 128 ตัวอักษรในภาษาอังกฤษ เครื่องเล่นเพลง (Music player) โปรแกรมเครื่องเล่นเพลง มีโหมดเล่นเพลงวนซ้ำ, สุ่มรายชื่อ ปรับอีควอไลเซอร์ได้ 9 แบบ คือ Normal, Dance, Pop, Rock, Jazz, Classical, Spokenword, Bassbooster และ Treblebooster สร้างรายการเพลงได้ 4 รายการ (รายการละ 30 เพลง) กำหนดเพลงที่เล่นเป็นเสียงเรียกเข้า หรือ เสียงเตือนนาฬิกาปลุกได้ทันที ควบคุมการเล่นเพลงด้วยปุ่มควบคุมทิศทาง ปรับความดังได้ 14 ระดับ ส่วนลำโพงเสียง ใช้ตัวเดียวกับลำโพงสนทนา เกมส์ (Games) นอกจากการฟังเพลงแล้ว วิธีการคลายเหงาได้ดีอีกอย่างหนึ่งก็คือการเล่นเกมส์ Samsung J700 ใส่เกมส์ไว้ในเมนู My files เป้นเกมส์จาวา 8 เกมส์ คือ Cannonball , Forgotten Warrior , Arch Angel , Midnight Pool , Minigolf Las Vegas , Paris Hilton's Diamond Quest , Tetris Mania และ Asphalt 2 กล้องถ่ายรูป (Camera) Samsung J700 ใช้กล้องดิจิตอล ความละเอียด 1.3 ล้านพิกเซล บันทึกได้ทั้งภาพนิ่ง และ วีดีโอ ตัวเครื่องไม่ได้ติดปุ่มชัตเตอร์มาให้ แต่การเข้าสู่โหมดกล้องก็ไม่ลำบากนัก เพราะเมนู Camera เป็นเมนูหลักที่เข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว คุณสมบัติในการถ่ายภาพนิ่ง โหมดถ่ายภาพต่อเนื่อง 6, 9 และ 15 ภาพ โหมดถ่ายภาพโมเสค 15 แบบ ปรับความละเอียดได้ 7 ขนาด คือ 128x96, 128x160, 320x240, 640x480, 800x600, 1024x768, 1028x1024 พิกเซล ตั้งเวลาถ่ายภาพล่วงหน้าอัตโนมัติ 3, 5 และ 10 วินาที ใส่โทนสีหรือเอฟเฟ็คภาพได้ 8 แบบ Black and White, Negative, Sepia, Emboss, Sketch, Antique, Moonlight และ Fog ใส่กรอบรูปภาพสติ๊กเกอร์ได้ 29 แบบ ปรับสมดุลแสงสีขาวได้ 5 แบบ คือ Auto, Daylight, Incandescent, Fluorescent, Cloudy ปรับคุณภาพในการบันทึกได้ 3 ระดับ Superfine, Fine และ Normal คุณสมบัติในการบันทึกวีดีโอ ปรับความละเอียดได้ 3 ขนาด คือ 176x144, 160x120 และ 128x96 พิกเซล ตั้งเวลาถ่ายภาพล่วงหน้าอัตโนมัติ 3, 5 และ 10 วินาที ใส่โทนสีหรือเอฟเฟ็คภาพได้ 8 แบบ Black and White, Negative, Sepia, Emboss, Sketch, Antique, Moonlight และ Fog ปรับสมดุลแสงสีขาวได้ 5 แบบ คือ Auto, Daylight, Incandescent, Fluorescent, Cloudy ปรับคุณภาพในการบันทึกได้ 3 ระดับ Superfine, Fine และ Normal เลือก เปิด/ปิด การบันทึกวีดีโอพร้อมเสียง ขอบคุณข้อมูลจาก สยามโฟน

อัลบั้มภาพ 25 ภาพ

อัลบั้มภาพ 25 ภาพ ของ รีวิว Samsung SGH-J700

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook