Review - Sony VAIO YB15AH

Review - Sony VAIO YB15AH

Review - Sony VAIO YB15AH
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

Sony Y Series จัดว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ในระดับ mini-notebook คือ มีศักยภาพมากกว่า netbook ทั่วไป แต่ก็ไม่ได้แรงถึงขนาด notebook เรียกได้ว่า เน้นความเบาและขนาดที่เล็ก พกพาสะดวก ด้วยน้ำหนักเพียง 1.5kg สามารถนำไปใช้งานได้ทุกสถานที่ พร้อมกับดีไซน์ที่สวยงาม และแบรนด์ VAIO

ณ ตอนนี้ Y Series มีอยู่ทั้งหมด 3 รุ่นด้วยกัน แบ่งตามราคาได้ดังนี้ (ราคาโดยประมาณ ณ วันนี้เขียนรีวิวนี้)

    * รุ่นต่ำสุด VPCYB15AH ราคา 16,900 มาพร้อม AMD Zacate E-350 และ Windows 7 Starter
    * รุ่นกลาง VPCYA15FH ราคา 23,900 เปลี่ยนจาก E-350 เป็น Intel Core i3-380UM และ Windows 7 Home Premium 64-Bit
    * รุ่นสูงสุด VPCYA17GH ราคา 25,900 สเปคจะเหมือนกับรุ่นกลาง แต่เปลี่ยนจาก Windows 7 Home Premium เป็น Professional

ส่วนสเปคด้านอื่นๆ ทั้งสามรุ่นจะเหมือนกันหมด ยกเว้นสี (ในแต่ละรุ่นย่อย จะมีสีเครื่องให้เลือกไม่เหมือนกัน) ซึ่งจะเห็นว่า CPU ฝั่ง Intel จะแรงกว่าฝั่ง AMD แต่ว่าทางด้านกราฟฟิคนั้น E-350 ซึ่งมาพร้อมกับ Radeon HD 6310 จะมีความสามารถเหนือกว่า Intel HD Graphics สำหรับรุ่นที่ผมจะมารีวิวนั้น คือรุ่นต่ำสุด VPC YB15AH ครับ

ตัวเครื่องภายนอก มีพอร์ตต่างๆ เกือยจะครบถ้วนเหมือนคอมพิวเตอร์ทั่วไป ได้แก่

ด้านซ้าย 19.5 VDC IN, VGA (D-SUB), HDMI, 1xUSB 2.0



ด้านขวาปุ่มเปิด/ปิดเครื่อง พร้อมไฟสีเชียว (เปิด) และ ส้ม (standby), RJ45 (Atheros AR8131 10/100/1000), Kensington Lock, 2xUSB 2.0, Mic In, Headphone Out



ด้านหน้า SD Card Reader, Memory Stick Reader, Status LED (Card Reader), Wireless Switch (Atheros AR9285 b/g/n 150Mb/s), Status LED (Wireless, Power, HDD)





ข้อเสียที่เห็นคือ ไม่มี USB 3.0 และ powered USB, ไม่มี optical audio, eSATA และ USB ด้านขวาค่อนข้างเบียดกันเล็กน้อย ถ้าเอา aircard ที่ขนาดใหญ่หน่อยมาเสียบไปพอร์ตนึง อีกพอร์ตก็จะใช้ไม่ได้เลย ส่วนข้อดีที่เหนือกว่าบางรุ่นคือ ช่องต่อ Mic/Headphone แยกกัน ส่วน card reader ที่แยกกันนั้น ผมไม่แน่ใจว่าสามารถใส่ 2 การ์ดพร้อมกันได้หรือไม่ เพราะไม่มี MS มาทดสอบ ถ้าใช้ได้ก็ถือว่าอาจจะเป็นข้อดีอีกอย่างนึงเลยสำหรับคนที่ใช้ทั้ง SD และ MS แต่ช่องเสียบ SD อาจจะอยู่ต่ำ และลึกไปหน่อย เวลาเสียบก็อาจจะต้องยกเครื่องขึ้นมาดูช่องเล็กน้อย


มาดูด้านในบ้าง ตัวฝาพับนั้นไม่มีเขี้ยวล็อก ซึ่งก็เป็นปกติสำหรับโน็ตบุ๊คในยุคนี้ ด้านบนจอภาพ LED-backlit ขนาด 11.6” ความละเอียด 1366x768 pixel ก็จะเป็นเว็บแคมความละเอียด 640x480 ติดกันก็จะมีไฟสีเขียวเล็กๆ ที่จะสว่างเมื่อเว็บแคมเปิดใช้งาน ถัดไปไกลๆ ก็จะเป็นไมโครโฟน ซึ่งเว็บแคมนั้น ความละเอียดค่อนข้างต่ำ (0.3MP) และไม่ค่อยทนสภาพแสงน้อยๆ เท่าไหร่ ส่วนคีย์บอร์ดนั้นเป็นแบบ chiclet ขนาดพอดีมือ ปุ่มครบถ้วนเหมือนโน็ตบุ๊คทั่วๆ ไป ด้านบนมีไฟแสดงสถานะ Numlock/Caplock/Scrolllock พร้อม และปุ่ม Assist (ถ้ามีโอกาสอธิบายภายหลัง) ด้านล่าง touchpad ของ Synaptics สามารถใช้ multitouch gesture ได้ (เช่น pinch zoom)

ผมยังหาวิธีตั้งค่าการเลื่อนหน้าด้วย 2 นิ้ว (มีคล้ายๆ กัน แต่เป็น PageUp/Down ไม่ใช่ scroll แบบหมุนล้อเมาส์) กับการแท็ป 2 นิ้วเพื่อคลิกขวาในโปรแกรมของ Synaptics ไม่เจอ เลยรู้สึกว่าใช้ไม่ค่อยสะดวกเท่าไหร่ แต่สุดท้ายก็ได้โปรแกรม TwoFingerScroll มาช่วยในส่วนนี้ได้ นอกจากนี้ ตัวคีย์บอร์ดยังมีลักษณะที่ไม่คุ้นอีกอย่างคือ ด้านซ้าย ปุ่ม Shift จะมาอยู่ติดกับปุ่ม “ฝ” หรือ “/” และมีขนาดเล็ก ทำให้กดพลาดไปโดนปุ่ม “ลูกศรขึ้น” บ่อย แต่ก็แลกมาด้วยปุ่ม Fn ปุ่มที่สอง (ซึ่งเรากด Fn บ่อยขนาดต้องมีสองปุ่มเชียวหรือ!)

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook