ย้อนรอยโศกนาฏกรรม 3 เฮลิคอปเตอร์ไทยที่ตก

ย้อนรอยโศกนาฏกรรม 3 เฮลิคอปเตอร์ไทยที่ตก

ย้อนรอยโศกนาฏกรรม 3 เฮลิคอปเตอร์ไทยที่ตก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ย้อนรอยโศกนาฏกรรม 3 เฮลิคอปเตอร์ไทยที่ตก

ย้อนรอยโศกนาฏกรรมเฮลิคอปเตอร์ของไทยที่ตกในภาระกิจเดียวกันถึง 3 รุ่น เริ่มด้วย รุ่นฮิวอี้ สังกัดกองบินปีกหมุนที่ 2 ค่ายสุรสีห์ กาญจนบุรี ตกบริเวณหุบเขาห้วยใหญ่ และเฮลิคอปเตอร์แบบยูเฮช-60 แอล แบล็คฮอร์ค ศูนย์การบินลพบุรี ตกในป่าเขตประเทศพม่า ทำให้มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 14 ศพและปิดท้ายด้วยโศกนาฏกรรมที่คร่าชีวิตเหล่าทหารหาญเพิ่มอีก 3 นาย เนื่องมาจาก เฮลิคอปเตอร์เบลล์ 212 ได้ตกอีกครั้งเมื่อวันที่ 24 ขณะบินเข้าไปช่วยลำเลียงศพผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์เฮลิคอปเตอร์รุ่นแบล็กฮอว์กตก มีผู้เสียชีวิตอีก 3 ราย บาดเจ็บ 1 ราย ซ้ำรอยสองเหตุการณ์ก่อนหน้า

1. เฮลิคอปเตอร์รุ่นฮิวอี้

รูปร่างของเฮลิคอปเตอร์แบบ UH-1 คุ้นเคยกับเด็กๆไทยในชนบท อย่างสนิทสนม เสียงใบพัดตัดอากาศของมันเรียกร้องให้เด็กๆเงยหน้าขึ้นมองท้องฟ้า เด็กเหล่านั้นไม่ทราบว่ามันบินมาจากไหน แต่เมื่อมันร่อนลงจอด บนสนามหญ้าหน้าโรงเรียน มันเสมือนเป็นแม่เหล็กที่มีแรงดึงดูดทำให้เด็กไทย ต้องแย่งกรูกันเข้าไปดูอย่างใกล้ชิด โดยที่ฝุ่นยังไม่ทันจาง มันได้สร้างความฝันให้แก่เด็กไทย ไม่น้อยไปกว่าเครื่องบินไอพ่นของคนเมือง แต่อย่างใด

เมื่อได้ย้อนรอย กลับไปดูประวัติการรบของเฮลิคอปเตอร์ UH-1 ลำนี้แล้ว นักรบทุกคน ต่างยกย่องมัน ด้วยความสดุดี มันเป็นยุทโธปกรณ์สำคัญในสงครามเวียดนาม การปะทะในแนวหน้า ไม่เพียงแต่กองทัพอากาศสหรัฐฯ ได้ส่งเครื่องบิน C-130 เข้าร่วมแล้ว เฮลิคอปเตอร์แบบ UH-1   คือ ตัวแทนกองทัพบกสหรัฐฯ ที่เข้าร่วมรบกันอยู่ อย่างเคียงบ่าเคียงไหล่ และจากนั้นต่อมาสงครามการต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย เฮลิคอปเตอร์ UH-1 ซึ่งกองทัพไทยได้รับมาจากผลพวงของสงครามเวียดนาม ถูกใช้เป็นอากาศยานหลักของกองทัพบกไทย ในการปฏิบัติการต่างๆ ทั้งในทางลับ ทางลึก และการเคลื่อนพลขนาดใหญ่

เฮลิคอปเตอร์ UH-1 มันได้เคยนำทหารไทยเข้าสู่สนามรบ พร้อมกับนำร่างทหารที่บาดเจ็บออกมารักษาตัว ห้องนักบินและพื้นระวางบรรทุกของ UH-1 เคยนองไปด้วยเลือดของเพื่อนทหารที่อุทิศชีวิตเพื่อชาติ เคยนำร่างไร้วิญญาณของทหารกลับไปสู่อ้อมอกแม่ ว่างเว้นจากการศึกสงครามมันได้นำนักกระโดดร่มขึ้นสู่ท้องฟ้า เพื่อสร้างสีสันในงานวันเด็ก แล้ววนลงกลับมาจอดให้เด็กไทยได้สัมผัส กระทั่งในยามที่พี่น้องคนไทยประสบภัยพิบัติ UH-1 ยังเคยได้นำความช่วยเหลือไปส่งให้ อย่างมิได้ขาด

เฮลิคอปเตอร์ UH-1 ถูกนำเข้าประจำการในกองทัพต่างๆเป็นจำนวนมาก ด้วยระยะเวลาอันยาวนาน มีการปรับปรุงและพัฒนาต่อมาหลายรุ่น เฮลิคอปเตอร์ UH-1 รุ่นแรกคือ ยุทโธปกรณ์ของทหารในแนวหน้า อย่างแท้จริง แต่เฮลิคอปเตอร์รุ่นหลัง กลับแตกต่างออกไป

จุดหักเหของเฮลิคอปเตอร์รุ่นหลัง ในกองทัพไทย เริ่มจากการโรยลาลงไปของภารกิจทางยุทธวิธี ซึ่งเคยเป็นหน้าที่หลัก เปลี่ยนไปเป็นม้าใช้เพื่อการเดินทางของบุคคลสำคัญ ทั้งในและนอกกองทัพ จิตวิญญาณของทหารได้เปลี่ยนไป บทบาทของ UH-1 จึงได้ถูกหักเปลี่ยนตามไปด้วย พื้นระวางบรรทุกของ UH-1 รุ่นหลังถูกปูด้วยพรมสะอาด จึงไม่อาจอนุญาตให้เด็กไทย เข้าไปดูได้ใกล้เหมือนเช่นเคย

สำหรับ ฮ.แบบ “ฮิวอี้” (Huey) ที่ตกเป็นลำแรกในผืนป่าแก่งกระจานนั้น เป็น ฮ.รุ่นเก่ากว่า ฮ.แบล็กฮอว์ค เป็น ฮ.ทหารขนาดกลาง ผลิตโดย บริษัท เบลล์ เฮลิคอปเตอร์ แห่งสหรัฐอเมริกา เช่นกัน กองทัพสหรัฐได้นำ ฮ.ฮิวอี้มาใช้งานในปี พ.ศ.2512  และได้มีการปรับปรุงพัฒนาประสิทธิภาพของ ฮ.ฮิวอี้ให้ทันสมัยยิ่งขึ้นตลอดเวลาจนถึงปัจจุบันนี้ ซึ่งได้มีการพัฒนาทั้งระบบอิเลกทรอนิกทางอากาศ การป้องกัน และป้อมอินฟราเรด นอกจากนี้นาวิกโยธินสหรัฐได้ใช้ ฮ.ฮิวอี้ในการปฏิบัติการบุกอิรักเมื่อปี พ.ศ.2546 ได้ทำหน้าที่สอดแนมและให้การสื่อสารกับทหารราบ และใช้เพื่อการสนับสนุนทางอากาศระยะใกล้ในสงครามต่าง ๆ

2. เฮลิคอปเตอร์รุ่นแบล็กฮอว์ก

ยูเอช-60 แบล็คฮอว์ค (อังกฤษ: UH-60 Black Hawk) เป็นเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป ในกองทัพไทยเรียกว่า ฮ.ท.60 ผลิตโดยบริษัทซิคอร์สกี้ แอร์คราฟท์ประเทศสหรัฐอเมริกา มันถูกใช้ในภาระกิจลำเลียงทหารครั้งละ 11-15 นาย

แบล็คฮอว์คเป็นเฮลิคอปเตอร์สี่ใบพัด สองเครื่องยนต์ที่ผลิตโดยซิคอร์สกี้ แอร์คราฟท์ ซิคอสกี้เสนอการออกแบบเอส-70 ให้กับการแข่งขันในระบบอากาศยานขนส่งยุทธวิธีสารพัดประโยชน์ของกองทัพบก สหรัฐฯ ในปีพ.ศ. 2515 กองทัพบกได้ตั้งชื่อให้กับต้นแบบว่าวายยูเอช-60เอและ ได้เลือกแบล็คฮอว์คให้เป็นผู้ชนะของโครงการในปีพ.ศ. 2519 หลังจากการแข่งขันกับวายยูเอช-61 ของโบอิง เวอร์ทอล ยูเอช-60เอเข้าประจำการในกองทัพบกในปีพ.ศ. 2522 เพื่อเข้าแทนที่ยูเอช-1ไอโรควอยส์ในฐานะเฮลิคอปเตอร์ขนส่งทางยุทธวิธี

เฮลิคอปเตอร์แบล็คฮอว์คสามารถทำภารกิจได้อย่างหลากหลายที่รวมทั้งการขน ส่งทหาร สงครามอิเลคทรอนิก และการอพยพทางอากาศ รุ่นที่ออกแบบมาเพื่อบุคคลสำคัญมีชื่อว่าวีเอช-60เอ็นถูกใช้เพื่อขนส่งบุคคล ที่สำคัญของรัฐบาลและเฮลิคอปเตอร์ที่ถูกเรียกว่า"มารีน วัน"ที่มีไว้สำหรับประธานาธิบดีสหรัฐฯ[5] ในปฏิบัติการจู่โจมทางอากาศมันจะสามารถเคลื่อนย้ายทหารได้ 11 นายพร้อมอุปกรณ์หรือเปลี่ยนตำแหน่งของปืนใหญ่เอ็ม102 ฮาวไอเซอร์ขนาด 105 ม.ม.พร้อมกระสุน 30 นัดและลูกเรืออีกสี่นายได้ภายในครั้งเดียว อีกอย่างหนึ่งคือมันสามารถบรรทุกสินค้าได้ 1,170 กิโลกรัมหรือขนสินค้าแบบห้อยได้ 4,050 กิโลกรัม[6] แบล็คฮอว์คติดตั้งระบบอิเลคทรอนิกอากาศที่ก้าวหน้าและที่ทั้งที่เพิ่มความทนทานและความสามารถอย่างระบบจีพีเอส

ยูเอช-60 สามารถติดตั้งปีกที่ด้านบนของลำตัวเพื่อบรรทุกถังเชื้อเพลิงหรืออาวุธ ระบบปีกนี้ถูกเรียกว่าอีเอสเอสเอส (external stores support system) มันจะมีที่ติดตั้งสองตำแหน่งบนแต่ละปีกเพื่อบรรทุกถังขนาด 870 ลิตรสองถังและถังขนาด 1,700 ลิตรสองถัง อีเอสเอสเอสยังสามารถบรรทุกอาวุธอย่างจรวด ขีปนาวุธ และแท่นปืนได้ 4,500 กิโลกรัม ระบบดังกล่าวเข้าประจำการในปีพ.ศ. 2529 อย่างไรก็ตามก็พบว่าถังทั้งสี่จะบดบังมุมการยิงของปืนที่บริเวณประตู เพื่อลดปัญหาระบบถังภายนอกหรืออีทีเอส (external tank system) พร้อมปีกที่จะบรรทุกพวกมันจึงถูกสร้างขึ้นมา

ราคานั้นขึ้นอยู่กับแต่ละแบบเนื่องมาจากความพิเศษ อุปกรณ์ และปริมาณของมัน ตัวอย่างเช่น ยูเอช-60แอล แบล็คฮอว์คของกองทัพบกสหรัฐฯ มีราคา 5.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในขณะที่เอ็มเอช-60จี เพฟฮอว์คของกองทัพอากาศมีราคา 10.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

รายละเอียดของเฮลิคอปเตอร์ ยูเอช-60 แบล็กฮอว์ก

  • ลูกเรือ 4 นาย
  • ความจุ 2,640 ปอนด์สำหรับสินค้าภายใน รวมทั้งทหาร 14 นายและเปลหาม 6 อัน หรือ 8,000 ปอนด์ (ยูเอช-60เอ) และ 9,000 ปอนด์ (ยูเอช-60แอล) สำหรับสินค้าภายนอก
  • ความยาว 19.76 เมตร
  • ความกว้างลำตัว 2.36 เมตร
  • เส้นผ่าศูนย์กลางใบพัด 16.36 เมตร
  • ความสูง 5.13 เมตร
  • น้ำหนักเปล่า 4,819 กิโลกรัม
  • น้ำหนักพร้อมบรรทุก 9,980 กิโลกรัม
  • น้ำหนักสูงสุดตอนนำเครื่องขึ้น 10,660 กิโลกรัม
  • ขุมกำลัง เครื่องยนต์เทอร์โบชาฟท์ของเจเนรัล อิเลคทริกแบบที700-จีอี-701ซี กำลังขับเคลื่อนเครื่องละ 1,800 แรงม้า
  • ความเร็วสูงสุด 295 กิโลเมตร/ชั่วโมง
  • ความเร็วในการร่อน 278 กิโลเมตร/ชั่วโมง
  • รัศมีทำการรบ 592 กิโลเมตร
  • พิสัยในการเคลื่อนย้าย 2,220 กิโลเมตร
  • เพดานบินทำการ 19,000 ฟุต
  • อัตราการไต่ระดับ 700 ฟุต/นาที
  • อัตราน้ำหนักต่อการแรงผลัก 0.192 แรงม้า/ปอนด์
  • อาวุธ ปืนกลเอ็ม240เอชหรือเอ็ม134 ขนาด 7.62 ม.ม.สองกระบอก

สำหรับ "แบล็กฮอว์ก" ลำที่ประสบอุบัติเหตุในครั้งนี้ มีหมายเลขเครื่องคือ 01-26928 ใช้งานมาเพียงแค่ 7 ปีเท่านั้น เคยปฏิบัติภารกิจกู้ภัยเหตุการณ์ดินโคลนถล่มในพื้นที่อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยช่วยลำเลียงชาวนบพิตำที่ติดค้างอยู่ตามจุดต่าง ๆ ออกมาด้านนอก เมื่อครั้งน้ำท่วมใหญ่นครศรีธรรมราชช่วงต้นปีที่ผ่านมา และ ครั้งนั้น "แบล็กฮอว์ก" ลำดังกล่าวก็เคยเกิดปัญหาขัดข้องบริเวณแพนหางด้านหลัง ขณะขึ้นบินช่วยเหลือผู้ประสบภัยจนเกือบตกมาแล้วครั้งหนึ่ง ทำให้นักบินต้องนำเครื่องกลับไปซ่อมที่ศูนย์การบินลพบุรี ก่อนจะมาประสบเหตุไม่คาดฝันที่แก่งกระจานเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคมที่ผ่านมา

3. เฮลิคอปเตอร์เบลล์ 212

จากเหตุการณ์เฮลิคอปเตอร์ รุ่น เบลล์ 212 ตกซ้ำเป็นลำที่ 3 ระหว่างปฏิบัติภารกิจที่ อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี  ทำให้อากาศยานรุ่นนี้เป็นที่สนใจ  และเกิดหลายข้อสงสัยในสมรรถนะ  เราไปทำความรู้จักเฮลิคอปเตอร์ รุ่น เบลล์ 212 กัน

เฮลิคอปเตอร์รุ่นเบลล์ 212 เป็นหนึ่งในเฮลิคอปเตอร์ชนิด UH-1N หรือที่รู้จักกันให้ชื่อเฮลิคอปเตอร์ฮิวอี้ ของบริษัท เบลล์ เฮลิคอปเตอร์ของสหรัฐฯ ซึ่งเกิดจากความร่วมมือระหว่างบริษัท BELL HELICOPTER  และบริษัท Pratt & Whitney ของแคนาดา ในช่วงหลังสงครามเวียดนามช่วงปี 70 ศักยภาพของเฮริคอปเตอร์เบลล์ 212 ถูกพัฒนามาจากเฮลิคอปเตอร์รุ่น 204 และ 205 ที่เป็นเครื่องยนต์เดี่ยว ใบพัดคู่

เบลล์ 212 เป็นเฮลิคอปเตอร์ขนาดกลาง 2 ใบพัด 2 เครื่องยนต์ บรรทุกผู้โดยสารจำนวน 15 ที่นั่ง เป็นที่นั่งคนขับ 1 และผู้โดยสารอีก 14 ที่นั่ง ขึ้นบินครั้งแรกในปี 1968

เครื่อง Bell 212 ใช้เครื่องยนต์ PT6T-3  ซึ่งเป็นเครื่องยนต์คู่ มีแรงขับ ที่ออกจากอุปกรณ์ ถ่ายทอดพลังงาน ไปยังใบพัดหลัก (transmission) 1290 แรงม้า เครื่องยนต์ที่มีอยู่ 2 เครื่องจะเพิ่มความปลอดภัยหากเครื่องยนต์อีกเครื่องเกิดดับลง หากกรณีนี้ เกิดขึ้นเครื่องยนต์อีกเครื่องจะสามารถทรงอากาศได้นานอีก 30 นาที  

การพัฒนาเบลล์ 212 จากเครื่องยนต์เดียวมาเป็นเครื่องยนต์คู่  มีจุดประสงค์ใช้กับปฏิบัติการของกองทัพแคนาดา ในปี 1971 แคนาดาได้สั่งเฮริคอปเตอร์เบลล์ 212 หรือที่มีชื่อในปฏิบัติการว่า CUH-1N ซึ่งภายหลังถูกเปลี่ยนชื่อรุ่นเป็น CH-135 มาประจำการจำนวน 50 ลำ ขณะที่สหรัฐฯก็ยอมรับประสิทธิภาพของเฮริคอปเตอร์รุ่นนี้เช่นกัน  และ เหมาะอย่างยิ่งในการปฏิบัติภารกิจรบเวลากลางคืน  รวมถึงการบรรทุกกำลังพลเพื่อโจมตีภาคพื้นดินด้วยอาวุธประจำกาย

ในปี 1982 กองทัพอากาศอาเจนตินาเคยใช้เบลล์ 212 ในปฏิบัติการค้นหาเครื่องบินตก บริเวณทุ้งหญ้ากูส กรีน บนเกาะฟอร์กแลนด์ นอกจากประโยชน์ทางทหารแล้ว เบลล์ 212  ก็ถูกใช้งานเชิงพาณิชย์โดยประเทศนอร์เวย์เครื่องใช้เฮลิคอปเตอร์เบลล์ 212 ในภารกิจสนับสนุนแท่งขุดเจาะน้ำมันนอกชายฝั่งทะเล จนกระทั่งปัจจุบันในเขตอาร์กติกก็ยังคงใช้เฮลิคอปเตอร์รุ่นนี้ใปฏิการค้นหา และกู้ภัยทางทะเล ร่วมถึงการสำรวจป่าไม้

ซึ่งประเทศไทยมีเฮลิคอร์ปเตอร์รุ่นเบลล์ 212 ประจำการอยู่ทั้งหมด 20 ลำ (แต่ตอนนี้เฮลิคอปเตอร์ รุ่น เบลล์ 212 ทุกลำได้มีคำสั่งห้ามบินเพื่อรอการตรวจสอบแล้ว)

เป็นเรื่องที่ยากจะเชื่อ เมื่อเกิดเหตุการณ์เฮลิคอปเตอร์ตกติดต่อกัน 3 ลำภายในเวลาแค่ 9 วัน สูญเสียชีวิตไปถึง 17 ศพ ถึงแม้สาเหตุจะบอกกล่าวกันว่าเกิดจากสภาพอากาศที่แปรปวน และเกิดเหตุขัดข้องที่ตัวเครื่อง แต่ก็ยังเกิดข่าวลือหนาหูว่าเหตุที่เกิดขึ้นเกิดจากอาถรรพ์ของสิ่งที่มองไม่เห็น! ดังนั้นเราจึงแบ่งสาเหตุของการตกครั้งนี้ออกเป็น 3 จุดด้วยกันนั้นคือ
 
1. ธรรมชาติ : เพราะสภาพอากาศที่แปรปรวน หรืออากาศเปลี่ยนแปลงกะทันหันขณะขึ้นบิน

2. อากาศยาน : ยังเป็นอีกข้อสงสัยและข้อกังขากันอยู่ในเรื่องของประสิทธิภาพอากาศยาน อายุการใช้งาน ซึ่งเป็นอีกองค์ประกอบที่ทำให้เครื่องตกได้เพราะส่วนใหญ่นั้นเฮลิคอปเตอร์ของไทยก็ใช้งานมานานมานานหลัก 10 ปีขึ้นทั้งนั้น

3. ป่าอาถรรพ์ : อาถรรพ์ของพ่อปู่เขาเจ้า และเจ้าพ่อเขาพระป่วง สิ่งศักดิ์ประจำป่าแก่งกระจาน ซึ่งเป็นที่เคารพบูชาทั้งชาวไทยและชาวกะเหรี่ยง ทั้งนี้รายการข่าวสามมิติได้เข้าไปสัมภาษณ์ผู้ที่อาศัยบริเวณนั้น ถึงเหตุการณ์สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำป่าแก่งกระจาน

จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทางทีมงาน Sanook! Hitech ขอไว้อาลัยและสดุดี แด่ทหารกล้าทั้ง 16 นาย และ 1 สื่อมวลชนของทาง ททบ. 5 (นายศรวิชัย คงตันนิกูล ช่างภาพช่อง 5) ที่จากไป...

ขอบคุณที่มา : www.voicetv.co.th,www.thaic-130.com, th.wikipedia.org,www.sarakadee.com,www.jepata.com

อัลบั้มภาพ 30 ภาพ

อัลบั้มภาพ 30 ภาพ ของ ย้อนรอยโศกนาฏกรรม 3 เฮลิคอปเตอร์ไทยที่ตก

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook