ความลับในการสร้างสินค้าต้นทุนราคาถูกของ Apple : จ่ายเเพงในสิ่งที่ควรจ่าย

ความลับในการสร้างสินค้าต้นทุนราคาถูกของ Apple : จ่ายเเพงในสิ่งที่ควรจ่าย

ความลับในการสร้างสินค้าต้นทุนราคาถูกของ Apple : จ่ายเเพงในสิ่งที่ควรจ่าย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ความลับในการสร้างสินค้าต้นทุนราคาถูกของ Apple : จ่ายเเพงในสิ่งที่ควรจ่าย

สิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้อย่างหนึ่งคือสินค้าของ Apple นั้นมีต้นทุนที่ถือว่าถูกมาก เว็บไซต์ busniessweek ได้มีรายงานพิเศษเกี่ยวกับ ความสามารถในการควบคุมราคาสินค้าที่โดดเด่นกว่าผู้ผลิตรายอื่นๆ จากการสัมภาษณ์อดีตพนักงาน ซัพพลายเออร์ เเละผู้เชี่ยวชาญที่เคยร่วมงานกับ Apple มาก่อน

จุดเเข็งอื่นที่ไม่ค่อยมีคนพูดถึงนักเกี่ยวกับ Apple ก็คือความสามารถในฝ่ายปฏิบัติการ คือในส่วนของการจัดหาวัตถุดิบ ผลิต จัดซื้อ เเละการขนส่ง ที่โดดเด่นมากในสมัยที่ Tim Cook ยังเป็น COO ของ Apple อยู่ จากการที่เขาทำหน้าที่นี้ได้เป็นอย่างดี ทำให้ Steve Jobs ไว้วางใจในตัวเขามาก (ปัจจุบันเป็น CEO ของ Apple ไปเเล้ว)

การบริหารงานของ Apple เน้นที่การควบคุมที่ทุกๆ ห่วงโซ่ ตั้งเเต่การออกเเบบจนถึงร้านค้า เเต่สิ่งหนึ่งที่ทำให้ Apple ได้ต้นทุนที่ถูกกว่าเป็นเพราะสั่งซื้ัอชิ้นส่วนเป็นจำนวนมหาศาล ทำให้ได้ส่วนลดเป็นจำนวนมากเช่นกัน

Mike Fawkes อดีตผู้อำนวยการฝ่าย Supply Chain ของ Hewlett-Packard ยังให้ความเห็นเกี่ยวกับความสามารถของฝ่ายปฏิบัติการของ Apple ว่าอยู่ในระดับที่ “ไม่เคยเห็นมาก่อน” เเละเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ Apple มีกำไรมหาศาลอยู่ในตอนนี้ได้ สามารถทำราคาของ iPad ให้อยู่ในระดับที่คู่เเข่งต่อสู้ด้วยได้ยาก เเถมยังได้กำไรอีก 25% ไปอย่างสบายๆ จากความมั่นใจของ Apple ในส่วนนี้ทำให้มีความเป็นไปได้ว่า Apple อาจจะรุกคืบอย่างจริงจังในตลาดทีวีที่มีการตัดราคากันอย่างสูงในตอนนี้

หัวใจในการบริหารงานของ Apple คือ “จ่ายในสิ่งที่ควรจ่าย” เช่นในช่วงการออกเเบบ Jonathan Ive เเละวิศวกรก็ได้ไปเช่าโรงเเรมเเถวโรงงานเป็นเดือน เพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิต มีการร่วมมือกับซัพพลายเออร์ เเละจากการที่ Apple เน้นออกผลิตภัณฑ์ที่มีไลน์สินค้าไม่มากนัก ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาปรับเเต่งในการผลิตเหมือนเเบรนด์อื่นๆ ที่เน้นออกสินค้าที่เเตกต่างกันมากมาย

ในอดีตมีกรณีหนึ่งที่บอกถึงความสามารถของ Apple ในการบริหาร Supply Chain นี้ได้ เมื่อย้อนกลับไปปี 1997 Apple ต้องการให้ iMac เข้าไปอยู่ในร้านค้าช่วงคริสมาสต์ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ในเหตุการณ์นั้น Apple จ่ายเงินไป 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อซื้อเที่ยวบินขนส่งสินค้าในช่วงวันหยุดเกือบทั้งหมด ทำให้คู่เเข่งอย่าง Compaq ไม่สามารถสั่งจองเที่ยวบินเพื่อส่งสินค้าได้

ส่วนในช่วงปี 2010 ก่อนที่ iPhone 4 จะวางจำหน่ายนั้น Apple ก็ได้ซื้อชิ้นส่วนจอเป็นจำนวนมากจนขาดตลาด จนทำให้ HTC ไม่สามารถซื้อชิ้นส่วนได้เพราะผู้ผลิตต้องทำชิ้นส่วนให้กับ Apple ตามคำสั่งซื้อ ส่วนตอนผลิต iPad 2 ก็สั่งซื้อเครื่องจักรเพื่อใช้งานในการผลิตจำนวนมาก จนทำให้ผู้เเข่งต้องรอเครื่องจักรจาก 6 สัปดาห์กลายเป็น 6 เดือนจนไม่สามารถผลิตเเท็บเล็ตมาสู่ตลาดได้ทันกับ Apple

สำหรับผู้ผลิตก็ใช้ว่าจะมีชีวิตสวยหรูไปทั้งหมด เพราะ Apple เองก็จะขอให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนประมาณการถึงราคา ต้นทุนวัสดุ เเละกำไรของผู้ผลิตด้วย เเละมีข้อสัญญาต้องส่งชิ้นส่วนให้กับโรงงานผลิตของ Apple ภายในสองถึงสามสัปดาห์ ส่วนกว่าจะเก็บเงินจาก Apple ได้ก็ต้องรอถึง 90 วัน ก็มีผู้ผลิตชิ้นส่วนบางรายปฏิเสธอาการ “เยอะ” ของ Apple เช่นเดียวกันเเม้ว่าสัญญานั้นจะมีมูลค่าเป็นพันล้านก็ตาม

กลยุทธ์เจ้าบุญทุ่มเเบบนี้ ถ้าทำสินค้ามาเเล้วขายไม่ออกคงเเย่เหมือนกัน ต้องมั่นใจในโปรดักส์มากๆ นะเนี่ย

ขอบคุณที่มาของบทความและภาพประกอบ : www.specphone.com

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook